BANANA    FOOD
 


 ถิ่นกำเนิดของกล้วย
   กล้วย เป็นพืชที่ชอบอากาศร้อนชื้น ถิ่นแรกของกล้วยจึงอยู่แถบเอเชียตอนใต้ ซึ่งจะพบกล้วยพื้นเมืองทั้งที่มีเมล็ดและไม่มีเมล็ด และจากผลของการย้ายถิ่นฐานในการทำมาหากิน การอพยพประชากรจากเอเชียตอนใต้ไปยังหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก ตั้งแต่ต้นคริสต์ศักราชเป็นต้นมา ในการอพยพแต่ละครั้งจะต้องมีการนำเอาเสบียงอาหารติดตัวไปด้วย จึงได้มีการนำเอากล้วยไปปลูกแถบหมู่เกาะฮาวายและหมู่เกาะทางด้านตะวันออก สำหรับประวัติกล้วยในประเทศไทย เข้าใจว่าประเทศไทยเป็นแหล่งกำเนิดของกล้วยป่าและต่อมาได้มีการนำเข้ากล้วยตานี และกล้วยชนิดอื่นในช่วงที่มีการอพยพของคนไทยในการตั้งถิ่นฐานอยู่ที่จังหวัดสุโขทัย มีเอกสารกล่าวว่าในสมัยอยุธยาพบว่ามีกล้วยร้อยหวี
ลักษณะทั่วไป
      กล้วย เป็นไม้ผล ลำต้น เกิดจากกาบหุ้มซ้อนกัน สูงประมาณ 2 – 5 เมตร ใบ เป็นใบเดี่ยว เกิดกระจายส่วนปลายของลำต้นเวียนสลับซ้ายขวาต่างระนาบกัน ก้านใบยาว แผ่นใบกว้าง เส้นของใบขนานกัน ปลายใบมน มีติ่ง ผิวใบเรียบลื่น ใบมีสีเขียวด้านล่างมีไขนวลหรือแป้งปกคลุม เส้นและขอบใบเรียบ ขนาดและความยาวของใบขึ้นอยู่กับ แต่ละพันธุ์ ดอก เป็นดอกห้อยลงมายาวประมาณ 60 – 130 ซม. ซึ่งเรียกว่าหัวปลี ตามช่อจะมีกาบหุ้มสีแดงเป็นรูปกลมรี ยาว 15 – 30 ซม. ช่อดอกมีเจริญก็จะกลายเป็นผล ผล เป็นผลสดจะประกอบด้วยหวีกล้วย เครือละ 7 – 8 หวี แต่ละหวีมีกล้วยอยู่ประมาณ 10 กว่าลูก ขนาดและสีของกล้วยจะมีลักษณะแตกต่างกันออกไปตามชนิดของแต่ละพันธุ์ บางชนิดมีผลสีเขียว , เหลือง , แดง แต่ละต้นให้ผลครั้งเดี่ยวเท่านั้น เมล็ด มีลักษณะกลมขรุขระ เปลือกหุ้มเมล็ดมีสีดำ หนาเหนียวเนื้อในเมล็ดมีสีขาว ขยายพันธุ์ ด้วยการแยกหน่อ หรือแยกเหง้า รสชาติฝาด

รูปร่างและลักษณะของกล้วยแต่ละชนิดในประเทศไทย
          เป็นไม้ผลนำมาบริโภค ใบนำมาห่อขนม หรือส่วนของลำต้น ใบนำมาทำกระทง ก้านนำมาประดิษฐ์เป็นของเล่น ประโยชน์ทางสมุนไพร ยางกล้วยจากใบใช้ห้ามเลือด โดยหยดยางลงบนแผล ใช้กล้วยดิบทั้งลูกบดกับน้ำให้ละเอียด และใส่น้ำตาล รับประทาน แก้โรคท้องเสีย แผลในกระเพาะอาหารไม่ย่อย ผลสุกให้เป็นอาหารเป็นยาระบายที่เป็นโรคริดสีดวงทวาร อุจจาระแข็ง หัวปลี แก้โรคลำไส้ แก้โรคโลหิตจาง และลดน้ำตาลในเลือด

เนื่องจากกล้วยแต่ละชนิดมีรูปร่างและลักษณะเฉพาะตัว ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องแจกแจงให้เกิดความเด่นชัดของกล้วยแต่ละชนิดไว้ดังต่อไปนี้ :


ประโยชน์ของกล้วย
ทางด้านอาหาร 
ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้ผลดิบซึ่งมีสารแทนนินมาก รักษาอาการท้องเสียและบิด โดยกินครั้งละครึ่งหรือ 1 ผล มีรายงานว่า มีฤทธิ์ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารของหนูขาวที่ถูกกระตุ้นด้วยยาแอสไพริน เชื่อว่าฤทธิ์ดังกล่าวเกิดจากการถูกกระตุ้นผนังกระเพาะอาหารให้หลั่งสารเมือกออกมามากขึ้น จึงนำมาทดลองรักษาโรคกระเพาะอาหารของคน โดยใช้กล้วยดิบหั่นเป็นแว่น ตากแห้งบดเป็นผง กินวันละ 4 ครั้งๆ ละ 1-2 ช้อนแกง ก่อนอาหารและก่อนนอน อาจทำให้เกิดอาการท้องอืด ซึ่งป้องกันได้โดยกินร่วมกับยาขับลม เช่น ขิง
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ผลกล้วยสุกทุกชนิด และผลกล้วยห่าม โดยฝานตากแดด ให้แห้ง บดเป็นผง จะใช้กล้วยหักมุกห่ามแทนยิ่งดี
สรรพคุณ : ผลกล้วยมีสรรพคุณช่วยรักษาอาการผิดปกติของร่างกายหลายๆ อย่าง เช่น ภาวะความดันโลหิตสูง ภาวะความเป็นพิษภายในร่างกาย ช่วยให้ปอดชุ่มชื้น และแก้กระหายน้ำได้เป็นอย่างดี และใช้ป้องกันบำบัด โรคแผลในกระเพาะอาหาร ช่วยเคลือบกระเพาะ - รักษาอาการท้องเสีย
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
กล้วยเป็นไม้ผลล้มลุกที่สามารถเจริญเติบโตได้ในสภาพภูมิอากาศแบบ ร้อนชื้น โดยเฉพาะในสภาพที่อากาศคงที่ จะทำให้กล้วยเจริญเติบโตและให้ผลผลิตอย่างต่อเนื่อง ช่วงอากาศแห้งแล้งที่ยาวนาน หรือช่วงอากาศหนาวเย็น 2-3 เดือน มีผลต่อการชะงักการเจริญเติบโตของกล้วยได้ และทำให้ผลผลิตกล้วยต่ำลง
ดิน ดินที่เหมาะสมต่อการปลูกกล้วย ควรเป็นดินที่มีค่าความเป็นกรดด่าง (pH) อยู่ระหว่าง 4.5-7 ที่เหมาะสมที่สุดคือ (pH) = 6เป็นดินร่วนซุยมีความอุดมสมบูรณ์สูง ระบายน้ำดี
ความชื้น พื้นที่ที่เหมาะสมในการปลูกกล้วย ควรมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยระหว่าง 50-100 นิ้ว/ปี จำนวนวันที่ฝนตกควรยาวนาน หากมีฝนตกในช่วงสั้น การปลูกกล้วยจะต้องให้น้ำชบประทานช่วยเพิ่มรักษาความชุ่มชื้นของดินเพิ่ม ขึ้น แต่ในพื้นที่มีฝนตกชุกควรทำการระบายน้ำให้แก่กล้วย
ลม พื้นที่ที่เหมาะสมในการปลูกกล้วย ไม่ควรเป็นแหล่งที่มีลมแรงตลอดปี นอกจากจะทำให้ใบกล้วยฉีกขาดแล้ว อาจจะมีผลทำให้กล้วยหักกลางต้น (หักคอ) หรือโค่นล้มได้ง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่กล้วยออกเครือแล้ว
ฤดูกาลปลูกกล้วย
การปลูกกล้วยให้ได้ผลดี ควรปลูกในช่วงต้นฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ซึ่งดินมีความชุ่มชื้นในช่วงฤดูฝนเหมาะสำหรับการเจริญเติบโตทางลำต้นและออก ปลี จนสามารถเก็บเกี่ยวกล้วยได้ในช่วงปลายฤดูฝนพอดี แต่อย่างไรก็ตามสำหรับการปลูกกล้วยในเขตชลประทานที่มีน้ำเพียงพอ สามารถดำเนินการได้ตลอดเวลา
กล้วยที่กำหนดเวลาปลูกให้เหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการของตลาดผู้บริโภค ได้แก่

ประเภทของกล้วย
1.1 กล้วยหอมทอง
มีลำต้นสูงใหญ่แข็งแรง เครือใหญ่ ผลใหญ่ ลำต้นสูงประมาณ 2.5-3.5 เมตร กาบลำต้นด้านนอกมีประดำเล็กน้อย ด้านในสีเขียวอ่อน และมีเส้นสีชมพู ก้านใบมีร่องค่อนข้างกว้างและมีปีก ก้านช่อดอกมีขน ใบประดับรูปไข่ค่อนข้างยาว ปลายแหลม เครือหนึ่งมี 4-6 หวี หวีละ 12-16 ผล ผลใหญ่ ปลายผลมีจุกเห็นชัด เปลือกบาง เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีเหลืองทอง แต่ที่ปลายจุกจะเปลี่ยนสีภายหลัง เนื้อสีส้มอ่อน กลิ่นหอม รสหวาน
          1.2 กล้วยหอมเชียงราย
เป็นกล้วยหอมที่ลำต้นแข็งแรง เมื่อตกเครือแทบไม่จำเป็นต้องใช้ไม้ค้ำเลย ลักษณะโดยทั่วไป คล้ายกับกล้วยหอมทอง เครือหนึ่งมีจำนวน 10-12 หวี หวีละ 14-16 ผล ผลคล้ายกล้วยหอมทอง แต่ปลายผลทู่ เมื่อสุกผิวจะมีสีเหลืองทอง เนื้อในสีส้มอ่อน รสหวานหอม เปลือกบาง แต่มีความทนทานต่อสภาพแห้งแล้งได้ดี นิยมปลูกกันมากในแถบจังหวัดกาญจนบุรีและเพชรบุรี สถาบันเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเพื่อเกษตรกรรม กรมส่งเสริมการเกษตร ได้ทำการขยายพันธุ์ โดยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
          1.3 กล้วยหอมเขียว
มีลำต้นใหญ่แข็งแรงขึ้นเป็นกอ สูงประมาณ 2.5-3.5 เมตร กาบลำต้นด้านนอกมีประสีดำมากกว่ากล้วยหอมทอง เครือหนึ่งจะมี 9-10 หวี หวีละ 12-16 ผล ผลมีสีเขียว เมือสุกปลายผลทู่ เนื้อสีเหลืองอ่อน กลิ่นหอม รสหวาน
          1.4 กล้วยหอมไต้หวัน
เป็นกล้วยหอมที่มีเปลือกลำต้นออกสีน้ำหมาก ขนาดลำต้นคล้ายกล้วยหอมทอง เมื่อสุกเนื้อแน่นเหนียวรสหวาน รับทานอร่อย ไม่หลุดร่วงง่าย เหมาะแก่การปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจในการส่งออก
          1.5 กล้วยหอมจันทน
ปลูกกันมากในภาคเหนือแบบสวนหลังบ้าน มีลำต้นสูง 2.5-3.5 เมตร กาบลำต้นด้านนอกสีชมพูอมแดง มีประดำเล็กน้อย ก้านใบสีชมพูอมแดง เครือหนึ่งมีประมาณ 7 หวี หวีละ 14 ผล ผลเล็กคล้ายกล้วยเล็บมือนาง แต่ยาวกว่าและปลายผลไม่เรียวแหลม มีจุกสั้นใหญ่ ก้านผลสั้น เปลือกค่อนข้างหนา เมื่อสุกมีสีเหลืองคล้ายกัน กลิ่นหอมเย็น รสหวาน
         2. กล้วยน้ำว้า
 เป็นกล้วยที่ปลูกกันทั่วไปในประเทศไทย เนื้อกล้วยมีคุณค่าทางอาหารมาก ใช้เป็นอาหารเด็กอ่อน กินสดและทำเป็นขนมหลายชนิด
ลักษณะทั่วไป ลำต้นสูงระหว่าง 1.75-4.5 เมตร แล้วแต่พันธุ์ เส้นผ่านศูนย์กลางลำต้นมากกว่า 15 ซม. กาบลำต้นด้านนอกสีเขียวอ่อน มีประดำเล็กน้อย ด้านในสีเขียวอ่อน ก้านใบมีร่องค่อนข้างแคบ เส้นกลางใบสีเขียว ก้านช่อดอกไม่มีขน ใบประดับรูปไข่ค่อนข้างป้อม ม้วนงอขึ้น ปลายป้าน ด้านบนสีแดงอมม่วงมีนวล ด้านล่างสีแดงเข้ม เครือหนึ่งมี 7-15 หวี แล้วแต่พันธุ์ หวีหนึ่งมี 10-16 ผล ความยาวใกล้เคียงกับกล้วยไข่ เปลือกหนากว่ากล้วยไข่ เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีเหลืองปนน้ำตาล เนื้อสีขาว รสหวาน กล้วยน้ำว้ามีสายพันธุ์ย่อยแตกต่างไปดังนี้
         2.1 กล้วยมะลิอ่อง
ลำต้นสูงไม่เกิน 2.5 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น 15 ซม. กาบลำต้นด้านนอกมีสีเขียวปนแดง มีประดำค่อนข้างมาก ก้านใบสีเขียวสด ท้องใบมีนวลมาก เครือหนึ่งมี 5-7 หวี ลักษณะผลภายนอกเหมือนกล้วยน้ำว้ากาบขาว ผลสุกมีสีเหลืองปนน้ำตาล เปลือกบาง บางครั้งมีกระที่ผิว เนื้อในมีสีขาวเหลือง รสหวานจัดกว่าทุกพันธุ์ เป็นกล้วยที่นิยมปลูกในสวนแถบบางกอกน้อย และสวนทุเรียนที่จังหวัดนนทบุรี มีชื่อพ้องว่า กล้วยน้ำว้าสวน ทองมาเอง
        2.2 กล้วยน้ำว้าค่อม
ลักษณะ ลำต้นอวบอ้วน เตี้ยกว่ากล้วยน้ำว้าทั่วไป จะมีเครือ ขนาดใหญ่ ผลเยอะ ประมาณ 9-11 หวี หวีละประมาณ 15 ลูกขึ้นไป รสชาติ จะดีเฉพาะเครือแรก ถ้าเป็นกล้วยตอ ขนาดเครือและผลจะเล็กลง รสชาติจะด้อยลงมาและกล้วยชนิดนี้มักจะมีโรครากเน่า อยู่เสมอ เมื่อตัดเครือแรกแล้ว ควรแยกหน่อและย้ายหลุมปลูก อยากให้ซ้ำที่เดิม
        2.3 กล้วยน้ำว้าดำ
ลักษณะลำต้นสูงใหญ่ เมื่อปลีกล้วยออกมาจะเห็นสีของปลีกล้วยผิดปกติกว่ากล้วยน้ำว้าธรรมดาทั่วไป บริเวณโคนก้านใบจะมีปื้นสีดำ และที่ผลอ่อนจะมองดูคล้ายมีเงาสีดำเคลือบอยู่ สีจะเปลี่ยนเป็นสีเปลือกมังคุดใกล้ดำ เมื่อผลแก่เต็มที่ตามภาพ
อาหารจากกล้วย
กล้วยหอมสอดไส้ธัญพืชชีส Banana Stuffed with Cheese and Grains อาหารว่างและอาหารทานเล่น ที่ผสมผสานความเป็นตะวันออก และตะวันตกเข้าด้วยกันอย่างลงตัว รสชาติอร่อยถูกปาก แถมวิธีการทำแสนง่าย
รายละเอียดสูตรอาหาร :
กล้วยฉาบ เมนูขนมทานเล่น อีกหนึ่งชนิด ที่ใช้วัตถุดิบทางการเกษตร อย่างกล้วย มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี กล้วยฉาบ หนึ่งในเมนูสร้างรายได้ อาชีพเสริมในครอบครัว นั้นเองกล้วยฉาบที่ดี ต้องกรอบ

รายละเอียดสูตรอาหาร :
ไอศกรีมช็อคโกแลตเนยถั่วกับกล้วยหอม Chocolate Peanut Butter Banana Ice Cream รสชาตินี้ ได้รับการแนะนำมาจากเพื่อนชาวแคนาดาค่ะ เค้าบอกว่าทั้งช็อคโกแลต เนยถั่ว และกล้วยหอม อร่อยหมดเลย รวมกันก็น่าจะอร่อยดี
นอกจากนี้อาหารจากกล้วยยังมีอีกมากมายหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นอาหารคาว หวาน ขนม เป็นต้น


อ้างอิง
       จงกลนี เจริญโสภารัตน์.2554.อาหารจากกล้วย.กรุงเทพมหานคร: กรมส่งเสริมการเกษตร
    Cuisinier. 2555 . อาหารจากกล้วย. (ออนไลน์). สืบค้นจาก : http://www.foodtravel.tv.
                [25 พฤศจิกายน 2556]
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.2553. อาหารจากกล้วย.(ออนไลน์).
[ 25 พฤศจิกายน 2556]
นายร้อยเขาชนไก่.2556.กล้วย.(ออนไลน์). สืบค้นจาก : http://women.postjung.com/663006.html. 
        [26พฤศจิกายน 2556]
[ 26   พฤศจิกายน 2556]
       เบญจมาศ ศิลาย้อย.2555.พันธุ์กล้วยในประเทศไทย.(ออนไลน์).
สืบค้นจาก : http://guru.sanook.com/encyclopedia.[ 26 พฤศจิกายน 2556]

นางสาวปิยรัตน์  โอฬาพฤกษ์  เลขที่ 38 ม.5/1








0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

About this blog

Research & Knowledge Formation

Blog Archive