“สมองของคนเรามีเซลล์สมอง
เท่ากับไอน์สไตน์ ดังนั้นไอน์สไตน์ฉลาดได้เท่าไหนโดยทฤษฎีแล้วเราก็ฉลาดได้เท่านั้น”
ฟังดูอาจเป็นเรื่องเหลือเชื่อและยากที่จะเป็นไปได้
พอๆกับการสร้างไทม์แมชชีนเพื่อย้อนกลับไปในช่วงเวลาที่ไอน์สไตน์ยังมีชีวิตอยู่
และคงจะดีไม่น้อยถ้าเราทุกคนจะมีโอกาสฉลาดเท่ากับนักวิทยาศาสตร์อัจฉริยะชื่อก้องโลกอย่างไอน์สไตน์ได้ด้วยกระบวนการพัฒนาสมองง่ายๆ
อาหารบำรุงสมอง
1.
ปลาทูน่า
ปลาทะเลน้ำลึกจะมีกรดอะมิโนที่ช่วยส่งผ่านความรู้สึกของระบบประสาทไปยังสมอง
ช่วยแก้ไขอารมณ์ซึมเศร้า ช่วยฟื้นฟูความจำ ช่วยกระตุ้นความรู้สึก
ช่วยให้ต่อมไธรอยด์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและสารไทโรซีนที่ช่วยให้สมองตื่นตัว
ช่วยให้มีสมาธิ
2. นมและผลิตภัณฑ์จากนม นมเป็นอาหารธรรมชาติที่มีความสมบูรณ์
และมีคุณค่าทางโภชนาการสูง อุอมไปด้วยธาตุอาหารครบ5หมู่ คือ
โปรตีน วิตามิน เกลือแร่ คาร์โบไฮเดรต และ ไขมัน
ช่วยให้เกิดความสมดุลของสารเคมีในสมองจึงช่วยสร้างความกระฉับกระเฉงให้แก่สมอง
3. ข้าวไม่ขัดสี จะมีจมูกข้าวและรำข้าวติดอยู่รอบเมล็ดในปริมาณมาก
จึงทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่ดี
และในข้าวไม่ขัดสีมีกรดอะมิโนที่ไม่จำเป็นอยู่เป็นจำนวนมาก
ซึ่งกรดอะมิโนเหล่านี้จะเป็นตัวส่งสารอาหารต่างๆไปเลี้ยงสมอง
4. ผักโขม มีสารคลอโรฟิลล์สูง
สามารถช่วยล้างฟอกซิโนเจนในเซลล์ มีสารแอนตี้ออกซิแดนท์สูง ช่วยชะลอการเสื่อมของสมองส่วนกลางเนื่องจากวัยที่สูงขึ้น
สมองก็จะเสื่อมลงด้วย
5. ขมิ้น
ขมิ้นประกอบด้วยสารสีเหลืองหลายตัวทั้งเดสเมทอกซีเคอร์คูมิน และบิสเดส
น้ำมันหอมระเหยและสีเหลืองของขมิ้นก็ยังช่วยต่อต้านการเกิดอนุมูลอิสระ
6. สตรอเบอรี่ เป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิตามินซีและธาตุเหล็ก
มีคุณประโยชน์ต่อระบบเลือดและหัวใจ พร้อมช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้
เพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อสมอง
กระบวนการพัฒนาสมอง
1.
การเขียน
การเขียนถือเป็นการพัฒนาสมองได้เหมือนกัน
เพราะสมองซีกซ้ายของเรานั้นเป็นส่วนบังคับการเขียน
หากใครที่ถนัดมือไหนอยู่ก็ให้หัดใช้มืออีกข้างเขียนหนังสือหรือวาดภาพ
เพื่อให้สมองได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆเพิ่มเติม
และยังมีส่วนช่วยให้ความคิดสร้างสรรค์เพิ่มขึ้นอีกด้วย
2. เข้านอนแต่หัวค่ำ ภายในร่างกายคนเรามีนาฬิกาชีวภาพอยู่
ดังนั้นหากเราเข้านอนในขณะที่ร่างกายกำลังหลั่งสารเมลาโทนิน
ก็จะทำให้ร่างกายและสมองได้รับการพักผ่อน
3.
การนั่งสมาธิ ทำให้จิตมีพลัง
จะส่งผลให้สมองเข้าสู่ช่วงที่คลื่นtheta
หรือการที่สมองเข้าสู่สมาธิแบบลึกทำให้ได้ผ่อนคลายสุดๆ Mental Imagery (ส่วนจินตนาการที่สมองสร้างขึ้น) ส่งผลให้สมองเกิดความคิดสร้างสรรค์
และ จินตนาการที่ดีออกมา ทำให้สามารถแก้ปัญหาในเรื่องต่างๆได้อย่างสร้างสรรค์
4. การออกกำลังกาย การออกกำลังกายวันละ 20 – 30 นาที ในช่วงเวลาเช้าทุกวันจะทำให้เลือดสูบฉีดดีขึ้น
และเลือดก็เป้นตัวที่นำสารอาหารไปเลี้ยงสมอง ถ้าระบบร่างกายไม่ถูกกระตุ้นให้ตื่นตัวขึ้นมาสมองก็ได้อาหารน้อยลง
5. ปิดหูไปซะ ลองหาสำลีหรือไปซื้อที่ปิดหูมาใช้
ระหว่างที่กำลังดูโทรทัศน์หรือคลิปวีดีโอ
จะได้ใช้แต่ตาในการดูแล้วต้องคิดหรือจินตนาการไปเองว่าในโทรทัศน์กำลังมีอะไร
6. เที่ยวพิพิธภัณฑ์ โดยให้ใจจดจ่ออยู่กับโบราณวัตถุหรือสิ่งที่กำลังจัดแสดงอยู่
วิธีนี้จะฝึกทางด้านความจำของสมองในระดับต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการมองเห็น การจดจำ
และการคิด นอกจากช่วยในการพัฒนาสมองยังช่วยป้องกันการเสื่อมของสมองอีกด้วย
7. เล่นลูกบอล การขว้างและการรับลูกบอลจาก 1 ลูก เพิ่มเป็น 2 ลูก
จะทำให้สามารเคลื่อนไหวและรับสิ่งของได้ดีขึ้น
ช่วยให้สมองพัฒนาในด้านการมองเห็นและการทำงานประสานกันระหว่างตาและมือ
8. จดจำเนื้อเพลง
เลือกเพลงที่ชอบและดูเนื้อเพลงไปด้วยโดยรอบแรกฟังโดยไม่จำเนื้อเพลงและร้องตามไปด้วย
การฟังอย่างตั้งอกตั้งใจจะช่วยเพิ่มศักยภาพในการฟัง การเพิ่มความเข้าใจ ความคิด
และการจดจำให้ดีขึ้น
9. ฝึกโฟกัสสายตา ลองนั่งจ้องตรงไปข้างหน้าโดยไม่กลอกตา
มุ่งความสนใจไปในสิ่งที่เราเห็นทุกสิ่งรอบๆ อาจจดบันทึกก็ได้ว่าเราเห็นอะไรบ้าง
วิธีนี้จะช่วยสมองในเรื่องความจำ และการโฟกัสสายตาให้ดีขึ้น
10. ทำกิจกรรมเงียบๆคนเดียว หากิจกรรมที่ดีต่อสมองมานั่งทำ เช่น
การเล่นเกมปริศนา ถักนิตติ้ง เป็นการจดจ่ออยู่กับกิจกรรม
จะช่วยให้เราพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของสมอง
ในการพัฒนาสมองนั้นยังมีอีกหลากหลานวิธีที่เราจะช่วยฝึกส่วนต่างๆของร่างกายที่ไม่ถนัด
ลองใช้มื
ทำไมถึงต้องพัฒนาสมอง
นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาและพบว่าการทำงานของอวัยวะต่างๆของร่างกายเราเกิดจากการสั่งงานของสมอง
โดยสิ่งที่เราทำเป็นประจำจะเกิดการสั่งงานของสมองซีกใดซีกหนึ่งที่เราถนัดกว่า
การทำงานเชื่อมโยงของประสาททั้งหมดซึ่งจริงๆหากเราต้องการพัฒนาสมองของเรา
เราต้องกระตุ้นให้เซลล์สมองเกิดการทำงานเชื่อมโยงกันมากขึ้น
ควรที่จะใช้ประสาทสัมผัสของเราทั้งการได้ยิน การมองเห็น การได้กลิ่น
การสัมผัส การลิ้มรส
มาเป็นส่วนประกอบในการคิดเชิงวิเคราะห์และสั่งการให้ร่างกายทำงานต่างๆ
แต่หากเราทำงานด้วยมือข้างที่เราถนัดเพียงข้างเดียว และทำทุกสิ่งไปตามความเคยชิน
สมองที่ควบคุมการทำงานด้านนั้นๆจะถูกกระตุ้นเพียงข้างเดียว
แล้วทั้งสมองและกล้ามเนื้อก็ไม่แข็งแรงเท่าที่ควร และค่อยๆเสื่อมลงไป
เพียงถ้าเราลองเปลี่ยนพฤติกรรม
บางอย่างอาจไม่ได้ทำจนติดเป็นนิสัย แต่หากฝึกบ่อยๆก็จะช่วยในการพัฒนาสมองด้านที่ไม่ถนัดและไม่แข็งแรงให้มีความว่องไวมากยิ่งขึ้น
กระตุ้นสมองในห้องเรียน
1. การใช้ปากกาสายรุ้ง
เวลาเข้าเรียนอย่าทำชีวิตให้น่าเบื่อด้วยการใช้ปากกาสีทึมๆเพราะบางวิชาก็เป็นวิชาที่น่าเบื่ออยู่แล้ว
และถ้าให้ดีก็ให้วาดรูปเล็กๆประกอบการจดไปด้วย เช่นถ้าคุณครูพูดถึงความสำคัญของของ
3 สิ่งก็ให้วาดรูปของ 3 สิ่งนั้นประกอบลงไปตามที่เราคิด
เพื่อเป็นการฝึกความเชื่อมโยงของสมอง
2. หาวไม่เสียหาย สมองเป้นอวัยวะที่ต้องการออกซิเจนมาก
และการหาวเป็นการเรียกออกซอเจนเข้าสมอง ท่านั่งในแบบปกตินั้นทำให้หายใจเข้าท้องได้น้อย
เวลานั่งเรียนนานๆจึงมักส่งผลให้สมองอ่อนล้า ไม่ตื่นตัวเท่าที่ควร
เวลาที่สมองต้องการออกซิเจนเพิ่มจึงสั่งให้ร่างกายแสดงออกด้วยการหาว
3. Brain Gym
ท่าบริหารสมองของ ดร.พอล เดนนิสสัน และ ดร.เกล เดนนิสสัน แห่งสถาบัน Educational Kinesiology ที่เรียกออกซิเจนให้สมองโดยการใช้ปลายนิ้วกดนวดบริเวณรอยต่อกรามบนและกรามล่างซึ่งอยู่หน้าใบหูของเรา
นวดเบาๆพร้อมหาวออกมา
4. ไมนด์ แผนที่ความคิด
คือการเอาความรู้มาสรุปรวมเป็นหมวดหมู่
เพิ่มการใช้สีจะช่วยให้สมองของเราจัดระบบความคิด และฝึกจินตนาการได้ดี
5. เตรียมขวดน้ำไว้ใกล้ๆจะได้จิบเสมอ
ความฉ่ำน้ำนี้เป็นเรื่องสำคัญที่ทำให้สมองส่งต่อระบบกันได้ดี
เพราะเซลล์สมองก็เหมือนพืช หากขาดน้ำก็เหี่ยวเฉา หดเล็กลง
ส่งข้อมูลกันไม่ถึงแล้วตัวเราก็อยู่ในสภาพคิดไม่ออก
6. ยิ้มไว้
โลกจะแตกก็ยิ้มเอาไว้ เวลาที่เราทำอะไรก็ตาม
หากเรายิ้มคนรอบข้างก็จะรับรู้ถึงความรู้สึกดีๆของเรา
แต่ควรยิ้มจากภายในไม่ต้องฝืน เพราะแววตาของรอยยิ้มนั้นหลอกกันไม่ได้
การยิ้มอยู่เป็นประจำและต่อเนื่อง มีโอกาสที่ร่างกายจะหลั่งสารเอ็นโดฟินออกมา
เสมือนการเติมพลังให้สมองนอกจากนั้นการยิ้มยังทำให้แววตาดูเป็นประกายอีกด้วย
7. หายใจช่วยให้สมองใส
การหายใจอย่างถูกวิธีมีส่วนช่วยให้พัฒนาสมองได้ดีมากทีเดียว
เพราะสมองของเรานั้นใช้ออกซิเจนมากถึง 20 – 25%
ของทั้งหมดที่เข้าสู่ร่างกาย ดังนั้นหากเรารู้จักหายใจ เข้า – ออก ช้าๆ – ลึกๆ เพียงแค่วันละ 15 นาที ก็ทำให้สมองได้รับพลังงานอย่างเต็มเปี่ยม
การที่เราจะเลี้ยงเด็กคนหนึ่งให้ฉลาดได้นั้น
จำเป็นจะต้องมีการพัฒนาสมองให้ถูกทางสร้างเสริมความรู้
และประสบการณ์ให้เหมาะกับการเจริญเติบโตของสมอง
เราจึงควรที่จะรู้จักการทำงานของสมองตั้งแต่เกิดจนเจริญเติบโตเต็มที่
เพื่อที่จะได้เข้าใจและส่งเสริมสมองตั้งแต่เกิดจนเจริญเติบโตเต็มที่
เพื่อจะได้เข้าใจ และ ส่งเสริมให้เรียนรู้ได้อย่างถูกต้อง
บรรณานุกรม
วนิษา
เรซ. (2551). อัจฉริยะเรียนสนุก. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ : อัจฉริยะสร้างได้.
ศาสตราจารย์กิตติคุณนายแพทย์ประเสริฐ บุญเกิด. 2545. "เรียนให้เก่งขึ้นได้ด้วยการพัฒนาสมองซีกขวา"
นพ.อุดม
เพชรสังหาร. “สมองกับการเรียนรู้” [ระบบออนไลน์].
ดร.
นพ. ยุทธนา ภาระนันท์ “รู้ไหม? สมองพัฒนาได้ไม่มีวันหมดอายุ” [ระบบออนไลน์].
พินันท์ญา เกื้อเพชรแก้ว เลขที่26
1 ความคิดเห็น:
เก่งจริงๆ
แสดงความคิดเห็น