รู้เท่าทันไว้ห่างไกลโรคเอดส์


        โรคเอดส์เป็นโรคที่พรากชีวิตมนุษย์ในโลกนี้ไปมากมาย  ส่งผลต่อการสูญเสียอย่างน่าเสียดาย นับตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน  โรคเอดส์เป็นโรคใหม่ที่รายงานครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกา  เมื่อปี พ.. 2524  และมีรายงานผู้ป่วยรายแรกในประเทศไทย เมื่อปี พ.. 2527 โรคนี้มีการระบาดในทวีปแอฟริกาก่อนที่จะแพร่กระจายไปยังทั่วโลก  ถ้าหากผู้ใดได้รับเชื้อเอดส์แล้ว  ผู้ติดเชื้อเอดส์จะต้องทนทุกข์ทรมานกับอาการของโรคเอดส์ไปเรื่อยๆและในที่สุดก็เสียชีวิต  เพราะยังไม่มีวิธีการรักษาให้หายขาดได  เพราะฉะนั้นทุกคนก็รู้ว่ามหันตภัยของโรคเอดส์อันตรายแค่ไหนแต่เราทุกคนก็สามารถที่จะป้องกันภัยร้ายจากโรคเอดส์ดี ดังสุภาษิตที่ว่า  รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม



สาเหตุของโรคเอดส์
  เกิดจากเชื้อ เอชไอวี ซึ่งเป็นไวรัสชนิดใหม่ มีการวิจัยและเพาะเลี้ยงแยกเชื้อได้ในปี พ.. 2526  เชื้อนี้จะพบมากและมีมากในน้ำอสุจิ  ในเลือด   และน้ำเมือกในช่องคลอดของผู้ติดเชื้อ จึงสามารถแพร่ได้โดย
1)            ทางเพศสัมพันธ์  ทั้งต่างเพสและเพสเดียวกัน (ในชายร่วมเพศ  เกย์ )
   2)   ทางเลือด  เช่น  การได้รับเลือดจากการถ่ายจากผู้ป่วยที่เป็นโรคเอดส์โดยตรงหรือ แอบแฝง  เช่น  การได้รับเลือดจากการปลูกถ่ายอวัยวะที่มีเชื้อ  การปนเปื้อนผลิตภัณฑ์จากเลือด  การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน  เป็นต้น  ส่วนการใช้ของมีคม  ( เช่น  ใบมีดโกน  ที่ตัดเล็บ ) ร่วมกับผู้ติดเชื้อ  การสัก  การเจาะหู  อาจมีโอกาสปนเปื้อนเลือดที่มีเชื้อได้  แต่จะมีโอกาสติดโรคได้นั้น  ก็ต่อเมื่อมีแผลเปิด และปริมาณเลือด    หรือน้ำเหลืองที่เข้าไปในร่างกายมีจำนวนมากพอ

  3)   การติดต่อจากมารดาที่มีเชื้อสู่ทารก  ตั้งแต่ระยะอยู่ในครรภ์  ระยะคลอดและระยะเลี้ยงดูหลังคลอด  โอกาสที่ทารกจะติดเชื้อจากมารดา  ประมาณ  20-50%
 จากการศึกษาวิจัยในประเทศต่างๆ  เท่าที่ผ่านมาไม่พบว่ามีการติดต่อโดย
1)            การหายใจ  ไอ  จามรดใส่กัน
2)            การกินอาหารและดื่มน้ำร่วมกัน
3)            การว่ายน้ำในสระหรือเล่นกีฬาร่วมกัน
4)            การอยู่ในห้องเรียน ห้องทำงาน  ยานพาหนะ  หรือการอยู่ใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ
5)            การอยู่ในออ้อมกอด  หรือสัมผัส
6)            การใช้ครัว ภาชนะ เครื่องครัว   จาน  แก้ว  หรือผ้าเช็ดตัวร่วมกัน
7)            การถูกยุงหรือแมลงกัด
เชื้อเอชไอวีเมื่อได้รับเชื่อเข้าสู่ร่างกาย  จะมีการเพิ่มจำนวนสามารถแยกเชื้อไวรัสหรือตรวจพบ
แอนติบอดี้ได้หลังติดเชื้อ  3-12  สัปดาห์  ผู้ที่มีเลือดบวก  ( มีแอนติบอดี้ )  90%  จะมีเชื้อเอชไอวีในกระแสเลือดซึ่งสามารถแพร่โรคให้ผู้อื่นได้  แม้ไม่มีอาการอะไรเลยก็ตาม
ดิฉันคิดว่าหากผู้ใดได้ศึกษาเกี่ยวกับสาเหตุของโรคเอดส์แล้วก็จะสามารถป้องกันตนเองจากการเสี่ยงที่จะติดเชื้อเอดส์ได้


ลักษณะอาการของผู้ป่วยเอดส์
                อาการของผู้ที่ติดเชื้อเอดส์ในระยะเริ่มต้นส่วนใหญ่ยังไม่แสดงอาการอะไรออกไปให้เห็นแต่ในร่างกายของผู้ป่วยได้รับเชื้อแล้วก็จะสามารถแพร่เชื้อไปยังบุคคลอื่นได้อาการที่แสดงให้เห็นหลังจากนั้นไปอีกสักระยะ  พอสังเกตได้ดังต่อไปนี้
1)            ต่อมน้ำเหลืองที่คอ  รักแร้  แขน  ขาหนีบ   โตนานเกินกว่า  3 เดือน
2)            ไอเรื้อรังโดยไม่ทราบสาเหตุ
3)            อุจจาระร่วงเรื้อรังเกิน  3 เดือน  โดยไม่หายขาด
4)            ไอเรื้อรังโดยไม่ทราบสาเหตุ  เป็นๆ  หายๆ  นานเกินกว่า  3  เดือน
5)            มีไข้สูงเกิน  37.8  องศาเซลเซียส  หรือมีเหงื่อออกมากในตอนกลางคืนเรื้อรังเกิน เดือน
6)            มีก้อนสีแดงปมม่วงแก่  ขึ้นตามตัวและโตขึ้นเรื่อยๆ
7)            แขนขา   ข้างใดข้างหนึ่งไม่มีแรง  หรือทำงานไม่ประสานกัน  หรือมีอาการชักจากที่ไม่เคย
เป็นมาก่อน
8)            เป็นฝ้าขาวที่ลิ้นหรือในปาก  นานเกินกว่า   3  เดือน
ทั้งนี้อาการดังกล่าวข้างต้น  ไม่ได้หมายความว่าผู้ที่มีอาการดังกล่าวทั้งหมดจะเป็นเอดส์ทุกราย  จนกว่าจะได้มีการตรวจหาแอนติบอดี้จากเลือดเป็นการยืนยันที่แน่นอน
                ผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีจะมีอาการเปลี่ยนแปลงของร่างกายแตกต่างกันไป  สุดแล้วแต่จำนวนของเชื้อ  และระดับต้านทานของแต่ละคนซึ่งจะแตกต่างกันดังนั้นจึงสามารถแบ่งอาการของโรคนี้ได้  ระยะ  ด้วยกันดังนี้
   1)   ระยะเริ่มแรกของการติดเชื้อเอชไอวี  หรือระยะนี้นับตั้งแต่เริ่มติดเชื้อเอชไอวีจนกระทั่งร่างกายเริ่มสร้างแอนติบอดี้เป็นเวลาประมาณ 1-6  สัปดาห์หลังติดเชื้อ  ผู้ป่วยจะมีอาการไข้เจ็บคอ  ปวดเมื่อยตามตัว  มีผื่นขึ้น  ติอมน้ำเหลืองโต  บางคนอาจมีอาการคลื่นไส้  อาเจียน  ถ่ายเหลวหรอมีฝ้าขาวในช่องปากอาการเหล่านี้มักจะเป็นอยู่  1-2  สัปดาห์  แล้วหายไปได้เอง  เนื่องจากอาการคล้ายกับไข้หวัด  ไข้หวัดใหญ่หรือไข้ทั่วๆไป  ผู้ป่วยอาจซื้อยารักษาเอง  หรือเมื่อไปพบแพทย์ก็อาจไม่ได้รับการตรวจเลือด  จึงไม่ได้รับการวินิจฉัยตั้งแต่ในระยะนี้  ผู้ติดเชื้อประมาณ 30-50%  อาจไม่มีอาการดังกล่าวก็ได้
   2)   ระยะติดเชื้อไม่มีอาการ  ผู้ติดเชื้อจะแข็งแรงเป็นปกติเหมือนคนทั่วไปแต่การตรวจเลือดจะ
พบเชื้อเอชไอวี  และแอนติบอดี้ต่อเชื้อชนิดนี้  และสามารถแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้เรียกว่าเป็นพาหะ ( carrier )  ของโรค  ระยะนี้มักเป็นอยู่นาน  5-10  ปี  บางคนอาจนานกว่า 15  ปี
3)   ระยะติดเชื้อที่มีอาการ  ระยะนี้แต่ก่อนเรียกว่า  ระยะที่มีอาการสัมพันธ์กับเอดส์  มักจะมีอาการคล้ายโรคอื่นๆ  จนไม่คิดว่าจะเป็นเอดส์ก็ได้  อาจพบอาการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ในระยะเวลาไม่ต่ำกว่า  เดือน
                      3.1)   มีไข้เกิน  37.8  องศาเซลเซียส  เป็นพักๆ  หรือติดต่อกันทุกวัน
                    3.2)   ท้องเดินเรื้อรังหรืออุจจาระร่วงเรื้อรัง
                    3.3)   น้ำหนักลดลงเกิน  10%  ของน้ำหนักตัว
                    3.4)    ต่อมน้ำเหลืองโตมากกว่า  แห่งในบริเวณที่ไม่ติดต่อกัน
                    3.5)    มีเชื้อในปาก
       3.6)    มีฝ้าขาวในช่องปากจากไวรัสเอปสไตน์บาร์  มักอยู่ที่ด้านของลิ้นมีลักษณะเป็นฝ้าคล้ายโรคเชื้อราแต่ขูดไม่ออก
                      3.7)   โรคงูสวัด
                   4)   ระยะป่วยเป็นเอดส์ระยะนี้ระบบภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยเสื่อมเต็มที่ไม่สามารถที่จะคุ้มกันร่างกายจากสิ่งแปลกปลอมต่างๆได้แล้ว  เป็นผลทำให้เชื้อโรคต่างๆ เช่น  เชื้อรา  ไวรัส  แบคทีเรีย  โปรโตซัว  วัณโรค  เป็นต้น  ฉวยโอกาสเข้ารุมเร้า  เรียกว่า  โรคติดเชื้อฉวยโอกาสซึ่งส่วนใหญ่เป็นการติดเชื้อที่รักษาค่อนข้างยาก  และอาจติดเชื้อชนิดเดิมซ้ำอย่างเดียวหรือติดเชื้อชนิดใหม่  หรือหลายชนิดร่วมกัน  ทำให้วัณโรคปอด  ปอดอักเสบ  สมองอักเสบ  เยื่อหุ้มสมองอักเสบ  การติดเชื้อของระบบทางเดินอาหาร (เจ็บคอ  กลืนลำบาก  ท้องเดินเป็นต้น
                ผู้ป่วยเอดส์มีโอกาสเป็นมะเร็งบางชนิด  เช่น  มะเร็งของหลอดเลือดที่เรียกว่า kaposisaroma (เห็นเป็นตุ๋ม  หรือผื่นสีม่วงที่ผิวหนังหรือเกิดที่ต่อมน้ำเหลืองภายในช่องปากหรืออวัยวะภายในก็ได้) มะเร็งต่อมน้ำเหลือง  (lymphoma)  ในสมมอง  เป็นต้น  นอกจากนี้ผู้ป่วยยังมีความผิดปกติของสมองที่เรียกว่า aids dementia  complex  ( ADC ) ทำให้มีอาการทางจิตประสาท  ความจำเสื่อม  หลงลืมง่าย  ไม่มีสมาธิซึมศร้า  คคลุ้มคลั่ง  เป็นต้น  อาจมีอาการแขนขาชา  อัมพาต  ชักกระตุกได้
                ในระยะที่มีอาการหรือป่วยเป็นเอดส์แล้ว  จะตรวจพบอาการผิดปกติต่างๆ  เช่น  ไข้   ซูบ  ผอม  ต่อมน้ำน้ำเหลืองโตหลายแห่ง  ( บริเวณคอ  รักแร้  ขาหนีบ )  ซีด  จุดแดง  จ้ำเขียวในช่องปากหรือพบอาการลิ้นหรือช่องปากเป็นฝ้าขาวจากเชื้อราแคนดินา  รอยฝ้าขาวข้างลิ้น  แผลเริมเรื้อรัง  แผลแอฟทัส   ปากเปื่อย  ก้อนเนื้องอก  ( มะเร็ง เป็นต้น   บริเวณผิวหนังอาจพบวงผื่นของโรคเชื้อรา  (กลากเกลื้อน ) ลุกลามเป็นบริเวณกว้างและเรื้อรัง  เริม  งูสวัด  แผลเรื้อรัง   ผุพอง  ก้อนเนื้องอก   หูดข้าวสุก  (จากไวรัส ) ผื่นสีม่วงแดง  หรือตุ่มคล้ายหูดข้าวสุกกระจายทั่วไป  จากเชื้อราเพนิซิลเลียมมาร์เนฟไป  ผิวหนังแห้ง  คัน  เป็นสเก็ดขาว  เป็นตุ่มคัน  เป็นต้น  ในรายที่เป็นโรคติดเชื้อของสมอง  จะมีอาการซึม  เพ้อ  ชัก  หมดสติ  ถ้าเป็นเยื่อหุ้มสมองอักเสบจะตรวจพบอาการคอเข็ง


การป้องกันและการปฏิบัติตน
                การป้องกัน  แม้ว่าโรคนี้จะมีอันตรายร้ายแรงและยังมีความยุ่งยากในการเยียวยารักษาแต่ก็เป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ง่ายๆ  ดังนี้
                   1)   สำหรับประชาชนทั่วไป
                      หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์กับบุคคลอื่น  ที่มิใช่คู่ครอง  ควรยึดมั่นต่อการมีเพสสัมพันธ์กับคู่ครอง  (รักเดียวใจเดียว)
                      - ถ้ายังนิยมมีเพศสัมพันธ์กับบุคคลอื่น  โดยเฉพาะหญิงบริการ  หรือบุคคลที่มีเพศสัมพันธ์เสรีหรือมีพฤติกรรมเสี่ยงอื่น  ก็ควรจะใช้ถุงยางอนามัยป้องกันทุกครั้ง
                      - หลีกเลี่ยงการดื่มเหล้าจนมึนเมา  เพราะอาจชักนำไปสู่การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย (ประมาท ไม่คิดป้องกันตัวเอง)
                      - หลีกเลี่ยงการใช้เข็ม หรือกระบอกฉีดยาร่วมกับผู้อื่น      
                      -หลีกเลี่ยงการใช้ของมีคม  (เช่น  ที่ตัดเล็บ  ใบมีดโกน) ร่วมกับผู้อื่น  ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้  ก่อนใช้ควรทำลายเชื้อด้วยการแช่ในน้ำยาฆ่าเชื้อ  เช่น  แอลกอฮอล์  70%  โพวิโดนไอโอดีน  2.5% ทิงเจอร์ไอโอดีน  ไลซอล 0.5-3 %  โซเดียมไฮโพคลอไรด์ 0.1-0.5% (หรือน้ำยาคลอรอกซ์) เป็นต้น  นาน 10-20 นาที
                      - ก่อนแต่งงาน  ควรปรึกษาเพทย์ในการตรวจเช็คโรคเอดส์  ถ้าพบว่าคนใดคนหนึ่งมีเลือดบวกควรพิจารณาหาทาป้องกันมิให้ติดต่อกับอีกคนหนึ่ง
                      - คู่สมรสที่มีบุคคลหนึ่งเป็นผู้ติดเชื้อ  ควรคุมกเนิด  และป้องกันการแพร่เชื้อ  โดยการใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง
                      - หญิงตั้งครรภ์ที่คิดว่าตัวเองหรือคู่สามีมีพฤติกรรมเสี่ยง  ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจเลือดตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ใหม่ๆ  ถ้าพบว่ามีการติดเชื้อ  แพทย์อาจพิจารณาให้ยาต้านไวรัสเพื่อลดการติดเชื้อของทารกในครรภ์
                      - มาตรการในระยะยาว  คือ  การรณรงค์ให้เกิดค่านิยมใหม่  และสร้างครอบครัวที่อบอุ่นเพื่อป้องกันมิให้มีพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ  เช่น  การเที่ยวหญิงบริการ  การติดยาเสพติด
                   2)   สำหรับบุคลากรทางการแพทย์  ซึ่งมีความเสี่ยงการติดเชื้อเอชไอวี  จากการปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับการรักษาผู้ป่วย  ควรมีการประยุกต์ใช้มาตรการป้องกันอย่างเคร่งครัด  เช่น  การสวมถุงมือ  การใช้ผ้าปิดจมูก  หรือหน้ากาก  การใส่เสื้อคลุม  หรือการใช้อุปกรณ์ป้องกันอื่นๆ  เมื่อต้องปฏิบัติงานที่มีโอกาสสัมผัสถูกเลือด  น้ำเหลือง  สารคัดหลั่ง  หรือสิ่งขับถ่ายของผู้ป่วยทุกคน (ไม่ว่าจะสงสัยว่าเป็นผู้ติดเชื้อหรือไม่ก็ตาม
                ในกรณีที่ถูกเข็มที่ใช้กับผู้ป่วยแล้วตำ  ซึ่งเป็นอุบัติเหตุที่พบได้บ่อย  ควรรีบตรวจเลือดโดยเร็ว  แล้วตรวจซ้ำ  ในระยะ  6   สัปดาห์  เดือน  และ 6 เดือนติอมาแนะนำให้กินยาป้องกันโดยเร็วที่สุด  โดยใช้ยาต้านไวรัส

                  โรคเดส์เป็นโรคที่ทำอันตรายถึงแก่ชีวิตกับคนมากมาย  เมื่อเรารู้ถึงความโหดร้ายของโรคเอดส์และเราก็ยังรู้อีกว่าโรคเอดส์เกิดจากสาเหตุอะไร  เราก็สามารถป้องกันตนเองและหลีกเลี่ยงจากโรคนี้ได้  และเราก็ยังสามารถอยู่ร่วมในสังคมกับคนเป็นเอดส์ได้  และที่สำคัญเมื่อเรารู้สึกได้ถึงความรู้สึกของคนที่เป็นเอดส์เพราะทั้งสภาพร่างกายและจิตใจอ่อนแอมากๆ  เราก็จะสามารถที่จะดูแลพวกเขาเหล่านั้นได้ซึ่งได้ทั้งประโยชน์และได้ป้องกันตนเองและที่สำคัญก็ได้ดูแลผู้อื่นอีกด้วย  แต่คนเราเมื่อเกิดมาก็ย่อม  มีแก่  เจ็บ  และตาย  ในที่สุดความสุขของชีวิต ก็คือ  การไม่มีโรค  เป็นลาภอันประเสริฐ  และเราสามารถห่างไกลจากโรคได้หากเรารู้เท่าทัน

อ้างอิง

กนกรัตน์  เนาวประทีบ.  (2537)  โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์  กรุงเทพมหานคร  เทพเนรมิตการพิมพ์
ขนิษฐา  ดิฐโร.  โรคเอดส์  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก  : http : www.aidsthai.org  ( 15 พฤศจิกายน  2556)
เชิดเกียรติ  แกล้วกสิกิจ.  ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโรคเอดส์  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก  : http : www.aids.org         ( 15                        พฤศจิกายน  2556)
นิพนจ์  กาญจเนตร.  โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เอดส์  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก  : http : www.aids.org/ppt         ( 15                        พฤศจิกายน  2556)

นางสาว ชาติรส  สุขวรรณ  ม 5/1  เลขที่  35

1 ความคิดเห็น:

ต้องป้องกันนะคะทุกคน โรคเอดส์ใกล้ตัวเรามากกว่าที่คิดค่ะ หากใครมีความเสี่ยง ก็ควรต้องรีบไปตรวจเลือดค่ะ ของเพื่อนเราไปตรวจที่ V-med clinic ให้คำแนะนำดีมาก ค่าตรวจ ค่ายาอะไรก็ไม่แพงด้วยค่ะ โทรถามก่อนได้ที่เบอร์นี้เลยค่ะ 052-001119 www.vmedclinic.com

แสดงความคิดเห็น

About this blog

Research & Knowledge Formation

Blog Archive