สุขภาพดีจากโยคะ
การออกกำลังกายเป็นสิ่งสำคัญเพราะทำให้แข็งแรงและป้องกันโรคต่างๆโดยดาราหรือคนดังส่วนใหญ่มักเล่นโยคะเพราะโยคะจะฝึกสมาธิ
ลดหุ่น เพิ่มกล้ามเนื้อ ป้องกันโรคได้ โยคะเกิดในประเทศอินเดียมากกว่า 3,000
ปี โดยเกิดจากความเชื่อทางด้านศาสนา
ภายหลังประเทศตะวันตกได้นำศาสตร์โยคะมาดัดแปลงท่าจากหฐโยคะมาประยุกต์กับการออกกำลังกายจนเป็นโยคะในปัจจุบัน
โยคะมีองค์ประกอบดังนี้
1.การรักษาศีล ประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในศีลธรรม ละเว้นความชั่ว 5 ประการ
2.รักษาจิตใจให้บริสุทธิ์ พอใจในสิ่งที่ตัวเองมีอยู่ จะเน้นในเรื่องของการปฏิบัติทางจิต
3.การควบคุมจิตใจและความคิดให้มีความสุข กับชีวิตที่เรียบ
4.ท่าในการบริหารกายและจิต
5.ความนิ่ง
หรือ ความจดจ่อ
6.ความนิ่งที่ต่อเนื่อง
7.สภาวะที่สงบอยู่กับตัวเองถึง
แม้ว่าจะถูกรบกวนด้วยสิ่งเร้าภายนอก
โยคะมีทั้งหมด 7
ประเภท คือ
ราชาโยคะ ( Raja – Yoga )
โยคะสำหรับผู้ฝึกที่มีจุดมุ่งหมายเน้นไปที่ความสงบของจิตใจ
กรรมโยคะ ( Kamar – Yoga ) จัดเป็นโยคะที่อิงศาสนามาก
ภักติโยคะ ( Bhakti – Yoga )
โยคะสำหรับผู้ซึ่งมีจุดมุ่งหมายจริงจังที่จะปลีกตัวเองไปอยู่ตามป่าเขา ญาณโยคะ ( Jnana – Yoga )
เป็นโยคะที่เชื่อในเรื่องของความจริง
ตันตระโยคะ ( Tantra – Yoga )
เป็นโยคะที่ชี้นำให้ผู้ปฏิบัติทราบว่าด้านมืดและด้านสว่างของชีวิต หฐโยคะ ( Hatha – Yoga ) โยคะเป็นที่นิยมในปัจจุบัน
มนตราโยคะ ( Montra – Yoga )
โยคะร่วมสมัยนำเอาท่าอาสนะสมัยเก่ามาดัดแปลง
การออกกำลังกายจะมีข้อระวังเช่นเดียวกับโยคะ คือ ด้านสถานที่ฝึก ควรจะมีพื้นเรียบ อากาศถ่ายเทสะดวก ควรมีแผ่นยางกันลื่น สวมเสื้อยืด หรือ
ชุดที่ใส่สำหรับฝึกโยคะโดยตรงและถอดแหวน
นาฬิกา
แว่นตาและเครื่องประดับต่างๆออกให้หมด ควรฝึกอย่างน้อยวันละ 1 ชั่วโมง ไม่ควรฝึกหลังทานอาหารเสร็จ สำหรับผู้หญิงไม่ควรฝึกโยคะในช่วงที่ประจำเดือนมามาก
หรือ อายุครรภ์อ่อน ท่าโยคะนอกจากจะช่วยลดน้ำหนักยังสามารถป้องกันโรคได้ เช่น ท่านั่งดอกบัวชั้นเดียว ท่านี้เป็นท่านั่งสำหรับฝึกการหายใจแบบโยคะและฝึกการเคลื่อนไหวอย่างมีสมาธิ ป้องกันโรคไขข้อ
แก้โรคข้อเข่าเสื่อมเป็นการบริหารข้อต่อข้อเข่าและขา ท่าธนู ท่านี้จะช่วยให้ท้องไม่ผูก
เป็นต้น
การที่ได้ฝึกโยคะทำให้ร่างกายและจิตใจแน่วแน่ สงบและมีสมาธิ ร่างกายผ่อนคลายจากการตึงเครียด
นอกจากนี้การฝึกโยคะยังช่วยรักษาระบบต่างๆของร่างกาย กล้ามเนื้อกระดูกระบบเส้นประสาทต่างๆให้สมบูรณ์และสร้างสมดุลให้กับร่างกาย โดยโยคะจะเป็นการพัฒนาอวัยวะในทรวงอกและช่องท้อง
ผ่อนคลายกล้ามเนื้อและลดการรับรู้ประสาททั้ง 5
ไม่ว่าใครก็สามารถฝึกโยคะได้
ถ้าคุณอยากมีร่างกายกายที่แข็งแรงลองฝึกโยคะดูสิค่ะ
ที่มา
ฉัตริษา ศรีสานติวงศ์. (2556). โยคะสวยทันใจ.กรุงเทพมหานคร
: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
เบญจามณี คำเมือง. (2553). โยคะบำบัดโรค. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร : อมรินทร์สุขภาพ.
จักรวัฒน์ เครือคำอ้าย. คำเตือนก่อนการฝึกโยคะ. [ ออนไลน์ ].
เข้าถึงได้จาก : http :
นางสาวณัฐญา จงหมาย เลขที่ 37 ม.5/1
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น