SLEEP   WELL


ในชีวิตเราทุกคนมีสิ่งจำเป็นและปัจจัยต่างๆมากมายในการดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะเป็น บ้าน รถ ยา หรือว่า เงิน แต่สิ่งสำคัญที่ทุกคนจะปฏิเสธไม่ได้เลยว่ามันสำคัญมาก นั่นคือการนอนหลับ ซึ่งเราต้องทำกันทุกวัน ถ้าเราจะลองบวกเวลาที่เรานอนทุกคืนเข้าด้วยกัน และเปรียบเทียบกับอายุโดยเฉลี่ยของบุคคลแล้ว เรานอนหลับถึง 1 ใน 3 ของอายุ หรือ 25ปีของชีวิตก็ว่าได้ ด้วยเหตุนี้เราต้องตระหนักกันแล้วว่า ธรรทชาติของการนอนเป็นอย่างไร การนอนหลับนั้นจำเป็นแค่ไหน และทำไมเราจึงต้องนอนหลับ


ทำไมเราจึงนอนหลับ
                ก่อนอื่นเมื่อพูดถึงการนอนหลับ ทุกคนคงนึกถึงเวลาแห่งความสุขบนเตียงนอน แล้วสงสัยกันหรือไม่ว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไร การที่เรานอนหลับนั้นเป็นเพราะเมื่อถึงเวลากลางคืนนั้น ความมืดจะมาเยือนทุกคน ร่างกายจะกระตุ้น hypotalamus ให้หลั่งสารเมลาโทนิน ออกมากระตุ้นให้ร่างกายของคนเรานั้นต้องการการพักผ่อน โดยทั่วไปการนอนของเราแบ่งออกเป็นขั้นตอนดังนี้
1. stage 1 (light sleep) ระยะที่ยังหลับไม่สนิท คืออาการกึ่งหลับกึ่งตื่น โดยจะมีการกระตุกของกล้ามเนื้อ เรียกว่า hypnicmyclonia มักจะตามหลังอาการเหมือนตกจากที่สูง
2. stage 2 (so-called true sleep) เป็นช่วงที่หลับลึกที่สุด
3. stage 3 คลื่นสมองจะมีลักษณะ delta waves แสดงว่าผู้นอนจะนอนหลับลึก ความรู้สึกและสัมปชัญญะจะเลือนหายไปเป็นลำดับ โดยทั่วไปแล้ว คนเรานั้นจะใช้เวลานอนร้อยละ 50 ในstage 2 ร้อยละ 20 ใน stage 3 และอีกร้อยละ 30 ในระยะอื่นๆ การนอนหลับโดยทั่วไปใน 1 รอบนั้น เราจะใช้เวลา 90 - 110


นาที โดยการนอนในหนึ่งคืนเราจะนอนหลับคนละไม่ต่ำกว่า 5 รอบ โดยตลอดทั้งคืนคลื่นสมองจะเปลี่ยนแปลงกลับไปกลับมาทั้งไปและกลับตลอดทั้งคืน


ความจำเป็นของการนอน
                สิ่งหนึ่งที่คนทั่วไปคิดว่าตนรู้ดีอยู่แล้วเกี่ยวกับการนอนหลับ แต่เมื่อถามว่าการนอนหลับจำเป็นอย่างไรก็ไม่สามารถให้คำตอบที่แน่ชัดได้ เรามาดูกันเถอะว่าการนอนหลับจำเป็นอย่างไร ถ้าหากให้เปรียบเทียบคนเราเป็นเครื่องจักรทำงานตลอดทั้งวันก็ย่อมจะต้องการการพักผ่อนเพื่อเก็บสะสมพลังงาน และถ่ายเทของเสีย มีการทดลองจากนักวิทยาศาสตร์พบว่าเมื่อคนเราไม่ได้นอนติดต่อกันเป็นเวลานานจะมีอาการงัวเงีย กระหายการนอนหลับและพบว่าเซลล์สมองที่ขาดการพักผ่อนอย่างต่อเนื่องนั้นจะมีการเก็บสะสมของเสียเอาไว้ภายใน อาจมีผลทำให้สมองตาย นั่นจะส่งผลต่อการทำงานประสานกันของตาและมือจะไม่สัมพันธ์กัน โดยกลุ่มบุคคลซึ่งน่าเป็นห่วงซึ่งอาจยังไม่เข้าใจถึงความจำเป็นของการนอนหลับ คือกลุ่มผู้ใช้แรงงานที่ทำงานกลางคืน ซึ่งมักมีการใช้สารเสพติด หรือกาแฟ เพื่อให้ทำงานได้นานขึ้นในเวลากลางคืน โดยการใช้ยาเสพติด หรือกาแฟจะทำให้ร่างกายถูกกระตุ้นและทำงานได้นานขึ้นก็จริงแต่เมื่อหมดฤทธิ์ยา ร่างกายก็จะค่อยๆเสื่อมโทรมลงเป็นระดับ และอาจมีผลให้ไม่สามารถทำงานได้อีกเลย จากข้อมูลข้างต้นคงเห็นกันแล้วว่าการนอนหลับมีความจำเป็นมากต่อมนุษย์เรา


สภาวะของร่างกายขณะหลับ
ขณะที่เรานอนหลับ เคยรู้หรือเปล่าว่าร่างกายเรามีสภาวะเป็นอย่างไร โดยจากการศึกษาข้อมูลนักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่า ในช่วงของการนอนหลับคลื่นสมองมีแบบแผนที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างเห็นได้ชัด เราจะพบว่าบุคคลที่นอนหลับนั้น คลื่นสมองที่ถูกวัดด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า “ EEG ”  หรือ  Electroencephalograph จะมีแบบแผนที่ต่างออกไปจากคลื่นสมองของคนที่ตื่นอยู่ ในช่วงตื่นกระแสคลื่นสมองจะสั้นและดี เรียกว่า เบต้า (Beta) ส่วนในช่วงเคลิ้มหลับ EEG จะปรับเป็นกระแสคลื่นที่ยาวขึ้นเรียกว่า คลื่นอัลฟา (Alpha) คลื่นอัลฟานั้น นอกจากจะเกิดในช่วงก่อนหลับแล้วยังพบว่าในร่างกายมนุษย์เมื่อมีการผ่อนคลายเต็มที่ หรือในช่วงที่นั่งสมาธิภาวนา จะมีคลื่นนี้ด้วย


นอนอย่างไรให้สุขภาพดี
นิสัยการนอนของคนในปัจจุบันมีความหลากหลายเพิ่มมากขึ้นซึ่งเกิดจากผลพวงของเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำและพัฒนามากขึ้นในปัจจุบัน อาทิเช่น การเปิดไฟนอน พฤติกรรมนี้พบมากขึ้นในคนยุคนี้ การเปิดไฟนอนนอกจะเปลืองค่าไฟแล้ว แสงสีขาวยังส่งผลให้คนเรานั้นนอนหลับไม่สนิท และอาจส่งผลในระยะยาวคืออาจทำให้เกิดมะเร็งได้ หรือผู้ที่มีนิสัยชอบเล่นโทรศัพท์มือถือก่อนนอน แสงสีฟ้าจากจอโทรศัพท์จะส่งผลให้เรานอนหลับไม่สนิทและหลับไม่เต็มตื่น และจะทำให้เราสายตาสั้นด้วย จากพฤติกรรมเหล่านี้อาจทำให้หลายคนเกิดคำถามว่า เราจะนอนอย่างไรไม่ให้ส่งผลเสียต่อสุขภาพ และจะนอนอย่างไรให้มีสุขภาพดี คำตอบสำหรับเรื่องนี้ทำได้ไม่ยาก แต่สิ่งที่ยากที่สุดคือผู้ปฏิบัติจะสามารถเอาชนะใจตัวเองให้ทำตามคำแนะนำเหล่านี้ได้หรือไม่ การนอนให้สุขภาพดีทำได้ดังนี้
1.  ต้องเข้านอนให้ตรงเวลา เวลาที่ดีที่สุดของการเข้านอนคือเวลาก่อน 22.00 น. หรือสี่ทุ่ม เพราะในเวลาสี่ทุ่มนั้นเป็นเวลาที่ร่างกายคนเราหลั่งฮอร์โมนในการเจริญเติบโต และฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการทำงานต่างๆของร่างกายออกมามากมาย ซึ่งถ้าเรานอนหลังจากเวลานี้จะเกิดอะไรขึ้น คำตอบคือหากว่าเรานอนหลังสี่ทุ่มไปแล้วร่างกายของเราก็จะไม่หลั่งสารเหล่านี้ออกมา ทำให้ฮอร์โมนเหล่านี้ไม่ได้ทำงาน ถ้าเป็นแบบนี้ตืดกันเรื่อยๆ ร่างกายของเราก็จะเจริญเติบโตช้าลง หรือหยุดการพัฒนา
2.  ต้องมีทัศนะคติที่ดีก่อนนอน ในแต่ละวันเราต้องประสบพบเจอกับเรื่องราวต่างๆตลอดทั้งวัน ไม่ว่าจะเรื่องงาน ปัญหาชีวิตต่างๆนานาที่เข้ามา เป็นธรรมดาที่สิ่งพวกนี้จะมารบกวนจิตใจเรา ซึ่งสิ่งเหล่านี้มักทำให้การนอนหลับไม่ค่อยสนิทนัก การมีทัศนะคติที่ดีก่อนนอนทำได้หลายวิธีโดยเฉพาะการสวดมนต์ อาจดูภาพสวยๆที่ดูแล้วสบายใจก่อนนอนก็ทำได้
3.  จัดสภาพแวดล้อมห้องนอนให้สะอาด อากาศถ่ายเทสะดวก สภาพแวดล้อมในห้องนอนเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ เราควรทำความสะอาดห้องอยู่เป็นประจำ และจัดห้องให้อากาศถ่ายเทสะดวก ให้แสงแดดส่องถึง สภาพแวดล้อมที่นอกจากที่จะทำให้นอนหลัวสนิทและสุขภาพดีแล้ว ยังนำมาซึ่งสุขภาพจิตที่ดีอีกด้วย
4.  อาบน้ำอุ่นประมาณ 45 นาทีก่อนเข้านอน น้ำอุ่นๆเมื่อเราได้อาบแล้วนอกจากจะทำให้เรารู้สึกดี รู้สึกผ่อนคลายก่อนเข้านอนแล้วยังทำให้หลอดเลือดของเราขยายเป็นผลให้สามารถสูบฉีดเลือดได้ดี เลือดลมไหลเวียนสะดวก และหลังจากอาบน้ำเสร็จประมาณ 45 – 50 นาทีเราควรเข้านอนเพราะร่างกายเรามีการสูบฉีดเลือดที่ดี เลือดก็จะรับไปเลี้ยงสมองได้มากขึ้น เราก็จะนอนหลับสบาย ตื่นเช้ามาพร้อมกับความสดชื่นแจ่มใส
5.  จัดท่านอนให้ถูกต้อง ท่านอนที่ไม่ถูกต้องนำมาซึ่งปัญหาสุขภาพต่างๆนาๆ เช่น โรคหมอนรองกระดูทับเส้นประสาท โรคกระดูกพรุน ปวดเมื่อยตามตัว โรคเหล่านี้ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการนอนลำตัวคุดคู้ ซึ่งการนอนท่านี้ทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกายเป็นอย่างมาก ท่านอนที่ดีที่สุดคือท่านอนตะแคงขวา ยืดตัวตรง ท่านอนนี้จะทำให้หัวใจทำงานได้สะดวกขึ้น เลือดลมสามารถไหลเวียนได้คล่องขึ้น และสามารถช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคต่างๆ และหมอนที่เราใช้ควรเป็นหมอนที่นุ่มไม่แข็งจนเกินไป และไม่ควรนอนบนหมอนสูงๆที่ทำให้หัวอยู่สูงกว่าลำตัวมากนักเพราะจะทำให้กระดูกคอเคลื่อนได้  ผ้าที่นำมาหุ้มหมอนก็ควรเลือกใช้เป็นผ้าซาติน เพราะมีผลวิจัยออกมาว่าการนอนบนผ้าซาตินจะทำให้ฝันดี ส่วนอีกพฤติกรรมที่น่าเป็นห่วงก็คือการนอนคลุมโปง เพราะท่านอนนี้จะทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ


ผลดีของการนอนหลับ
                หลักปฏิบัติข้างต้นจะทำให้เรานอนหลับอย่างได้สุขภาพ สุขภาพดีที่ได้จากการนอนหลับที่ถูกต้องอย่างเพียงพอนำมาซึ่งผลดีนานับประการดังจะได้กล่าวถึงต่อไปนี้
                1.  ทำให้สมองได้มีการจัดระบบและรวบรวมข้อมูลที่ได้รับในแต่ละวันอย่างเต็มที่ ทำให้สมองของเรามีความพร้อมที่จะรับข้อมูลในเช้าวันใหม่ได้มากขึ้นด้วย
                2.  ทำให้เราฝัน ซึ่งการฝันนั้นทำให้คนเราได้ระบายความอัดอั้นตันใจที่ไม่สามารถระบายออกมาได้ในโลกแห่งความเป็นจริง สิ่งนี้แหละที่นำมาซึ่งสุขภาพจิตที่ดี
                3.  ทำให้ผิวพรรณผ่องใส ดวงตาเป็นประกายสดใส
                4.  ทำให้ร่างกายมีความกระปรี้กระเปร่า อย่าที่ได้กล่าวไปแล้วว่าการนอนหลับเปรียบเสมือนการชาร์ตพลังให้กับร่างกาย ซึ่งจะทำให้เรามีความพร้อมที่จะทำกิจกรรมในเช้าวันใหม่ได้อย่างเต็มที่
                5.  ทำให้สมองฉับไว คิดอ่านสดใส สดชื่น
                6.  ทำให้คนเราอารมณ์ดี ไม่หงุดหงิด จะสังเกตได้ว่าคนที่ได้รับการนอนหลับเพียงพอจะร่าเริงกว่าคนที่พักผ่อนไม่เพียงพอ นั่นเป็นเพราะคนที่ได้รับการนอนหลับอย่างเพียงพอมีการทำงานของต่อมไร้ท่อที่ดีกว่าคนที่พักผ่อนไม่เพียงพอนั่นเอง
                7.  ทำให้มีสมาธิในการทำกิจกรรมต่างๆ
                8.  การนอนหลับจะช่วยให้ความจำดี
                9.  การนอนหลับช่วยเผาผลาญไขมันและพลังงานส่วนเกินได้ดีกว่าตอนที่ตื่นอยู่ โดยเฉพาะการนอนหลับกลางวัน ทั้งยังมีผลการวิจัยเพิ่มเติมอีกว่าคนที่ได้นอนหลับในช่วงบ่ายประมาณ 20 นาทีจะมีความจำในช่วงบ่ายดีกว่าคนที่ไม่ได้นอนในช่วงนี้เลย
10.  การนอนหลับทำให้รูปร่างดี
                คนเรานั้นควรนอนหลับให้ได้เฉลี่ยวันละ 6 - 8 ชั่วโมง แต่จะมีความแตกต่างกันในแต่ละช่วงอายุ เพราะคนเราในช่วงอายุต่างๆสุขภาพร่างกายจะมีความแตกต่างกัน ในเด็กทารก และผู้สูงอายุ ควรนอนหลับให้ได้มากกว่า 8 ชั่วโมงต่อวัน ส่วนในเด็กวัยรุ่นควรจะนอนหลับอย่างน้อย 4 – 6 ชั่วโมงเป็นอย่างต่ำ เพราะในช่วงวันรุ่นร่างกายของเราจะแข็งแรงสมบูรณ์กว่าช่วงวัยอื่นๆ เทคนิคหนึ่งที่อยากแนะนำเพื่อที่ว่าเราจะสามารถนอนหลับดียิ่งขึ้นในผู้ที่มีปัญหาการหลับยาก คือ เราควรออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาทีในช่วงเย็น เพราะเมื่อเราเหนื่อยนั้นร่างกายของเราจะมีอาการต้องการการพักผ่อนเป็นอย่างมาก ทำให้เราสามารถนอนหลับได้ดียิ่งขึ้น
                ผู้อ่านคงเห็นกันแล้วว่า การนอนหลับมีผลอย่างมากต่อสุขภาพชีวิตของเรานั้นถ้าอยากมีสุขภาพดีนอกจากการออกกำลังกายแล้ว การนอนหลับก็ถือเป็นสิ่งสำคัญ ถ้านอนอย่างถูกต้องผลพลอยได้ที่ตามมาคือสุขภาพที่ดีและอนาคตที่สดใสถ้านอนแบบผิดๆผลพลอยได้ที่ตามมาก็คือโรคร้ายมากมาย ท้ายนี้ผู้เขียนขอฝากไว้ว่า นอนที่ไหนก็ไม่สุขใจเท่านอนที่บ้านกับครอบครัว




บรรณานุกรม


รศ.มุกดา  ศรียงค์ และคณะ.  จิตวิทยาทั่วไป.  กรุงเทพ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง,  2554
นิภา   แก้วศรีงาม.  กลไกการนอนหลับ. [ออนไลน์เข้าถึงได้จาก :   
 http://www.siamhealth.net/public_html/neuro  (29 พฤศจิกายน 2556)
นวลศิริ   เปาโรหิตย์.  เคล็ดลับการนอนอย่างเต็มที่. [ออนไลน์]  เข้าถึงได้จาก
 www.campus.sanook.com/91468  (29 พฤศจิกายน 2556)
สิริวรรณ   สารนาค.  ประโยชน์ของการนอน.  [ออนไลน์]  เข้าถึงได้จาก : www.sook-p1.wikipaces.com
(30 พฤศจิกายน 2556)
สุวิไล   เรียงวัฒนสุข.  นอนกลางวัน.  [ออนไลน์เข้าถึงได้จาก : www.guru.sanook.com/pedia
(30 พฤศจิกายน 2556)


           ผู้จัดทำ
นายปฏิยุทธ ศรีพนัง เลขที่ 10 ม.5/1



0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

About this blog

Research & Knowledge Formation

Blog Archive