ในยุคปัจจุบันพื้นฐานการใช้ชีวิต คือ ความรู้ การมีสติปัญญา เพื่อการใช้ชีวิตอย่างเหมาะสมและมีความสุข  เมื่อมีความรู้แล้วก็ต้องรู้จักปรับปรุงและพัฒนาศักยภาพทางความคิดอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเป็นสิ่งที่เราสามารถฝึกทักษะกระบวนการทางความคิดได้โดยอาจจะเริ่มจากพฤติกรรมรอบตัวเรา เช่น การกิน การอ่านหนังสือ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนมีความสัมพันธ์กัน หากเรารู้จักปรับตัวคิดสร้างสิ่งดี ๆ ให้แก่ชีวิตโดยการฝึกฝนตนเองอยู่เสมอโดยไม่จำเป็นต้องมีติวเตอร์ ซึ่งผู้เขียนเองก็เชื่อว่าใคร ๆ ก็ปรารถนาที่จะเรียนเก่งแต่ก็มีหลายคนที่ใช้ความเก่งไม่เป็น นั่นก็คือการลดคุณค่าของตนเอง โดยการที่จะใช้ความเก่งให้เป็นความเก่งจริง เก่งดี มีประโยชน์ ต้องวิเคราะห์ความหมายลักษณะของความเก่ง ในลักษณะการเปรียบเทียบระหว่างเรียนเก่งกับเก่งเรียน มีความสามารถเฉพาะตัวในตัวเอง มีสมองดี จำแม่น ทักษะการเรียนรู้เมื่อเรียนจะเข้าใจง่าย ขยันขันแข็ง จึงผลการเรียนดีมาตลอด

 พฤติกรรมรอบตัวมีผลจริงหรือ
                พฤติกรรมรอบตัวมีผลต่อการเรียน บางครั้งอาจจะทำให้เราเก่งขึ้นหรือแย่ลง อาจจะดูได้จากการรับประทานอาหารเช้าและการพักผ่อน จึงขอแนะนำเคล็ดลับการเสริมสร้างการเรียนจากพฤติกรรม ดังนี้
                1.อาหารเช้ากับสมอง  ผลการวิจัยจากสมาคมแพทย์ พบว่า การรับประทานเช้าสม่ำเสมอช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเส้นเลือดสมองและโรคหัวใจ เพราะในตอนเช้าเลือดของคนเรามีความเข้มข้นสูงและทำให้ส้นเลือดที่ส่งไปเลี้ยงสมองหรือหัวใจอุดตันได้ ถ้ารับประทานอาหารเช้าเข้าไป จะทำให้ระดับความเข้มข้นในเลือดจางลง ซึ่งอาหารที่ควรรับประทานในตอนเช้าที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ จึงขอแนะนำ
  1.1 ซีเรียลหรือคอร์นเฟลก ให้พลังงานและมีไขมันต่ำ จได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน
  1.2 ปลา เป็นสารที่อุดมไปด้วยโอเมก้า 3 มีผลต่อประสิทธิภาพของสมองโดยตรงแถมยังเป็นเนื้อสัตว์ที่ไม่มีไขมัน จึงทำให้ไม่อ้วน
   1.3 ไข่ มีสารอาหารหลากหลาย มีทั้งโปรตีน วิตามิน 12 และสังกะสีแถมยังช่วยเสริมสร้างความจำ และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของสมอง จึงดีต่อสุขภาพ แต่ไม่ควรทานไข่แดงมากเกินไป จะทำให้ระดับคอเลสเตอรอลสูงขึ้นได้ง่าย ๆ
    1.4 ผัก ผลไม้  ประกอบด้วยแร่ธาตุ วิตามิน และเส้นใยปริมาณมาก แต่ไม่ควรเป็นผลไม้ที่หวานเกินไป เพราะจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดมากเกินไปจะทำให้สมองซึม คิดอะไรไม่ออก
    1.5 ข้าว มีคุณสมบัติช่วยให้ระบบย่อยอาหารของร่างกายทำงานเป็นปกติ
การรับประทานอาหารเช้ามีส่วนเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียน ทำให้ระบบความจำ ทักษะการเรียนรู้และอารมณ์ดีขึ้น แต่หากไม่ทานอาหารเช้าจะมีสมาธิน้อยลง สมองไม่สามารถทำงานได้เต็มที่และส่งผลต่อสติปัญญา ทำให้ขาดสติ ส่งผลเสียในระยะยาว
2. นอนหลับให้เพียงพอ จะเรียนเก่งขึ้น การนอนหลับที่เพียงพอ จะช่วยให้สมองทำงานได้ดีขึ้น เพราะสมองได้พักผ่อนและเตรียมพร้อมในวันต่อไป ซึ่งการนอนหลับจะช่วยให้เราเรียนดีขึ้น ดังนี้
    2.1 การนอนช่วยให้ระบบความจำสมบูรณ์ขึ้น การนอนหลับสนิทมีประโยชน์ในการเพิ่มหน่วยความจำ เพราะระหว่างที่เรานอนหลับสนิท ระบบจะจัดเก็บความทรงจำได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    2.2 การนอนหลับช่วยกำจัดความเครียด โดยปกติเราควรนอนให้ได้วันละ 7 – 8 ชั่วโมง หากนอนไม่เพียงพออาจทำให้หงุดหงิด กังวล และเกิดความเครียดได้ง่าย ดังนั้นเราควรหลับให้เพียงพอ เพราะการนอนหลับช่วยลกระดับความเครียดและควบคุมความดันโลหิตได้ง่าย
    2.3 การนอนหลับทำให้การตัดสินใจดีขึ้น การที่นอนน้อยจะส่งผลให้สมองตื่นตัวน้อย ทำให้การตัดสินใจผิดพลาด และมีโอกาสเสี่ยงกว่าปกติ เพราะขาดความยับยั้งชั่งใจ
    2.4 การนอนทำให้ไม่อ้วน สุขภาพจะมีผลต่อการเรียน ซึ่งร่างกายของคนเรามีฮอร์โมนที่ควบคุมความรู้สึกอยากอาหารอยู่ 2 ตัว มีฮอร์โมนที่กระตุ้นความหิว และฮอร์โมนที่เพิ่มอัตราการเผาผลาญ คนที่นอนน้อยจะรู้สึกหิวบ่อย และจะกินเยอะ
10 เทคนิคช่วยคุณได้
                การป้องกันมิให้เกิดปัญหาในระหว่างเรียนเป็นสถานการณ์ที่ต้องใช้วิธีการเรียนรู้และแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ ถือได้ว่าเป็นเทคนิคทางจิตวิทยาที่ต้องเรียนรู้อย่างเข้าใจ ซึ่งสามารถปฏิบัติและแก้ไขได้ด้วยตนเอง มาดูเทคนิคที่ช่วยให้ผู้อ่านสามารถเรียนเก่งขึ้นได้ โดยวิธีง่าย ๆ ดังนี้
                1.คนเรียนเก่งแบ่งเวลาเป็น รู้จักการแบ่งเวลาว่าตอนไหนควรทำหรือไม่ควรทำอะไร หากทำได้จะได้ผลอย่างชะงัก
                2.การทำการบ้านและวิธีทบทวนบทเรียน สำหรับหัวใจของเรื่องนี้ คือ อย่าผัดวันประกันพรุ่ง เมื่อมีเวลาว่างหรือเมื่อถึงเวลาควรรีบทำทันที
                หลักที่ควรยึดถือในการทำการบ้าน มีดังนี้
                    2.1 จัดเวลาทำการบ้านให้เหมาะสม และต้องทำอย่างสม่ำเสมอ
                    2.2 ตรวจดูความยากง่ายอย่างคร่าว ๆ เสียก่อน หากมีข้อสงสัยควรถามครู
                    2.3 รีบทำการบ้าน อย่าปล่อยให้เป็นดินพอกหางหมู
                    2.4 ตรวจสอบความถูกต้องก่อนส่งครู
                การทบทวนบทเรียน เป็นการเสริมความเข้าใจ และเป็นการช่วยให้จำแม่นยิ่งขึ้น โดยอาจจะแบ่งเวลาทบทวนหลังจากทำการบ้าน และควรมีโน้ตย่อใจความสำคัญ ซึ่งจะทำให้จำได้แม่นยำกว่าการอ่านเพียงอย่างเดียว
                3.วิธีแก้การเบื่อเรียน ผู้เขียนเชื่อว่าทุกคนย่อมจะประสบปัญหากับการเบื่อเรียนกันทั้งสิ้น ซึ่งเกิดจากสาเหตุที่ต่าง ๆ กัน การเบื่อเรียนถือเป็นอุปสรรคต่อการเรียนเป็นอย่างมาก จึงจำเป็นจะต้องแก้ไขผู้เรียนต้องพยายามหาสาเหตุของการเบื่อเรียน และหาวิธีแก้ไข ก็จะทำให้เกิดความอยากเรียนมากขึ้น ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการเรียนอย่างยิ่ง
                4. คนเรียนเก่ง ลงมือทำโจทย์ หลายคนมองข้ามการทำโจทย์และแบบฝึกหัดต่าง ๆ ไปโดยสิ้นเชิง แล้วกลับไปให้ความสำคัญกับเนื้อหา อยากเรียนกันก็ต้องหมั่นทำโจทย์อย่างสม่ำเสมอ
                5. คนเรียนเก่ง ติวเป็นกลุ่มกับเพื่อน ผลัดกันถามผลัดกันตอบ การอ่านคนเดียวบางครั้งเราก็มองข้ามความสำคัญบางเรื่องไป การจับกลุ่มติวกับเพื่อนก่อนสอบ จะทำให้เราได้ในส่วนที่เรามองข้ามไป บางครั้งการจับกลุ่มถามตอบก่อนเข้าห้องสอบเพียงไม่กี่ชั่วโมงก็จะทำให้เราจำอะไรได้มากเลยทีเดียว
                6. การดูหนังสือเตรียมสอบไล่ ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีต่อการเรียนเป็นอย่างมาก เพราะหากจัดระบบการดูหนังสือดี ก็จะส่งผลให้คะแนนของการสอบไล่ดีไปด้วย ซึ่งผู้เรียนจำนวนมากจะประสบปัญหาเกี่ยวกับวันเริ่มต้นที่จะดูหนังสือเตรียมสอบไล่ ไม่รู้ว่าจะเริ่มวันไหนหรือวิชาไหนก่อน ซึ่งมักจะมีปัญหาดูหนังสือไม่ทัน ถึงแม้ว่าจะไม่มีตารางสอบก็สามารถดูหนังสือไว้ล่วงหน้าได้ เพราะจะช่วยให้คะแนนรายจุดดีไปด้วย และถือว่าเป็นการทบทวนบทเรียนไปในตัว
                7. คนเก่งทำมายแม็บ เรียนรู้จากภาพใหญ่ไปภาพเล็ก หากเรามองเนื้อหาความสัมพันธ์ของเนื้อหาทั้งหมดโดยรวม ว่าเกี่ยวข้องกับอะไร และมีหัวข้ออะไรบ้าง แต่ละหัวข้อเกี่ยวข้องกันอย่างไร การทำมายแม็บช่วยได้มากเลยทีเดียว สามารถทำได้ง่ายและช่วยให้จำได้แม่นยำขึ้น
                8. มั่นใจในตัวเอง อย่าคิดว่าตัวเองไม่เก่งเรียนยังไงก็ไม่ได้ เป็นข้อห้ามที่สำคัญมาก ๆ ห้ามคิดว่าตัวเองไม่เก่งแล้วไม่สามารถทำได้เด็ดขาด เด็กไม่เก่งก็มีวิธีเรียนดี แต่ห้ามยอมแพ้เด็ดขาด
                9. เข้าห้องสมุดกับการเรียน การเรียนการสอนในสมัยนี้ ไม่ใช่เพียงแค่รู้หรือเข้าใจในแบบเรียนเท่านั้น จำเป็นที่จะต้องรู้นอกเหนือจากหนังสือ การที่มีความรู้มากกว่าหรือนอกเหนือจากความรู้ในหนังสือหรือตำราย่อมได้เปรียบในการสอบแข่งขัน ห้องสมุดนับเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ใกล้ตัวมากที่สุด มีตำรามากที่สุดเท่าที่ผู้เรียนจะหาอ่านได้ และไม่ต้องเสียเงินอีกด้วย และที่สำคัญเป็นการฝึกการรู้จักใช้ห้องสมุด ซึ่งการเข้าห้องสมุดทุกครั้งต้องมีเป้าหมาย และต้องฝึกฝนตนให้มีนิสัยรักการอ่านจะมีประโยชน์อย่างยิ่ง
                10. คนเรียนเก่ง ดูแลตนเอง กินให้พอ นอนให้พอ ร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง กินอิ่มนอนหลับจะส่งผลให้สมองปลอดโปร่ง สามารถรับรู้และจดจำสิ่งต่าง ๆ ได้ดี


จดโน้ต ได้ผลจริง
                การจดโน้ตย่อที่ดีเวลาเรียน จะช่วยให้เรามีความจำที่แม่นขึ้น และยังมีผลต่อการสอบ แต่ว่าสไตล์การจดของแต่ละคนก็ต่างกันออกไป บางคนก็จดทุกอย่างเท่าที่จำได้ บางคนก็จดทุกอย่างเท่าที่จำได้ บางคนก็วาดเป็นภาพอธิบายเรื่องราว ในการจดโน้ตเพื่อให้ผู้เรียนสามารถจดจำในสิ่งที่จดมาได้อย่างแม่นยำขึ้นนั้น สามารถทำได้ 4 ขั้นตอน คือ
                ขั้นแรก เห็นเป็นจด เวลาเรียนในห้องให้จดในสิ่งที่อาจารย์เขียนบนกระดาน แต่ถ้าอาจารย์ฉายสไลด์ ฉายโปรเจ็คเตอร์ ก็จดตามอย่าได้ขาด โดยเฉพาะที่อาจารย์เน้นอาจจะขีดส้นใต้ไว้ ห้ามพลาดต้องจดอย่างทันที เพราะอาจจะเจอในข้อสอบได้
                ขั้นที่สอง ฟังการส่ง ซิกระหว่างที่เรียนไป อย่าลืมฟัง ซิกจากอาจารย์บางทีอาจเป็นการส่งสัญญาณทางอ้อม เพราะอาจจะออกสอบได้
                ขั้นที่สาม จดแบบชวเลข เป็นการจดข้อความด้วยสัญลักษณ์ ทำให้มีความรวดเร็วและค่อนข้างแม่นยำ แต่สิ่งสำคัญห้ามลืมว่าตัวที่ย่อนั้นหมายถึงอะไร
                ขั้นที่สี่ อ่านทบทวน อย่าลืมว่าหลังจบชั่วโมงเรียน ต้องเอาโน้ตมาอ่านทบทวนอีกครั้งทำให้เราจดจำได้มากถึง 80 %


วิธีช่วยจำ
                ทุกคนก็ย่อมปรารถนาที่จะมีความจำที่ดี จำได้แม่นยำ โดยมีวิธีจะช่วยให้ผู้เรียนมีความจำที่ดีขึ้น สามารถทำได้โดย
1.5 วิธีความจำ
    1.1 ฟิตแอนด์เฟิร์สมองด้วยการออกกำลังกาย การออกกำลังกายไม่ได้มีไว้สำหรับคนอยากมีสุขภาพดีเท่านั้น แต่การออกกำลังกายก็จะทำให้สมองได้ออกกำลังกายไปด้วย เพราะขณะที่ร่างกายเคลื่อนไหวสมองได้รับออกซิเจนมากขึ้น ซึ่งเป็นประโยชน์ต่การทำงานของสมอง และยังไปกระตุ้นสารเคมีในสมองเกี่ยวกับความจำให้ทำงานดีขึ้นด้วย
    1.2 ใช้อารมณ์ในการจำบ้าง วิธีนี้อาจฟังดูแปลก ๆ อารมณ์เป็นเหตุผลที่ทำให้สองเหตุการณ์ให้ผลลัพธ์ต่างกัน ก็เพราะว่าสิ่งที่เราทำด้วยอารมณ์หรือความรู้สึกจะทำให้เราจำได้แม่นขึ้น
    1.3 หาอะไรใหม่ ๆ ที่ท้าทายการทำกิจกรรมเดิม ๆ อาจจะเบื่อ ลองหาอะไรใหม่ ๆ ทำดูบ้างจะช่วยเพิ่มความน่าสนใจ ทำให้รู้สึกกระปี้กระเปร่า ยังทำให้เซลล์สมองได้รับประสบการณ์ใหม่ ๆ ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ บางคนเข้าใจผิดคิดว่าการใช้สมองมากเกินไปไม่ดี แต่ความเป็นจริงแล้วยิ่งใช้สมองมากเท่าไรสมองก็จะยิ่งพัฒนาขึ้นเท่านั้น ซึ่งแน่นอนว่าความจำเราจะดีไปด้วย
     1.4 แค่หัวเราะความจำก็เพิ่มขึ้น การหัวเราะถือเป็นยาที่ดีที่สุด ซึ่งการหัวเราะเกี่ยวข้องกับสมองโดยตรง เพราะเวลาที่เราหัวเราะจะหลั่งสารเอนโดรฟิน ทำให้ร่างกายมีความสุขสมองก็จะถูกกระตุ้นในทางที่ผ่อนคลาย ทางที่ดีอย่าเครียด อารมณ์ดี หัวเราะบ่อย ๆ จะเป็นผลดีต่อสมองและระบบความจำ
    1.5 นั่งสมาธิก่อนนอน การนั่งสมาธิถือว่าเป็นเทคนิคขั้นเทพที่ช่วยพัฒนาสมอง การนั่งสมาธิก่อนนอนเพียงวันละไม่กี่นาที ความจำก็จะดีขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ เคยมีการทดลองมาแล้วว่าคนที่นั่งสมาธิเป็นเวลานาน ๆ จะมีเซลล์สมองเพิ่มมากขึ้น การทำงานของคลื่นสมองก็จะดีขึ้น ดังนั้น ถ้าอยากจำแม่น จำได้นาน ก็ควรฝึกนั่งสมาธิ
2. 6 วิธีเปลี่ยนความจำระยะสั้น เป็นความจำระยะยาว ความจำระยะสั้น คือ ความจำที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราว เมื่อเวลาผ่านไปเราก็จะลืมสนิท ส่วนความจำระยะยาว คือ ความจำที่อยู่กับเราอย่างถาวร เปรียบเสมือนคลังข้อมูลใหญ่ ๆ ที่บรรจุข้อมูลไว้ ซึ่งความจำระยะยาวของแต่ละคนจะมีศักยภาพที่แตกต่างกัน ผู้เขียนจึงขอแนะนำวิธีคลายความจำสั้นเป็นความจำระยะยาว คือ
    2.1 ทำความเข้าใจแทนการท่อง การสร้างความจำระยะยาวที่ดี ควรทำความเข้าใจเนื้อหาคิดให้เป็นลำดับ ข้อมูลก็จะอยู่ในสมองนานกว่าการท่อง
    2.2 อ่านพร้อมเสียงหรือติวให้เพื่อน การอ่านออกเสียงได้ประโยชน์มากกว่าการอ่านในใจ ในเมื่อตาก็ได้ดูเนื้อหาและหูก็ได้ยินเสียง ซึ่งจะกระตุ้นสมองได้ดี หรือการติวให้เพื่อนก็ทำให้เราแม่นเนื้อหายิ่งขึ้น เพราะก่อนที่จะสอนคนอื่นได้ก็ต้องหาวิธีเรียบเรียงการสอนให้คนอื่นรู้เรื่องตาม อีกทั้งยังได้ทบทวนเนื้อหาไปในตัว
     2.3 สร้างสูตรเป็นของตนเอง การสร้างสูตร คือ การทำเนื้อหาขนาดยาวที่จำยากมาก ๆ หรือสับสนมาสร้างเป็นสูตร ส่วนใหญ่จะเอาพยางค์หรือคำแรกมาสร้างประโยค
    2.4 กินอาหารที่มี DHA เพราะ DHA เป็นกรดที่สำคัญต่อสมองและความจำมากทีเดียว ส่วนใหญ่จะมีในอาหารประเภทปลา น้ำมันตับปลา หรือพวกวอลนัท
    2.5 ออกกำลังกายสมอง ถ้าอยากให้สมองแข็งแรงมีความจำดี ก็ต้องออกกำลังกายสมองบ้าง เล่นเกมส์ฝึกสมองบ้าง จะได้มีความจำดีขึ้น
    2.6 พักสมองบ้าง ถ้าสมองล้าเกินไปก็ควรพักบ้าง จะนอนหลับหรือฟังเพลงเบา ๆ ก็ได้
สมาธิกับการเรียน
สมาธิในการเรียน ถือเป็นกุญแจสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการเรียนช่วยให้สามารถศึกษาหาความรู้ได้อย่างรวดเร็ว
    อุปสรรคของสมาธิ สิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อสภาพจิตที่จดจ่อความสนใจในเรื่องราวที่กำลังศึกษา คือ สิ่งรบกวนภายนอกและสิ่งรบกวนภายใน สิ่งรบกวนภายนอก คือ องค์ประกอบภายนอก เช่น เสียง แสง สภาพแวดล้อมที่รบกวนสมาธิ สิ่งรบกวนภายใน คือ องค์ประกอบภายในจิตใจ เช่น ความหิว ความอ่อนเพลีย ความวิตกกังวล ซึ่งรบกวนจิตใจและส่งผลต่อสมาธิในการเรียน
    การสร้างสมาธิในการเรียนสามารถทำได้ ดังนี้ คือ หาที่ที่สงบปราศจากเสียงรบกวนในการศึกษาหาความรู้ ขณะที่เรากำลังจดจ่อความสนใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เสียงอาจเป็นตัวทำลายสมาธิ ฉะนั้นเวลาทำงานหรือทบทวนบทเรียนควรหาสถานที่ที่สงบปราศจากเสียงรบกวน มีแสงสว่างพอเหมาะสม่ำเสมอ ควรหลีกเลี่ยงแสงสว่างที่เจิดจ้า ขณะกำลำอ่านหนังสือแสงสว่างก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เราเสียสมาธิ ถ้าหากใช้โคมไฟ ควรให้โคมไฟอยู่ด้านซ้ายมือ และมีความสว่างเพียงพอ แค่นี้ก็จะทำให้เรามีสมาธิในการทบทวนหนังสือแล้ว
การที่คนเราจะเก่งได้นั้นต้องรู้จักปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและรู้จักฝึกฝนปฏิบัติงานให้ถึงเป้าหมายหลาย ๆ ครั้ง อาจมีสิ่งที่ทำให้เราพลาดหรือได้คะแนนไม่ค่อยดี หรือไม่ยอมรับในสิ่งที่เราเป็น หากเราไม่รู้จักปรับเปลี่ยนพฤติกรรมก็จะไม่สามารถพัฒนาและแก้ไขตนเองได้ แต่หากเรารู้จักพัฒนาตนเองและทำแผนพัฒนาตนเองเพื่อเป้าหมายของตนเอง ความเก่งเป็นสิ่งที่ใคร ๆ ก็สามารถทำได้ด้วยตนเอง หากมีความพยายาม ความมุ่งมั่นและรู้จักนำเทคนิคมาปฏิบัติใช้อย่างสม่ำเสมอ เพียงแค่นี้คุณก็สามารถเก่งได้แล้ว


นางสาวศุภรดา  ขำแก้ว  เลขที่ 41 ม.5/1
 บรรณานุกรม

โชติกานต์   เที่ยงธรรม.   ฉลาดคิด พิชิตเกรด A.   กรุงเทพมหานคร : บุ๊คส์ทูยู
โมจิ   เคนิจิโร.   ความลับของสมอง.   กรุงเทพมหานคร : สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย ญี่ปุ่น)
วิทิยา      จันทร์พันธ์.   ขโมยสมองไอน์สไตน์.   พิมพ์ครั้งที่ 5.  กรุงเทพมหานคร : อมรินทร์บุ๊คเซ็นเตอร์
วิสิทธิ์   โรจน์พจนรัตน์.   แนะนำวิธีเรียนเก่ง.   กรุงเทพมหานคร.   กรุงเทพมหานคร : พัฒนาศึกษา
อชิรญา.   เรียนไม่เก่ง แค่รู้เคล็ด ก็เก่งได้.   กรุงเทพมหานคร.  :  แฮปปี้บุ๊ค
ณัฐกานต์  เพชรพงษ์พันธ์.   (2555. วันจันทร์/มกราคม).   ความหมายเรียนเก่ง.  [ออนไลน์].   เข้าถึงได้จาก :  
http ://www.13nn.org/posts/28383. (วันจันทร์ 18 พฤศจิกายน 2556)
ปิยะธิดา   หวานแก้ว.   (2555. วันพุธ/มีนาคม).   สมาธิกับการเรียน.   [ออนไลน์].   เข้าถึงได้จาก : http
://thrwikipedia.org.  (วันอังคาร 19 พฤศจิกายน 2556)
พวพิมล  อยู่ศรี.   (2555.วันศุกร์/เมษายน).   4 วิธีจดโน้ต.   [ออนไลน์].   เข้าถึงได้จาก : http ://
women.kapook.com/view 35515.html.  (วันศุกร์ 22 พฤศจิกายน 2556)
วนิดา      ภูระหงษ์.   (2556. วันอังคาร/กุมภาพันธ์).   6 วิธีเปลี่ยนความจำสั้น เป็นความจำระยะยาว.  
[ออนไลน์].   เข้าถึงได้จาก : http ://sakaeoscience 2012. Blogspot.com


0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

About this blog

Research & Knowledge Formation

Blog Archive