เจาะลึกว่านหางจระเข้
ในปัจจุบันมีเด็กจำนวนมากที่เล่นซุกซนจนทำให้เกิดอุบัติเหตุ
และหนึ่งในนั้นคืออุบัติเหตุที่เกิดจากการถูกน้ำร้อนลวก หรือโดนของร้อน
สิ่งแกที่พ่อแม่จะทำคือ ไปซื้อยามาทาให้กับลูก นอกจากจะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายแล้ว
บางครั้งก็ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ โดยอาจหลงเหลือรอยแผลเป็น
เนื่องจากปล่อยไว้นานจึงทำให้แผลยากแก่การักษา ซึ่งเราไม่จำเป็นต้องทำถึงขนาดนั้น
ทำไมเราไม่ลองมองหาสมุนไพรที่อยู่ใกล้ตัว
ที่สามารถบรรเทาอาการเจ็บปวดแลรอยแผลเป็นจากการโดนความร้อนอย่างว่านหางจระเข้ดูล่ะ
ว่านหางจระเข้ หางตะเข้ หรือว่านไฟไหม้
คืออีกหนึ่งพรรณไม้ไทยที่นิยมปลูกไว้ติดบ้าน โดยจะมีลักษณะดังนี้
เป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี สูง 0.5-1 เมตร
ลำต้นเป็นข้อปล้องสั้น ใบ
เป็นใบเลี้ยงเดี่ยวออกเรียงเวียนรอบต้น ใบหนา
และยาว ส่วนปลายใบแหลม ขอบใบเป็นหนามแหลมห่างกัน แผ่นใบหนาสีเขียว
มีจุดยาวสีเขียวอ่อน อวบน้ำ ข้างในเป็นวุ้นใสสีเขียวอ่อน ดอก
ออกเป็นช่อกระจายที่ปลายยอด ก้านช่อดอกยาว ดอกสีแดงอมเหลือง
โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 6 แฉก เรียงเป็น 2
ชั้น รูปแตร
ถึงแม้ว่าว่านหางจระเข้จะเป็นต้นไม้ทนแล้ตายยากก็จริง
แต่การที่จะปลูกต้นไม้ให้งามนั้น
ออกจะเป็นเรื่องยากสำหรับผู้ที่ไม่คุ้นเคยกับต้นไม้ ในการปลูกต้นว่านหงจระเข้นั้น
เราต้องย่อยดินเป็นก้อนเล็กๆเสียก่อน แล้วนำดินมา 3 ส่วน
ผสมใบไม้แห้งผุที่ย่อยเป็นเศษเล็กๆ 1 ส่วน ผสมปุ๋ย 1 ส่วน ผสมทราย 0.5 ส่วน เคล้าให้เข้ากัน
จะได้ดินร่วนซุยที่เหมาะสมกับว่านหางจระเข้
จากนั้นก็นำว่านหางจระเข้ลงกระถาง แต่มีข้อแม้ว่าเป็นกระถางใหญ่และลึก
ขนาดปากกว้าง ประมาณ 1 ฟุต ขึ้นไป
แต่ถ้านำมาปลูกลงดินก็จะโตเร็วกว่า และควรปลูกในที่ร่มรำไรตลอดวัน
เนื่องจากว่านหางจระเข้ไม่ชอบแดดจัด และไม่ควรปลูกใต้ชายคาหรือบริเวณที่น้ำค้างลงไม่ถึง
การรดน้ำ ควรจะรดวันละ 1-2 ครั้ง ให้ดินชุ่มชื้นอยู่เสมอ
แต่ต้องระวังอย่าให้ดินแฉะชื้นจนเกินไป
ว่านหางจระเข้นั้น จัดเป็นพืชที่มีสรพคุณต่างๆมากมาย
สามารถใช้บรรเทาโรคทั้งภายนอกและภายในร่างกาย อีกทั้งยังใช้บำรุงผิวพรรณได้อีกด้วย
ประโยชน์ภายใน
1.เป็นยาถ่าย ใช้น้ำยางสีเหลืองที่มีรสขม คลื่นไส้ อาเจียน
น้ำยางสีเหลืองที่ไหลออกมาระหว่างผิวนอกของใบกับตัววุ้น จะให้ยาที่เรียกว่า ยาดำ
วิธีการทำยาดำ คือ ตัดใบว่านหางจระเข้ให้เป็นรูปสามเหลี่ยม
ต้นที่เหมาะจะตัดควรมีอายุ 9 เดือน ขึ้นไป ตัดใบว่านหางจระเข้ที่โคนใบและปล่อยให้น้ำยางไหลลงภาชนะ
นำไปเคี่ยวให้ข้น เทลงในพิมพ์ ทิ้งไว้จะแข็งเป็นก้อน ขนาดที่ใช้เป็นยาถ่ายก็ประมาณ
250 มิลลิกรัม หรือประมาณ 1-2 เมล็ดถั่วเขียว
2.แก้กระเพาะ ล้ำไส้อักเสบ เอาใบมาปอกเปลือกออกให้เหลือแต่วุ้น
แล้วใช้รับประทานวันละ 2 เวลา ครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ
3.แก้อาการปวดตามข้อ โดยการดื่มว่านหางจระเข้ทั้งน้ำ วุ้น
หรืออาจจะใช้วิธีปกส่วนนอกของใบออกเหลือแต่วุ้น นำไปแช่ตู้เย็นให้เย็นๆ
จะช่วยให้รับประทานได้ง่าย รับประทานวันละ 2-3 ครั้ง ครั้งละ
1-2 ช้อนโต๊ะ เท่ากับ 2 ช้อนแกง
4.ป้องกันโรคเบาหวาน ตัดเนื้อว่านหางจระเข้ความยาวประมาณ 3-4 เซนติเมตร ไปรับประทานทุกวัน หรือจะนำไปปั่นเป็นน้ำว่านหางจระเข้
เพื่อนำมารับประทานก็ได้ โดยอาการเบาหวานจะทุเลาลงสำหรับผู้ที่เป็นในระยะแรก
ส่วนผู้ที่รับประทานเพื่อป้องกันสามารถรับประทานในปริมาณที่น้อยลงได้
5.แก้หรือป้องกันอาการเมารสหรือเมาเรือ หากมีปัญหาในเรื่องนี้อยู่เป็นประจำ
ขอแนะนำให้รับประทานเนื้อวุ้นจากว่านหางจระเข้
ก่อนออกเดินทางก็จะช่วยให้เกิดอาการดังกล่าวน้อยลง
ประโยชน์ภายนอก
1.รักษาแผลไฟไหม้ และน้ำร้อนลวก ใช้วุ้นในใบสดทา
หรือแปะให้แผลเปียกอยู่ตลอดเวลาใน 2 วันแรก แผลจะหายเร็วมาก
จะบรรเทาอาการปวดแสบปวดร้อน หรืออาการปวดจะไม่เกิดขึ้น
2.ผิวไหม้เนื่องจากถูกแดดเผา และแก้แผลเรื้อรังจากการฉายรังสี
การป้องกันการถูกแดดเผานั้น ทำได้โดยทาว่านหางจระเข้ผสมน้ำมันพืชก่อนออกแดด
ส่วนการรักษาผิวหนังที่ถูกแดดเผามา
สามารถทำได้โดยการทาด้วยวุ้นของว่านหางจระเข้บ่อยๆ
3.แผลจากการถูกของมีคม แก้ฝี แก้ตะมอย และแผลที่ริมฝีปาก
เป็นการรักษาแบบพื้นบ้าน โดยล้างใบว่านหางจระเข้ให้สะอาด บาดแผลก็ต้องทำความสะอาดเช่นกัน
นำวุ้นมาแปะตรงผิวให้มิด ใช้ผ้าปิด หยอดน้ำเมือกลงตรงผิวให้เปียกอยู่เสมอ
หรือจะเตรียมเป็นขี้ผึ้งก็ได้
4.แผลจากการถูกครูดหรือถลอก แผลพวกนี้จะเจ็บปวดมาก
ใช้ใบว่านหางจระเข้ล้างให้สะอาด ผ่าเป็นซีก ใช้ด้านที่เป็นวุ้นทาแผลเบาๆ
ในวันแรกควรทาบ่อยๆ จะทำให้แผลไม่ค่อยเจ็บ และแผลหายเร็วขึ้น
5.รักษาริสีดวง ลดอาการคัน โดยทำความสะอาดทวารหนักให้สะอาดและแห้ง
ควรปฏิบัติหลังจากอุจจาระ หรือหลังอาบน้ำ เอาว่านหางจระเข้ปอกส่วนนอกของใบ
แล้วเหลาให้ปลายแหลมเล็กน้อย เพื่อใช้เหน็บในช่องทวารหนัก
6.แก้อาการปวดศีรษะ โดยเอาว่านหางจระเข้ทาปูนดังหนึ่ง
เอาด้านทาปูนปิดตรงขมับ จะช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะได้
7.รักษาตาปลาหรือฮ่องกงฟุต นำเนื้อวุ้นที่ล้างทำความสะอาดแล้ว
ไปแปะบริเวณที่เกิดโรค หมั่นเปลี่ยนเนื้อวุ้นบ่อยๆ
โดยหากเป็นตาปลาส่วนที่แห้งจะเกิดรูบุ๋มขึ้น
ให้ใช้ว่านหางจระเข้ประคบต่อไปจนกว่ารอยบุ๋มจะสมานและเล็กลง
ส่วนฮ่องกงฟุตให้ใช้ว่านหางจระเข้ปะคบจนกว่าแผลจะแห้งและอาการดีขึ้น
8.บรรเทาอาการปวดฟัน ตัดเนื้อว่านหางจระเข้ออกเป็นแท่งเล็กๆประมาณ 2-3 เซนติเมตร นำไปเหน็บไว้ตามซอกฟันที่มีอาการปวด หรือประคบไว้ก็ได้
ใช้เวลาประมาณ 30 นาที อาการปวดจะค่อยๆบรรเทาลง
9.เป็นเครื่องสำอาง
9.1วุ้นจากใบสดชโลมลงบนเส้นผม ทำให้ผมดก เป็นเงางาม ผมนุ่มสลวย
เพราะวุ้นของว่านหางจระเข้ทำให้รากผมเย็น
เป็นการช่วยบำรุงต่อมที่รากผมให้มีสุขภาพดี ผมจึงดกดำเป็นเงางาม นอกจากนี้แล้ว
ยังช่วยรักษาแผลบนหนังศีรษะด้วย
9.2สตรีชาวฟิลิปปินส์ใช้วุ้นจากว่านหางจระเข้คลุกรวมกับเนื้อในของเมล็ดสะบ้า
นำไปชโลมผมประมาณ 1 ชั่วโมง แล้วล้างออก ใช้กับผมร่วง
หนังศีรษะล้าน
9.3รักษาผิวเป็นจุดด่างดำ
ผิวด่างดำนี้อาจเกิดขึ้นจากอายุมาก หรือถูกแสงแดด
หรือเป็นความไวของผิวหนังแต่ละบุคคล ใช้วุ้นทาวันละ 2 ครั้ง
หลังจากได้ทำความสะอาดผิวหน้าด้วยน้ำสะอาด ต้องมีความอดทนมาก
เพราะต้องใช้เวลาเป็นเดือนๆ จึงจะหายจากจุดด่างดำ แต่ถึงอย่างไรก็ดี ควรใช้วุ้นจากว่านหางจระเข้ทา
จะทำให้ผิวหนังมีน้ำมีนวลขึ้น
9.4รักษาสิว ยับยั้งการติดเชื้อ
ช่วยลดความมันบนใบหน้า เพราะในใบว่านหางจระเข้มีฤทธิ์เป็นกรดอ่อนๆ
9.5โรงพยาบาลรามาธิบดี กำลังลองใช้กับคนไข้ที่เป็นแผล
เกิดขึ้นจากการนั่งหรือการนอนทับนานๆ
สูตรพอกหน้าด้วยว่านหางจระเข้
1.นำเนื้อวุ้นจากว่านหางจระเข้ 1 ช้อนโต๊ะ ผสมดินสอพอง
1.5 ช้อนโต๊ะ ผสมไข่ขาว 2 ช้อนโต๊ะ
ผสมให้เข้ากันช่วยลดความมันบนใบหน้าได้
2.นำเนื้อวุ้นจากว่านหางจระเข้ 1 ช้อนโต๊ะ ผสมดินสอพอง
2 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำมะนาว 1 ช้อนชา
และผสมน้ำผึ้ง 1 ช้อนชา นำไปพอกหน้าเพื่อลดความมัน
และจุดด่างดำได้
3.นำเนื้อวุ้นจากว่านหางจระเข้ 1 ช้อนโต๊ะ ผสมดินสอพอง
1.5 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำแตงกวา 1-2
ช้อนโต๊ะ นำไปพอกหน้า จะช่วยลดความมันบนใบหน้า
และเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวหน้าสดชื่นขึ้น
4.นำเนื้อวุ้นจากว่านหางจระเข้ 1 ช้อนโต๊ะ ผสมดินสอพอง
1 ช้อนโต๊ะ ผสมนมสด 1.5 ช้อนโต๊ะ
นำไปพอกหน้าเพื่อลดความมัน เพิ่มความกระจ่างใส โดยสามารถฝานแตงกวาเป็นแว่น
มาแปะไว้บริเวณรอบดวงตาก็ได้
5.นำเนื้อวุ้นจากว่านหางจระเข้ 1 ช้อนโต๊ะ ผสมขมิ้นผง 2
ช้อนชา และผสมนมสด 1.5 ช้อนโต๊ะ
นำมาพอกเพื่อลดความมัน และเพิ่มความกระจ่างใส
เมื่อสรรพคุณของว่านหางจระเข้มีอยู่มากมายรอบด้านขนาดนี้
ผลิตภัณฑ์ต่างๆที่เกิดจากว่านหางจระเข้ทยอยออกมาเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้บริโภคมากขึ้น
ปัจจุบันจึงมีผลิตภัณฑ์ที่ถูกแปรรูปจากว่านหางจระเข้อยู่หลายอย่าง
จะยกตัวอย่างเช่น เช่น เจลพอกว่านหางจระเข้ ใช้เพื่อบำรุงผิว ป้องกันฝ้า
ลบลอบจุดด่างดำ รักษาสิว เป็นต้น สามารถทำได้โดยเลือกใบจากว่านหางจระเข้ที่มีอายุ 1
ปีขึ้นไป โดยเลือกใบล่างสุด ซึ่งจะอวบ และมีวุ้นมาก นำมาแช่น้ำ
เพื่อล้างยางสีเหลืองออกมาให้หมด จากนั้นปอกเปลือกออก
แล้วนำวุ้นที่ได้มาล้างน้ำให้สะอาดอีกทีหนึ่ง นำวุ้นไปปั่นหรือขยำ
ก็จะได้เจลว่านหางจระเข้ การใช้ว่านหางจระเข้ จะดีกว่าการใช้ผลิตภัณฑ์แปรรูป
ซึ่งจะมีปัญหาการคงตัวเมื่อถูกความร้อน วิธีใช้คือ ล้างหน้าให้สะอาด
เช็ดหน้าให้แห้ง และใช้เจลพอกให้ทั่วใบหน้า ยกเว้นรอบดวงตาและรอบปาก ทิ้งไว้ประมาณ
20 นาที จึงล้างออก สูตรนี้เหมาะสำหรับคนผิวมัน
คนผิวแห้งไม่ควรใช้ว่านหางจระเข้เดี่ยวๆ ควรเติมน้ำมันมะกอก
กับไข่แดง ตีให้เข้ากัน แล้วจึงนำมาพอก
ถึงแม้ว่าว่านหางจระเข้จะมีประโยชน์และข้อดีมากมาย
แต่ก็ยังมีข้อเสียอยู่บ้าง คือ ว่านหางจระเข้จะมีพิษอยู่ที่ยาง และลำต้นของมัน
ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการ ดังนี้
1.ทำให้เป็นไข้และปวดตามข้อ พ.ศ.2456 ประเทศฮังการี พบว่าเมื่อฉีดสารอะโลอิน
ที่ได้จากยางของว่านหางจระเข้ให้กับสุนัข จะทำให้ไข้อยู่ประมาณ 1 วัน และเมื่อทดลองฉีดให้กับสัตว์ปีกทุกๆวัน
จะทำให้ร่างกายมันสร้างกรดยูริกเพิ่มมากขึ้น จากปกติถึง 3 เท่าตัว
ซึ่งอาจจะทำให้เกิดอาการปวดตามข้อได้
2.เพิ่มการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร พ.ศ.2512 ที่รัสเซียมีการทดลองฉีดสารสกัดจากว่านหางจระเข้ให้กับสุนัขทุกวัน ติดต่อเป็นเวลา
20 วัน ปรากฏว่าทำให้กระเพาะอาหารหลั่งกรดมากขึ้นกว่าเดิม
แต่เมื่อหยุดใช้ยาการหลั่งกรดยูริกกลับอยู่สภาพเดิม 2-3 วัน
3.ทำให้เป็นมะเร็งในจมูก พ.ศ.2498 อังกฤษพบว่าลำต้นว่านหางจระเข้ มีสารชนิดหนึ่งชื่อ
เบนโซไพรินซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องทำให้คนเป็นมะเร็งในจมูก
ดังสังเกตได้ว่าชาวแอฟริกาใต้ที่ชอบนัดยานัตถ์ที่บดจากลำต้นว่านหางจระเข้จะเป็นมะเร็งในจมูกอย่างมาก
4.ใช้แล้วปวดมากขึ้น มีคนเคยใช้ว่านหางจระเข้แล้วปวดมากขึ้น คือ
เท้าถูกตะขาบกัด ในตอนแรกใช้น้ำส้มสายชูอาการดีขึ้นเล็กน้อย จึงหันมาใช้ว่านหางจระเข้
พอนำวุ้นแปะลงไป ก็รู้สึกปวดขึ้นมาทันที ปวดทั้งขาและปวดหัวด้วย ปวดจนทนไม่ไหว
จึงต้องเข้าโรงพยาบาล
ข้อควรระวัง
1.ยางและยาดำที่ได้จากว่านหางจระเข้
ห้ามใช้รับประทานสำหรับผู้ที่มีอาการปวดท้อง อ่อนเพลีย ไตอักเสบ
เป็นริดสีดวงทวารหรือหญิงมีครรภ์ หรือหญิงที่อยู่ระหว่างการให้นมบุตร
เพราะอาจทำให้แท้งลูก
หรือลูกที่กินนมแม่ท้องเสีย
2.ส่วนวุ้นและน้ำเมือก ห้ามให้คนที่แพ้ยาต่างๆง่าย
หรือร่างกายขาความต้านทานยาต่างๆ
เพราะกินว่านหางจระเข้ไปแล้วอาจเกิดผื่นคันที่ผิวหนัง
เห็นไหมล่ะคะว่า ว่านหางระเข้มีประโยชน์ต่อเรามากมายแค่ไหน
เราไม่ควรที่จะมองข้ามมันไป เพราะไม่เพียงแต่รักษาแผลจากสิ่งต่างๆ
แต่ยังนำมาเป็นเครื่องสำอาง และยังนำมาเป็นเครื่องดื่มได้อีกด้วย
แต่ในข้อดีของมันนั้น ก็ยังคงมีข้อเสียซ่อนอยู่
ดังนั้นเราควรที่จะใช้อย่างระมัดระวัง เพื่อสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับตัวของเราค่ะ
จัดทำโดย
นางสาวฐิติพร จันทวี เลขที่ 16 ม.5/1
อ้างอิง
นันทวัน บุญยะประภัศ.สมุนไพรพื้นบ้าน(3).บริษัทประชาชน,กรุงเทพฯ.2542.823
สมสุข มัจฉาชีพ.พืชสมุนไพร.พิมพ์ครั้งที่ 1.โรงพิมพ์นันทชัย,2534:150
พิมพร ลีลาพรพิสิฐ,เครื่องสำอางสำหรับผิวหนัง,สนพ.โอเดียน สโตร์,กรุงเทพ,2532
กระปุกดอทคอม.ว่านหางจระเข้.[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http:// health.kapook.com (วันที่สืบค้นข้อมูล
: 3 พฤศจิกายน 2556)
สุนทรี สิงหบุตรา.สรรพคุณสมุนไพร
200 ชนิด.บริษัทคุณ 39.กรุงเทพฯ,2535.260.
สุนทรี สิงหบุตรา.สรรพคุณของว่านหางจระเข้.[ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก : http://www.rspg.or.th (วันที่
สืบค้นข้อมูล
: 2 พฤศจิกายน 2556)
เสถียรพงษ์ ยอดนิล.ข้อควรระวังของว่านหางจระเข้.[ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก : http://www.chaiwbi.com
(วันที่สืบค้นข้อมูล :
7 พฤศจิกายน 2556)
อานนท์ เคลือทอง.วิธีการปลูกว่านหางจระเข้.[ออนไลน์].เข้าได้จาก : http://www.chaiwbi.com (วันที่สืบ
ค้นข้อมูล : 7 พฤศจิกายน 2556
1 ความคิดเห็น:
ว่านหางจระเข้เป็นพืชที่แบบอยู่ใกล้ตัวเรามากนะ แถมยังมีประโยชน์มากๆ ด้วย
http://guru.sanook.com/9220/
แสดงความคิดเห็น