มะรุม พืชมหัศจรรย์
มะรุมนี้เป็นคำเรียกชื่อของชาวภาคกลาง ชาวภาคเหนือจะเรียกว่า “ผักมะค้อนก้อม” ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกว่า “ผักอีฮุม
หรือ ผักอีฮึม” ชาวกะเหรี่ยงแถบกาญจนบุรีเรียก “กาแน้งเดิง”
ชาวฉานแถบแม่ฮ่องสอนเรียก “ ผักเนื้อไก่”
เป็นต้น
มะรุมในทางการแพทย์จะช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวาน
ควบคุมภาวะความดันโลหิตสูงช่วยเพิ่มและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย ซึ่งส่วนต่างๆของมะรุมตลอดทั้งต้นนั้นมีคุณประโยชน์ ดังต่อไปนี้
ใบ
ใช้ถอนพิษไข้
แก้เลือดออกตามไรฟัน
แก้อักเสบ แก้แผล ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ขับปัสสาวะ
ป้องกันมะเร็ง ลดความดันโลหิต
ยอดอ่อน
ใช้ถอนพิษไข้
ดอก
ใช้แก้ไข้หัวลม เป็นยาบำรุง ขับปัสสาวะ
ขับน้ำตา ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ป้องกันมะเร็ง
ฝัก
แก้ไข้ ป้องกันมะเร็ง ลดความดันโลหิต
เมล็ด
เมล็ดปรุงเป็นยาแก้ไข้ แก้บวม แก้ปวดตามข้อ
ป้องกันมะเร็ง
ราก
รสเผ็ด หวาน ขม
สรรพคุณ แก้อาการบวม บำรุงไฟธาตุ
รักษาโรคหัวใจ รักษาโรคไขข้อ ( rheumatism )
เปลือกลำต้น รสร้อน
สรรพคุณขับลมในลำไส้
ทำให้ผายหรือเรอ คุมธาตุอ่อนๆ แก้ลมอัมพาต
ป้องกันมะเร็ง คุมกำเนิด เคี้ยวกินช่วยย่อยอาหาร
ยาง (gum) ฆ่าเชื้อไทฟอยด์ ซิฟิลิส (syphilis) แก้ปวดฟัน
(earache,asthma)
คุณค่าทางอาหาร
ใบ
ใบสดใช้กินเป็นอาหาร
ใบแห้งที่ทำเป็นผงเก็บไว้ได้นานโดยยังมีคุณค่าทางอาหารสูง ใบมะรุมมีวิตามินเอสูง มีแคลเซียมสูงเกือบเท่านม มีธาตุเหล็กสูงกว่าผักขม
มีวิตามินมากพอๆกับส้มและมีโพแทศเซียมเกือบเท่ากล้วย
ดอก
ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย แก้หวัด (helminth) ป้องกันมะเร็ง
ฝัก
ฝักมะรุม 100 กรัม ให้พลังงานต่อร่างกาย 32
กิโลแคลอรี่
ประกอบด้วย เส้นใย 1.2
กรัม แคลเซียม 9
มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส 26 มิลลิกรัม เหล็ก 1.5 มิลลิกรัม วิตามินเอ
532 IU วิตามินบี 1
0.05 มิลลิกรัม ไนอาซิน
0.6 มิลลิกรัม วิตามินซี
262
มิลลิกรัม
เมล็ด
น้ำมันที่ได้จากการคั้นเมล็ดสดใช้เป็นน้ำมันปรุงอาหาร
ผู้เฒ่าผู้แก่นิยมกินมะรุมในช่วงต้นฤดูหนาว เพราะเป็นฤดูกาลของฝักมะรุม จึงหาได้ง่าย
และมีรสชาติอร่อย
เพราะสดเต็มที่
มะรุมสามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายเมนู
เช่น แกงส้มฝักมะรุม ฝักมะรุมอ่อนผัดน้ำมันหอย ยำฝักมะรุมอ่อน เป็นต้น
ในต่างประเทศมีการค้นคว้าและวิจัยอย่างกว้างขวางที่จะนำพืชชนิดนี้มาใช้รักษาความเจ็บป่วยของมนุษย์
เนื่องจากมะรุมเป็นพืชที่มีธาตุอาหารปริมาณสูงมาก นั่นคือ
มีวิตามินเอ
บำรุงสายตามากกว่าแครอท 3 เท่า
มีวิตามินซี
ช่วยป้องกันหวัด 7
เท่าของส้ม
มีแคลเซียม
บำรุงกระดูก 3
เท่าของนมสด
มีโพแทสเซียม
บำรุงสมองและระบบประสาท 5 เท่าของกล้วย
มีใยอาหารและพลังงาน ไม่สูงมากเหมาะกับผู้ที่ควบคุมน้ำหนัก
นอกจากนี้น้ำมันสกัดจากเมล็ดมะรุมมีองค์ประกอบคล้ายน้ำมันมะกอกดีต่อสุขภาพอย่างยิ่ง
มะรุมกับมะเร็งใครจะแน่กว่ากัน
มะรุมมีสารมหัศจรรย์ต้านมะเร็งเพราะในมะรุมมีสารเบนซิลไทโอไซยาเนตไกลโคไซต์ชนิดหนึ่งกับสารไนอาซิไมซิน
(niazimicin)
สารสองตัวนี้สามารถต้านการเกิดมะเร็งที่ถูกกระตุ้นโดยสารฟอบอลเอสเทอร์ในเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวได้
การทดลองในหนูก็พบว่า
หนูที่กินมะรุมนั้นมีเนื้องอกบนผิวหนังน้อยกว่ากลุ่มที่กินมะรุม
การรับประทานมะรุมอย่างสม่ำเสมอจะช่วยป้องกันโรคมะเร็งได้และถ้าหากเป็นอยู่ก็จะช่วยให้การรักษาพยาบาลนั้นง่ายขึ้นในบางรายอาจจะหยุดยั้งการเจริญเติบโตของมะเร็งได้ แต่นอกจากจะทานมะรุมเพียงอย่างเดียวแล้วก็ควรต้องออกกำลังกายเช้าเย็น ทำจิตใจให้ผ่องใส กินอาหารที่มะเร็งไม่ชอบ เช่น
ของคาว
สำหรับคนที่เป็นมะเร็งเต้านมนั้นควรกินใบสดของมะรุมบ่อยๆเช้าเย็นเลยก็ได้จะลวกจะต้มหรือจะกินสดๆก็ดีมากเพราะความร้อนจะได้ไม่ทำลายสารสำคัญของมะรุม
หากชอบอาหารรสจัด เช่น
ลาบ ก้อย แจ่วบอง
ก็ควรเอาใบมะรุมมากินแนมด้วยเป็นผักสดอีกชนิดหนึ่งที่กินสดๆได้คุณค่าอย่างมหาศาล
สำหรับคนที่เป็นมะเร็งลำไส้นั้นมีคนเคยเป็นถึงขนาดต้องผ่าตัดเอาไส้ทิ้งไปหลายนิ้วและต้องเอาไส้ออกมาไว้ข้างนอกพราะต้องล้างลำไส้ตลอดเวลา
แต่คนนี้เขาหันมากินมะรุมแคปซูลและยังดื่มชามะรุมก่อนนอนด้วยซึ่งชามะรุมนี้มีรสชาติหวานๆขมๆแต่ขมในแบบขมเป็นยานั่นเองและไม่บุคคลนี้ก็หายจากมะเร็งลำไส้อย่างน่าอัศจรรย์
ร่วมมือกันปลูกต้นมะรุมไว้ที่บ้านเพื่อให้บุคคลรุ่นต่อๆไปได้รู้จักว่าต้นมะรุมเป็นอย่างไรและจะได้รู้จักนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไป นอกจากนี้นานาชาติต่างให้การยกย่องว่าเป็น “พระเอกของสมุนไพร”
ที่มา
แพรวดี. (2554). มะรุมกับมะเร็งใครเก่งกว่ากัน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : ไพลินบุ๊คเน็ต.
เจนจบ ยิ่งสุมล. 2555. สารานุกรมสมุนไพรไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : ทศพรบิลเลี่ยนกรุ๊ป.
ธีรลักษณ์ สุทธเสถียร
สุรชัย เดชคุณาการและคณะ. 2555. สมุนไพรไทยเพื่อสุขภาพช่องปาก. พิมพ์ครั้งที่
1.
กรุงเทพมหานคร : เมดิคัล มีเดีย.
สุทธิกรณ์ ฤทธิ์บวรรักษา. 2550. มหัศจรรย์สมุนไพรไทย. พิมพ์ครั้งที่ 3.
กรุงเทพมหานคร : ไพลิน
บุ๊คเน็ต.
ประไพศิริ สุขุม. 2550.
อาหารเป็นยา
อายุยืน ต้านโรค. พิมพ์ครั้งที่ 1.
กรุงเทพมหานคร. : ไพลิน
บุ๊คเน็ต.
นางสาว ฐาปณีย์
ศรีสุวรรณ ม.5/1 เลขที่ 36
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น