GAT PAT เรื่องจิ๋วๆ
“สทส.
เผย คะแนน GAT PAT ดิ่งลงเหว” เราจะเห็นข้อความนี้ได้จากหนังสือพิมพ์และสื่อต่างๆซึ่งแสดงให้เห็นว่าข้อสอบระดับชาติอย่าง
GAT PAT
ของนักเรียนมัธยมปลายนั้นไม่เป็นที่น่าพอใจ ทำให้นักเรียนมัธยมปลายอย่างเราๆกลัวการสอบ GAT PAT
และมองว่าการสอบนั้นเป็นเรื่องที่ยากมาก แต่เราจะทำอย่างไรให้ข้อสอบ GAT PAT
ที่ว่ายากนั้นกลายเป็นแค่เรื่องจิ๋วๆสำหรับเราได้ละ เนื้อหาต่อไปนี้คงตอบคำถามของทุกคนได้อย่างดี
1.มารู้จัก GAT PAT
กันเถอะ
ก่อนที่จะมีการสอบ GAT PAT
นั้น
เด็กมัธยมปลายคงจะคุ้นเคยกับคำว่า “เอนทรานซ์” ซึ่งผมต้องบอกว่าเอนทรานซ์เป็นข้อสอบแห่งชีวิต
เป็นข้อสอบที่กำหนดอนาคต
ที่พูดเช่นนี้เพระเป็นการสอบ 10 วิชาเพียงครั้งเดียว
ซึ่งแต่ละวิชานั้นมีคะแนนเต็ม 100 คะแนน
และจะนำคะแนนทั้งหมดมารวมกันและยื่นเข้าสู่มหาวิทยาลัย การสอบครั้งเดียวนั้นทำให้เกิดปัญหามากมายเช่น
ข้อสอบปรนัยที่ทำให้เด็กมีโอกาสได้คะแนนสูง
ทำให้ข้อสอบนี้ไม่ได้วัดความรู้ที่แท้จริงของนักเรียน ปัญหาต่างๆถูกแก้ไขโดยตลอดจนต่อมา มีการเพิ่มการสอบเป็น 2 รอบ คือ
เดือนตุลาคม และเดือนมีนาคม
เมื่อมีการใช้คะแนนเฉลี่ยมาเกี่ยวข้อง จึงเกิดความเท่าเทียมกันเช่น
บางโรงเรียนอาจไม่มีการกดเกรดให้ต่ำลง
จึงทำให้เกิดความไม่โปร่งใส
สุดท้ายแล้วก็ได้มีองค์กรอิสระที่ชื่อว่า สทส. หรือสถาบันทดสอบทางการศึกษา ในพศ.2549
ขึ้น
เมื่อหน่วยงานนี้เกิดขึ้นทำให้การสอบต่างๆเปลี่ยนไปอย่างมาก
คือเปลี่ยนการสอบเอนทรานซ์เป็นข้อสอบแอดมิชชั่น
และเปลี่ยนชื่อการสอบเอนทรานซ์ไปเป็นชื่อ A-Net และหลังจากนั้นก็ได้เปลี่ยนชื่ออีกครั้งหนึ่งเป็น
GAT PAT
เปลี่ยนไปมาจนกลายเป็นข้อสอบ
A-Net แล้วนั้นไม่กี่ปีถูกเปลี่ยนเป็นระบบใหม่ที่ชื่อว่าGAT PAT
ในปีพศ.2553ทำให้เกิดข้อสอบ
GAT PAT เป็นครั้งแรก
หลังจากมีการเปลี่ยนระบบการสอบระดับชาติเป็นชื่อ
GAT PAT
อย่างต็มตัวแล้วนั้น
ในระยะแรกการสอบ GAT PAT
นั้นมีถึง3ครั้งด้วยกัน คือเดือนกรกฎาคม ตุลาคม และเดือนมีนาคม แต่เนื่องจากการออกข้อสอบมากเกินไป ต่อมาจึงลดการสอบเหลือแค่ 2ครั้ง และเหตุผลที่ว่าทำไมต้องมีการสอบ2 อย่างคือ GAT และ PAT
ก็คือข้อสอบต้องการวัดผล 2 อย่าง คือ GAT วัดความถนัดทั่วไป
ซึ่งทุกคนจำเป็นต้องสอบ และ PAT คือข้อสอบที่วัดความถนัดเฉพาะทาง
ซึ่งนักเรียนจะเลือกสอบกี่ PAT ก็ได้จากจำนวนทั้งหมด
6 PAT
2.การเตรียมตัวสอบ GAT PAT
วิธีการเตรียมตัวสอบ GAT PAT
นั้นเป็นสิ่งที่สำคัญมาก
เพราะถ้าเรามีความพร้อมมากเท่าไหร่
เส้นทางในการเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัยก็มีมากขึ้นเท่านั้น เราจึงควรมีวิธีการเตรียมตัวง่ายๆด้วยตนเองดังนี้
1.เตรียมตัวตั้งแต่เนิ่นๆ ควรกำหนดการอ่านหนังสือ กำหนดวิชาที่สอบในทุกๆวัน
ซึ่งเราตองมีวินัยในการอ่านหนังสือด้วย
ไม่ใช่ทำตอนที่จำเป็น
2.ทำความเข้าใจต่อข้อสอบ แนวข้อสอบ
ระดับความยากง่าย
ทำข้อสอบให้ได้หลายๆแนว
หาความรู้ให้กว้างขึ้น
ทำความคุ้นเคยกับข้อสอบ
เพราะจะลดความตื่นต้นและความประหม่าได้มาก
เมื่อไปอยู่ในห้อสอบจะได้ทำข้อสอบได้เป็นธรรมชาติ
3.เปลี่ยนจากการทำข้อสอบเรื่อยๆแล้วใช้เวลาเข้ามาในการทำข้อสอบเพื่อจะได้ไม่มีความกังวลในเรื่องของเวลา และจะได้วางแผนการทำข้อสอบได้ถูกต้อง
4.ติดตามข่าวการติวฟรี เช่น มาม่า
เปปทีน จัดขึ้นเพราะเราจะได้เทคนิคเล็กน้อยๆ
ที่เรามักจะมองข้ามไป
และการติวฟรีประเภทนี้จะเกิดขึ้นทุกปี ทำให้มีความคุ้นเคยในข้อสอบแต่ละปี
5.การหาข้อสอบในปีที่ผ่านมามาทำ เพื่อให้รู้ถึงความยากง่าย
และข้อสอบซ้ำๆที่นำมาออกข้อสอบอีกครั้งหนึ่ง
3.เทคนิคการทำข้อสอบ GAT PAT
1.เทคนิคการทำข้อสอบ
GAT
1.ควรใช้ปากกาเน้นข้อความ เน้นข้อความสำคัญ ซึ่งทำให้เราหาความสัมพันธ์ และเชื่อมโยงในแต่ละประโยคให้ง่ายขึ้น
2.ห้ามคิดนอกกรอบ
เพราะอาจจะทำให้คิดออกไปจากสิ่งที่โจทย์ต้องการได้
3.เราสามารถฝนคำตอบสลับตำแหน่งได้โดยไม่ต้องเรียงตามอักษร
4.หากข้อสอบมี3คำตอบ
แต่ถ้าเลือกและตอบถูก 2 คำตอบ ผิด 1 คำตอบ เราตอบถูก 2 ข้อ ได้ 6คะแนน ต่อให้ผิด 1
ข้อก็ยังโดนหัก 3 คะแนน และเหลือเพียง 3 คะแนนเท่านั้น
ดั้งนั้นเราควรไตร่ตรองให้ดี
และฝึกเชื่อมโยงข้องความต่างๆตามแนวข้อสอบ GAT
5.หากทำข้อสอบไม่ทัน เราควรตอบคำตอบลงไปดีกว่าเสีย 3 คะแนนเปล่าๆ
2.เทคนิคการทำข้อสอบ
PAT
2.1เทคนิคการทำข้อสอบ PAT1
1.ข้อสอบที่เน้นนิยาม
เช่น เซต,ตรรกศาสตร์,สถิติ และการกำหนดเชิงเส้น ข้อสอบประเภทนี้ต้องเน้นการทำเรื่องนิยามให้แม่น
และการฝึกการทำโจทย์ย่อยๆ
ข้อสอบมักออกซ้ำๆ เราจึงควรเก็บคะแนนในส่วนนี้ให้มากที่สุด
2.ข้อสอสบที่เน้นการทำโจทย์
เช่น จำนวนจริง,ความน่าจะเป็น,เอกโพเนนเชียล แลพลอกกาลิทึม
ถ้าเจอข้อสอบแบบนี้ต้องเน้นประสบการณ์การทำโจทย์ ถ้าฝึกการทำโจทย์มาพอสมควร
เราก็จะจับหลักในการทำได้เพราะข้อสอบมีหลายแนวทาง
และหลายรูปแบบ
3.ข้อสอบที่เน้นการคิด
เช่นลำดับอนุกรม เช่นลำดับอนุกรม,ตรีโกณมิติ และจำนวนเชิงซ้อน
ข้อสอบแบบนี้จะเป็นข้อสอบที่เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ มีความยากและต้องอาศัยประสบการณ์เป็นอย่างมาก
ข้อสอบ
PAT1 นั้นมีทั้งหมด 50 ข้อ ใช้เวลา 3 ชั่วโมงในการทำ
ซึ่งถือว่าน้อยมากเราจึงต้องทำข้อสอบที่เราทำได้ก่อน และเราควรอ่านคำชี้แจงทุกครั้ง เพราะอาจมีรายละเอียดเล็กๆน้อยๆที่เราต้องปฏิบัติ
2.2เทคนิคการทำข้อสอบ
PAT2
1.โลก
อวกาศ และดาราศาสตร์ ข้อสอบประเภทนี้เป็นข้อสอบที่ง่ายที่สุดในบรรดาข้อสอบทั้งหมด
เพราะข้อสอบออกเพียงเนื้อหาพื้นฐาน ประกอบด้วยเนื้อหาที่แคบ
จึงควรทำข้อสอบนี้เป็นอันดับหนึ่ง
2.ชีววิทยา
เป็นข้อสอบที่อาศัยการวิเคราะห์ และการจำ
จ้าเราจำได้เราก็สามรถที่จะทำได้โดยไม่ต้องอาศัยการคำนวณหรือการคิด
3.ฟิสิกส์
เป็นข้อสอบที่ใช้ในการวิเคราะห์
และคำนวณเป็นอย่างมาก
เราต้องทำในส่วนที่เราทำได้ก่อนเพราะบางข้อต้องใช้เวลาในการคิดนาน
และต้องนำหลายๆจุดมาพิจารณา
4.เคมี เป็นข้อสอบที่ยากที่สุด
เราจึงควรทำในลำดับสุดท้าย ที่บอกว่ายากที่สุดเพราะวิชาเคมีเป็นวิชาที่รวบรวมการวิเคราะห์ไว้คู่กับการคำนวณ
อีกทั้งต้องอาศัยเวลาในการทำมาก เหมือนจะนำชีววิทยามารวมกับฟิสิกส์เลยที่เดียว
GAT PAT
เป็นการสอบที่สำคัญซึ่งมันหมายถึงชีวิตของเรา
และต้องบอกว่า GAT PAT
จะเป็นเรื่องที่ง่ายสำหรับเราหากเรามีการเตรีบยมตัวที่ดีและมีวิธีการที่ถูกต้อง
สิ่งเหล่านี้จะทำให้เราก้าวล้ำหน้ากว่าคนอื่น
อย่าคิดว่าวันนี้มันเร็วไปสำหรับการเตรียมตัวสอบ GAT PAT
เพราะถ้าเราไม่เตรียมตัววันนี้แล้วเราจะไปสู่ความสำเร็จของเราได้อย่างไร เพียงแค่เราต้องตั้งใจและเห็นความสำคัญสักนิด GAT PAT
ที่ทุกคนว่ายากก็จะกลายเป็นเรื่องจิ๋วๆได้
ผู้จัดทำ
นายอาคม นพกร เลขที่ 8
นายอาคม นพกร เลขที่ 8
อาจารย์อู๋. (2556)
พิชิต GAT ฉบับแพนด้า. พิมพ์ครั้งที่3. อุบลราชธานี :
ภาราดาบุ๊ค.
อาจารย์อู๋. (2556)
GAT มหาสนุก. พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพมหานคร :
ภารดาบุ๊ค
อาจารย์อู๋. (2556)
รู้ทัน GAT PAT. พิมพ์ครั้งที่2. อุบลราชธานี :
ภาราดาบุ๊ค
ดร.กิตติ์ จิรติกุล.
(2555) เก็งข้อสอบ GAT อังกฤษ. พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพมหานคร
: บุ๊คเฟิส์ท
อ.ป้อม. GAT
PAT สำคัญไฉน.
ออนไลน์ เข้าถึงได้จาก : http:www.krupom.sbp.ac.th.(24/ตค.
56)
อ.พิสนท์. การเตรียมตัวสอบ GAT PAT. ออนไลน์ .เข้าถึงได้ จาก : http:www.enn.co.th.(24/ตค./56)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น