ศูนย์วิวัฒน์พลเมือง
 
                “ …คนเราเมื่อขาดที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจแล้ว จะเกิดความว้าวุ่น พอมีความทุกข์จะหันหน้าเข้าคว้าเอาสิ่งที่เป็นอันตรายต่อชีวิตของตน เพื่อให้ลืมเรื่องเฉพาะหน้าชั่วคราว เช่น ยาเสพติด เพราะยาเสพติดทำให้คนมึนเมา ขาดสติสัมปชัญญะ มักประพฤติแต่ความชั่วเปรียบเสมือนปลาติดเบ็ดยากนักที่จะหลุดพ้นไปได้… ”
ความตอนหนึ่งในพระราชดำรัส
ในพิธีเปิดโครงการวันแม่ เสพยาเสพติดยาบ้าก็โง่
ณ หอประชุมโรงเรียนเซนต์คาเบรียล
วันที่ 4 ตุลาคม 2515


สถิติของผู้ติดยาเสพติด   
ปัญหายาเสพติด เป็นปัญหาใหญ่ของสังคมไทยในปัจจุบัน บรรดาผู้ติดยาเสพติดเหล่านั้นการเสพสารครั้งแรกอาจมีสาเหตุหลายอย่าง เช่น เพื่อนชักชวน การอยากลอง อยากมีประสบการณ์แปลก ๆ รักสนุก คิดว่าทำแล้วเท่หรืออาจะเกิดเพราะปัญหาครอบครัว เป็นต้น เมื่อตกอยู่ภายใต้อำนาจของยาเสพติดเหล่านี้ผู้เสพจะมีความรู้สึกเคลิบเคลิ้มเหมือนว่าอยู่อีกโลกหนึ่งที่แตกต่างจากโลกแห่งความจริง สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงแค่ความรู้สึกชั่วคราวที่เกิดจากฤทธิ์ของยาเสพติด ซึ่งจะหายไปเมื่อยาหมดฤทธิ์ ดังนั้นในขณะที่ใช้ยาจึงมักขาดสติ เหตุผลและความยั้งคิดและอาจก่อเรื่องดังที่มีข่าวอาชญากรรมที่เกิดขึ้นรายวัน ผู้ที่ติดยาเสพติดจึงเปรียบเหมือนระเบิด คือจะระเบิดออกมาเมื่อไหร่ก็ได้ เมื่อระเบิดแล้วก็ก่อปัญหาทั้งต่อตัวเองและสังคม
การใช้ยาเสพติดส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรมและสังคมต่างประเทศ โดยเฉพาะในกรณียาอีและยาเค ดังนั้นครอบครัวจังเป็นปัจจัยสำคัญที่จะปลูกฝังภูมิคุ้มกันยาเสพติดให้แก่เยาวชนของชาติ หมั่นสอดส่องดูแลให้ความเข้าใจและความอบอุ่นแก่บุตรหลานของท่านภายใต้กฎหมาย
จากสถานการณ์ในปัจจุบันพบว่ามีการแพร่ระบาดของยาเสพติดอย่างกว้างขวางและรุนแรงมากขึ้นก่อความสูญเสียกับประเทศชาติหลายด้านด้วยกันทั้งด้านกำลังคน ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคมและด้านการเมืองการปกครอง จากการประเมินสถานการณ์การแพร่ระบาดของยาเสพติดพบว่ายาเสพติดที่มีการแพร่ระบาดย่างมากในประเทศไทย ได้แก่ เฮโรอีนและยาบ้า (แอมเฟตามิน) พื้นที่ที่มีปัญหาเฮโรอีนรุนแรง ได้แก่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ ส่วนการแพร่ระบาดของยาบ้ามีมากในภาคกลาง โดยเฉพาะในกลุ่ม

นักเรียน นักศึกษาและจากการรวบรวมสถิติของสำนักงาน ป... พบว่า พ.. 2533 มีนักเรียน นักศึกษา สมัครใจเข้ารับการบำบัดรักษาจำนวน 447 คน และมีจำนวนมากขึ้นทุกปี จนในปี พ.. 2540 พบว่ามีจำนวนถึง 6,542 คนและจากการสำรวจเพื่อประมาณการจำนวนนักเรียน นักศึกษาที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดตั้งแต่ระดับประถมศึกษาปี่ที่ 5 – ปริญญาตรี ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงมะหาดไทยในปี 2542 โดยสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ พบว่าจากนักเรียน นักศึกษาจำนวน 5,365,942 คนทั่วประเทศมีนักเรียน นักศึกษาที่เกี่ยวกับยาเสพติดถึง 633,290 คนหรือคิดเป็นร้อยละ 12.4


 ที่มาของศูนย์พลเมือง (บังคับบำบัด) พล.. 5
                รัฐบาลได้กำหนดแนวทางการเอาชนะยาเสพติดด้วยการตัดวงจรปัญหา 3 วงจร ได้แก่ ควบคุมตัวยาเสพติด แก้ปัญหาผู้ติดยาเสพติดและป้องกันการติดยาเสพติด โดยในส่วนของทางการแก้ปัญหาผู้ติดยาเสพติดได้ตัดวงจรผู้เสพออกจากผู้ค้าด้วยการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.. 2545 โดยสาระสำคัญ คือ ทำลายโครงสร้างของปัญหายาเสพติดโดยการแยกผู้ติดยาเสพติดออกมาบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพทั้งโดยระบบสมัครใจและระบบบังคับบำบัด ตลอดจนให้มีการติดตามช่วยเหลือและให้กำลังใจแก่ผู้ที่ผ่านการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพเพื่อกลับคืนสู่ครอบครัว ชุมชนและสามารถดำรงชีวิตได้อย่าปกติสุขควบคู่ไปกับการพัฒนาศักยภาพ โดยการใช้ทรัพยากรของหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งของราชการและเอกชน เพื่อให้ผู้เสพยาเสพติดมีโอกาสได้รับการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพและคุณภาพอย่างทั่วถึง รวมทั้งกำหนดให้ทุกหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน ยึดถือว่าการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดเป็นภารกิจเร่งด่วนและเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบที่จะต้องร่วมกันแก้ปัญหาให้สำเร็จผล


ลักษณะการติดยา
                มีอยู่  2 ลักษณะ ดังนี้
1.                                      การติดโดยร่างกาย หมายถึง สภาวะที่ร่างกายทำหน้าที่ภายใต้อิทธิพลของยาจนเคยชิน เมื่อหยุดใช้ยาร่างกายจะทำหน้าที่ดังเดิมไม่ได้และเกิดอาการขาดยา หรือลงแดง (Withdrawal symptoms) รุนแรง ซึ่งมักเป็นอาการตรงข้ามกับผลของยาและเมื่อได้รับยาเดิมอาการก็จะหายไป
2.             การติดโดยจิตใจ หมายถึง ผู้ใช้พึงพอใจกับผลและความรู้สึกที่เกิดจากยา เมื่อหยุดใช้ยามักไม่เกิดอาการขาดยา หรืออาการไม่รุนแรงแต่จะมีความรู้สึกอยากและพยายามแสวงหา
ยาบ้าทำให้ติดยาได้ทั้งร่างกายและจิตใจ โดยอาการขาดยาบ้า ได้แก่ อ่อนเพลีย หมดเรี่ยวแรง หิวจัด นอนหลับลึกและยาวนานตั้งแต่ 24 – 48 ชั่วโมง ซึมเศร้า หดหู่ วิตกกังวล อาการทางจิตประสาท อย่างไรก็ตามอาการเหล่านี้ไม่ใช่ข้ออ้างสำหรับการใช้ยาบ้าต่อไป เพราะการเลิกยาบ้าเป็นวิธีแก้ปัญหาที่ถาวรและดีกว่ามาก เมื่อเลิกยาบ้าได้สุขภาพร่างและจิตใจจะดีขึ้น สามารถแสวงหาความสุขอื่นได้อีก
ส่วนยาอีมีคุณสมบัติส่วนใหญ่เหมือนยาบ้า จึงทำให้เกิดการติดยาได้และมีลักษณะของการติดยาคล้ายกับยาบ้าแต่การติดยาอียังไม่แพร่หลายเหมือนยาบ้า ยังจำกัดในวงสังคมขั้นสูง เนื่องจากหาซื้อยากและราคาแพงมาก เนื่องจากการใช้ยาเค ส่วนใหญ่มักใช้เป็นครั้งคราว ดังนั้นข้อมูลเกี่ยวกับการติดยาเคยังมีจำกัดแต่ยานี้มีคุณสมบัติพื้นฐานคล้ายยาเสพติด โดยทั่วไปจึงคาดว่าทำให้เกิดการติดยาได้


เป้าหมายของศูนย์วิวัฒน์พลเมือง
1.             ผู้ผ่านการฟื้นฟูฯ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดอีก
2.              ผู้ผ่านการฟื้นฟูฯ มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มีระเบียบวินัยดี มีทักษะในการแก้ไขปัญหามากยิ่งขึ้น เป็นที่ยอมรับและอยู่ร่วมในสังคมได้เป็นอย่างดี
3.             ผู้ผ่านการฟื้นฟูฯ มีทักษะด้านวิชาชีพ สามารถนำไปประกอบอาชีพได้


วิสัยทัศน์ศูนย์วิวัฒน์พลเมือง
ศูนย์วิวัฒน์พลเมืองเป็นศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดระบบบังคับบำบัด โดยวิธีการควบคุมตัวแบบไม่เข้มงวดที่มุ่งเน้นการพัฒนากระบวนการบำบัดฟื้นฟูให้ผู้ผ่านการบำบัดฟื้นฟูคืนสู่การเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพของสังคม เลิกยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด มีสมรรถภาพร่างกายที่แข็งแรง มีระเบียบวินัยและทักษะวิชาชีพ สามารถอยู่ร่วมกับสังคมได้เป็นอย่างดี



การดำเนินงาน
                พล..5 (กองพลทหารราบที่ 5) จัดตั้ง กอ. ศูนย์วิวัฒน์พลเมือง (บังคับบำบัด) พล..5 เป็นสถานที่เพื่อทำการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดโดยวิธีการควบคุมอย่าเข้มงวดและกองบังคับการศูนย์ฯ (บก.ศูนย์) มีหน้าที่ควบคุมอำนวยการติดต่อประสานงานและกำกับดูแล กำบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด (ผู้ป่วย) ที่ผ่านการพิจารณาของอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ตอกยาเสพติดประจำเขตพื้นที่ตามที่กรมคุมประพฤติกำหนดเป้าหมายมาเข้ารับการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาในลักษณะระบบบังคับบำบัด (แบบไม่เข้มงวด) โดยในแผนปีงบประมาร 2555 กอ.ศูนย์ฯ จะดำเนินการรับผู้ติดยาเสพติดที่ถูกจับกุมและศาลพิจารณาตัดสินให้เป็นผู้ป่วยเข้ามาบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ ทั้งนี้เนื่องจากหน่วยทหารเป็นหน่วยงานที่มีความพร้อมมากที่สุด โดยให้จัดตั้งเป็นศูนย์บำบัดฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด โดยใช้ชื่อว่า ศูนย์วิวัฒน์พลเมือง กองพลทหารราบที่ 5 (บังคับบำบัด) ค่ายเทพสตรีศรีสุนทร อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช จึงให้ดำเนินการ ดังนี้
1.             การจัดหน่วยและสายการบังคับบัญชา
1.1 พัน.สร.5 จัดตั้งแผนกบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด (ผู้ป่วย) ในขั้นต้น
                           1.2 .พัน.15 จัดตั้งแผนกฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด มีหน้าที่ฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายและจิตใจให้กับผู้ติดยาเสพติด (ผู้ป่วย) เลิกการเสพยาโดยเด็ดขาด เพื่อส่งคืนคนดีกลับสู้ชุมชนและสังคม
                2.    อัตราการจัดกำลังพล
                3.    ตารางการฝึกอบรมฯ
                4.    รายชื่อผู้เข้ารับการบำบัด/ฟื้นฟูฯ
                5.    ห้วงเวลาการดำเนินการในแต่ละรุ่นใช้เวลาตามปกติ จำนวน 120 วัน
                6.    ขั้นตอนการดำเนินงาน
                                6.1 ขั้นการบำบัดรักษา (พัน.สร.5) ดำเนินการบำบัดรักษาอาการติดยาผู้เสะยาเสพติด(ผู้ป่วย) ในขั้นต้นใช้ระยะเวลา 30 วัน
                                6.2 ขั้นฟื้นฟูสมรรถภาพ (ป.พัน.15) หลังจากได้รับการบำบัดแล้วจะต้องเข้ารับการฟื้นฟูสภาพทางร่างกายและจิตใจ เพื่อทำให้ผู้ติดยาเสพติด (ผู้ป่วย) เลิกเสพยาเสพติดอย่าเด็ดขาดใช้ระยะเวลา 90 วัน



แนวทางในการปฏิบัติ
1.                 บำบัดรักษาผู้ติดยา (ผู้ป่วย) จนไม่มีอาการติดยา
2.                 ปัญหาผู้ติดยาเสพติดในพื้นที่เป้าหมายลดลงและหมดไปในที่สุด
3.             สภาพครอบครัว ชุมชนและสังคมในพื้นที่เป้าหมายมีความเข้มแข็ง มีความรักความสามัคคีอยู่ร่วมกันได้อย่างปกติสุข


กรอบแนวทางหลัก
                ยึดถือแนวทางตามคู่มือการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาในระบบบังคับรูปแบบ FAST MODEL โดยมีโครงการหลักสูตร คือ
 A : กิจกรมทางเลือก
 F : ครอบครัว
 




 FAST MODEL           

               
 S : การช่วยเหลือ
T : ชุมชนบำบัด
 




วิชาและกระบวนการในการบำบัด
-                   วิชาทหารเบื้องต้น
เพื่อให้นักเรียนมีระเบียบวินัย มีความอดทนอดกลั้น ความเสียสละและความสามัคคีในหมู่คณะ
-                   วิชาอุดมการณ์ประชาธิปไตย
เพื่อให้นักเรียนมีความรู้เรื่องการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข การบริหารงานแผ่นดิน ตลอดจนการศึกษาประวัติศาสตร์ชาติไทย เพื่อปลูกฝังอุดมการณ์ความรักชาติและหวงแหนแผ่นดินและโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่เป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต เช่น ทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง
-                   กระบวนการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน (Self-Help)
การบวนการช่วยเหลือซึ่งกันและกันให้ผู้ป่วยเรียนรู้และบำบัดรักษาทางกาย จิต สังคม สามารถมีพลังรักษาอย่างเข้มแข็ง โดยปรับสภาพทั้งพฤติกรรม เจตคติความรู้สึกและการสร้างสัมพันธภาพจนสามารถอยู่ได้อย่าปกติสุขและปลอดยาเสพติด
-                   กระบวนการชุมชนบำบัด (Therapeutic Community)
กระบวนการชุมชนบำบัดเป็นอชรูปแบบหนึ่งของการบำบัดรักษาที่สำคัญในขั้นฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดที่ให้สมาชิกฝึกการพัฒนาตนเอง โดยการมาอยู่ร่วมกันเหมือนเป็นครอบครัวขนาดใหญ่ที่สร้างขึ้นมาใหม่ เพื่อให้สมาชิกสามารถเปลี่ยนแปลงและพัฒนาตนเอง ทั้งสภาพร่างกายและจิตใจสามารถกลับไปดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข
-                   กระบวนการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดแบบเข้มข้นทางสายใหม่ (FAST MODEL)
·       กิจกรรมการมีส่วนร่วมของครอบครัว ครอบครัวมีส่วนร่วมตั้งแต่เริ่มการบำบัดรักษาและรับผิดชอบดูแลควบคู่ไปกับการอยู่ในครอบครัว สังคม ชุมชนตามสภาพที่เป็นอยู่จริงประกอบด้วย
1.                                      Family Education เป็นวิธีการจัดกิจกรรมมีส่วนร่วมของครอบครัว โดยการปูพื้นฐานความรู้ที่ครอบครัวต้องทราบเจตคติความเข้าใจเกี่ยวกับการทำหน้าที่ของครอบครัว สามารถเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดและทักษะในด้านการป้องกันและบำบัดรักษายาเสพติดระดับครอบครัวได้
2.                                      Family Counseling เป็นวิธีการให้คำปรึกษา โดยการนำครอบครัวมาเข้าร่วมกลุ่มกัน เพื่อให้ครอบครัวได้ระบายความรู้สึก และเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ร่วมกัน ช่วยเหลือและสนับสนุนซึ่งกันและกัน เพื่อให้สมาชิกหรือผู้ติดยาเสพติดกลับสู้สังคมได้อย่างเหมาะสม
3.                                     Family Therapy เป็นวิธีการบำบัดที่รวมเอาบุคคลที่มีความสัมพันธ์ ความผูกพันในฐานะเป็นครอบครัวมาร่วมด้วย เพื่อขจัดความขัดแย้งในครอบครัว ช่วยให้ครอบครัวมีพลังต่อการแก้ปัญหาและทำให้ครอบครัวมีความสัมพันธ์ที่ดีขึ้น
·               การใช้กิจกรรมทางเลือก (Alternative Treatment) ในการบำบัดฟื้นฟูที่เหมาะสมกับผู้ป่วยตามสภาพความเป็นจริงของผู้ป่วย เพื่อแสดงออกซึ่งสิ่งที่ตนเองสนใจในด้านต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์และพัฒนาศักยภาพของตนเองได้อย่างเต็มความสามารถ เพื่อเป็นการปลูกฝังเยาวชนให้มีความรัก ความผูกพัน มีส่วนร่วมรับผิดชอบและทำประโยชน์ให้แก่โรงเรียน ชุมชน สังคมและประเทศชาติ
-                   วิชาสุขภาพอนามัย
เพื่อให้นักเรียนได้มีความรู้ถึงวิธีป้องกันโรคติดต่อ การปฐมพยาบาลเบื้องต้น ตลอดจนการตรวจสุขภาพพลานามัย รวมทั้งการรณรงค์ป้องกันเชื้อไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ การจัดการแข่งขันกีฬาภายในเสริมสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ
-                   วิชาศีลธรรมและจริยธรรม
เพื่อให้นักเรียนได้สวดมนต์ฝึกจิตให้สงบด้วยการปฏิบัติธรรมและนั่งสมาธิ เรียนรู้การดำเนินชีวิตด้วยหลักพุทธศาสนาและร่วมกิจกรรมในวันสำคัญทางพุทธศาสนา ร่วมกิจกรรมแสดงตนเป็นพุทธมามกะ รวมทั้งกิจกรรมวันสงกรานต์ เพื่อสืบทอดประเพณีที่ดีงามของประเทศ
-                   ฝึกวิชาชีพ
ทำการฝึกวิชาชีพต่าง ๆ สำหรับนำความรู้ที่ได้รับไปประกอบอาชีพและสร้างรายได้ ภายหลังจากการพันธนาการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดแล้ว
·       โต๊ะปูกระเบื้อง
·       รากไม้ประดิษฐ์
·       ชาใบหม่อน
·       เกษตรกรรม
·       หัตถศิลป์
·       พวงกุญแจกิ่งมะขาม
·       กรอบรูปวิทยาศาสตร์
·       เลี้ยงปลาในบ่อพลาสติก


ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.             ผู้ติดยาเสพติดในพื้นที่เป้าหมายจะได้รับการบำบัดรักษาจนไม่มีอาการติดยาและฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายและจิตใจให้เลิกเสพยาเสพติดอย่างเด็ดขาด เพิ่มจำนวนมากยิ่งขึ้น
2.            ผู้ติดยาเสพติดสามารถดำเนินชีวิตในชุมชนและสังคมได้อย่างมั่นใจและปกติสุข โดยไม่กลับไปใช้ยาเสพติดอีก
3.          ปัญหาผู้ติดยาเสพติดในพื้นที่เป้าหมายลดลงและหมดไปในที่สุด
4.             สภาพครอบครัว ชุมชนและสังคมในพื้นที่เป้าหมายถึงความเข้มแข็ง มีความรักสามัคคีอยู่ร่วมกันได้อย่างปกติสุข


ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาใหญ่ในประเทศไทยหรือแม้แต่ระดับโลก โดยปัจจัยในการเริ่มทดลองเสพนั้นมาจากครอบครัว เพราะในบางครอบครัวนั้นไม่มีความรัก ความเข้าใจ มีแต่ความรุนแรงของพ่อแม่ ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ไม่ดี ดังนั้นการบำบัดยาเสพติดของผู้เสพนั้นควรมาจากจุดเล็ก ๆ คือครอบครัวที่มีการอบรมสั่งสอนที่ดี เพื่อไม่ให้เกิดการเริ่มเสพและควรให้ความรัก ความเข้าใจซึ่งกันและกัน เพื่อครอบครัวที่อบอุ่นและสังคมที่ขาวสะอาด

นางสาวธัญวรัตน์  จิตบุญ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

About this blog

Research & Knowledge Formation

Blog Archive