จักรยานกับสุขภาพ



                “ชีวิตเปรียบดั่งการขี่จักรยาน  หากไม่อยากล้ม  ก็ต้องปั่นต่อไปไม่ให้หยุด”  ปรัชญาอันคมคายและลุ่มลึกของ  อัลเบิร์ต  ไอน์สไตน์  ผู้ปฏิวัติวงการฟิสิกส์ที่คิดค้นทฤษฎีสัมพันธภาพ  อันสะท้อนให้เห็นแง่มุมในการใช้ชีวิตผ่านการปั่นจักรยาน  บ้านเมืองเราทุกวันนี้  หากมองลงไปในท้องถนน   ตรอก  ซอย  ก็ต้องยอมรับว่ามีจำนวนจักรยานลงไปวิ่งอยู่บนความเสี่ยงของการจราจรอันไร้วินัย  ในจำนวนมาก  มีทั้ง  จักรยานคนจน  ที่เร่ขายลอตเตอรี่  และจักรยานคนรวยที่ราคาคันละเกือบแสน  ลงมาขวักไขว่อยู่บนท้องถนนเต็มไปหมด  และในปัจจุบันทางเลือกหรือทัศนะของคนที่ชอบออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่กำลังเป็นที่นิยมสำหรับคนในทุกเพศทุกวัย   ก็คือจักรยาน  จักรยานนอกจากจะเป็นอุปกรณ์ที่คนใช้ทำมาหากิน  ใช้เป็นยานพาหนะสำหรับเดินทางแล้ว  จักรยานยังเป็นอุปกรณ์ช่วยประหยัด  และช่วยลดภาวะโลกร้อนได้อีกด้วย  ดังนั้นในปัจจุบันนี้ทางโรงงานและผู้ประกอบการต่างๆ  ที่ทำหน้าที่ผลิตจักรยานมาเพื่อนสนองความต้องการของผู้คน  จึงได้คิด  สร้าง  และออกแบบ  จักรยานออกมาต่างๆ  นานา  ทั้งสี  ลักษณะ และราคา  ที่แตกต่างกันออกไป  เพื่อสนองความต้องการของมนุษย์ที่มีอยู่อย่างไม่จำกัด


ประวัติของรถจักรยาน
                รถจักรยาน  เป็นพาหนะทางบกที่ขับเคลื่อนไปโดยกำลังของกล้ามเนื้อมนุษย์  รถจักรยานนอกจากจะต้องเบา  ก็จะต้องมีความฝืดที่เกิดขึ้นระหว่าง  ล้อกับพื้นดินน้อยที่สุด  และอาจจะเพิ่มความเร็วให้มากขึ้นได้พอสมควร  จักรยานคันแรกได้สร้างขึ้นในปี  พ..2377  โดย  Kirkpatrick  Mcmillan  แห่งสกอตแลนด์  ได้ดัดแปลงมาจาก  Jeen  Theson  ซึ่งหลักฐานนี้ได้พบในอียิปต์และปอมเปวี  ซึ่งได้เขียนภาพไว้บนผนังปูน  จักรยานได้วิวัฒนาการมาตามลำดับ  จนกระทั่งในปี  พ..2408  Prierre  Michaux  และ  Pierr  Lallement  ได้ประดิษฐ์จักรยานขึ้นใหม่  โดยมีบันไดถีบและมีสายโซ่โยงไปยังเพลาล้อหลัง  ทำให้เวลาเคลื่อนที่จะสะเทือนมาก  จนกระทั่งในปี  พ..2422-2428  ได้มีการดัดแปลงให้มีความปลอดภัยมากขึ้น  ได้ถูกออกแบบใหม่และปรับปรุงให้ดีขึ้นโดย  J.K.  Starley  มีการอัดลมเข้าไปในยางรถเพื่อกันสะเทือน  และใน  พ..2441  มีผู้ออกแบบให้รถมีล้อหน้าและล้อหลัง  จนในที่สุดก็กลายเป็นจักรยานที่มีให้เห็นในปัจจุบัน



ประเภทของจักรยาน
1)             Mountain  Bike  หรือ  จักรยานเสือภูเขา  จักรยานประเภทนี้ถูกออกแบบมาเพื่อใช้งานแบบออฟโรด  เช่น  ใช้ขี่ขึ้นเขา  ขี่ตามทางที่ข้อนข้างวิบาก  หรือถนนลูกรัง  จักรยานประเภทนี้จะถูกออกแบบให้มีความแข็งแรงทนทานมากกว่าจักรยานประเภทอื่นๆ  จักรยานประเภทนี้ประกอบไปด้วยอุปกรณ์  ต่างๆ  มากมาย  เช่น  โช้คหน้า-หลัง,  เกียร์16-28  เกียร์  ส่วนในเรื่องของราคาก็จะมีราคาสูงกว่าจักรยานประเภททั่วไป  โดยราคาเริ่มต้นตั้งแต่หลักพัน  ไปจนถึงหลักแสนซึ่งจะขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ต่างๆ  ที่ใช้ประกอบ  และวัตถุดิบที่นำมาใช้ผลิตมีตั้งแต่เหล็กธรรมดา  ไปจนถึงระดับที่ใช้  คาร์บอนไฟเบอร์  มาเป็นวัตถุดิบในการผลิตจักรยานและชิ้นส่วนต่างๆของจักรยาน  นอกจากนี้จักยานประเภทนี้ยังถือได้ว่าเป็นจักรยานที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในประเทศไทย  เพราะจักรยานประเภทนี้เมื่อผู้ขับได้ใช้ก็ทำให้รู้สึกสนุก  เพราะมันให้ความนุ่มสบาย  ไม่ว่าจะใช้บนถนนราบหรือถนนลูกรังก็ตาม
2)            Hybrid  Bike  หรือ  จักรยานไฮบริดจ์  คือจักรยานที่ออกแบบมาให้เหมาะสมกับการขี่ในเมือง  ซึ่งจะมีลักษณะคล้ายกับจักรยานเสือภูเขาแต่อาจจะมีคนใช้หรือไม่ใช้ก็ได้  แต่ส่วนใหญ่แล้วจะมีการใช้ยางที่เล็กกว่าและดอกยางลึก  เพื่อให้จักรยานทำความเร็วได้บนถนน  แต่ก็ยังสามารถขับขี่ไปบนทางวิบากได้หากเส้นทางไม่ลำบากเกินไป  เพื่อให้รถจักรยานทำความเร็วได้บนถนน  แต่ยังสามารถขับขี่ไปบนทางวิบากได้หากเส้นทางไม่ลำบากเกินไป
3)            Rood  Bike  หรือ  จักรยานประเภทถนน  จักรยานประเภทนี้ถูกออกแบบมาเพื่อขี่บนถนนทั่วไปซึ่งค่อนข้างเรียบ  หรือที่เราเรียกกันว่า  “จักรยานเสือหมอบ”  และจักรยานประเภทนี้ยังมีลักษณะลู่ลมเพื่อลดแรงเสียดทานกับอากาศ  ซึ่งผู้คนจะนิยมนำจักรยานประเภทนี้มาใช้ในการแข่ง
4)            Fix  Gear  หรือ  จักรยานฟิกเกียร์  จักรยานประเภทนี้  มีลักษณะคล้ายกับจักรยานที่ใช้แข่งประเภทลู่    แต่ถูกผลิตและดัดแปลงมาใช้บนถนนทั่วไป  จักรยานประเภทนี้มักจะไม่มีเกียร์  คือจะมีเฟืองหลังเพียงอันเดียว  และจักรยานประเภทนี้ยังเป็นที่นิยมอย่างมากในหมู่วัยรุ่นชาวไทย
5)            จักรยาน  Cyclo  cross  bike  เป็นจักรยานที่ออกแบบมาเพื่อแข่งโดยเฉพาะ  ซึ่งจะมีลักษณะที่คล้ายกับจักรยานเสือหมอบ  แต่ต่างกันที่ยางและเฟรมของรถ
6)             จักรยาน BMX หรือ “Bicycle motocross” เป็นจักรยานที่เด็กๆวัยรุ่นส่วนมากจะรู้จักกันเป็นอย่างดี จักรยาน BMX เป็นจักรยานวิบากที่ใช้ได้ทุกสภาพถนน ตั้งแต่ทางเรียบๆ ไปจนถึงทางวิบากมากๆ มีความแข็งแรง  แข็งแกร่งสุดๆ   ปัจจุบันนิยมใช้เป็นจักรยานสำหรับกีฬาผาดโผนหรือ extreme sport
7)             Utility Bike หรือ  จักรยานทั่วไป  จักรยานประเภทนี้ถูกออกแบบมาเพื่อใช้งานทั่วไป เช่น ไปจ่ายตลาดใช้ขี่ไปทำงาน และใช้งานทั่วไป หรือ ที่เราเรียกว่า จักรยานแม่บ้าน นั่นแหละครับ โดย ส่วนมากจักรยานประเภทนี้จะถูกออกแบบมาให้สามารถ ใช้งานได้ง่ายไม่มีฟังชั่นอะไรมากมาย เพื่อง่ายต่อการบำรุงรักษา บางยี่ห้ออาจจะเพิ่มออฟชั่นเข้าไป เช่น เกียร์ไฟส่องสว่างบังโคลน หน้า และ หลัง โดยทั่วไปแล้ว จักรยานประเภทนี้ราคาจะไม่ค่อยแพงมาก ราคา อาจจะเริ่มตั้งแต่ไม่กี่ร้อยบาทไปจนถึงหลักพัน คนทั่วไปสามารถหาซื้อมาเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน


หลายคนไม่รู้และไม่แน่ใจว่า  เมื่อปั่นจักรยานแล้วจะให้ประโยชน์อะไร  หรือจะปั่นไปเพื่ออะไร  แล้วจะเริ่มปั่นอย่างไรดี  ดังนั้นวันนี้  ทางเราจึงได้นำคำตอบมาให้ท่านผู้อ่านทั้งหลาย  เผื่อว่าท่านผู้อ่านทั้งหลายจะได้ใช้คำแนะนำเหล่านี้ไปใช้ประกอบการตัดสินใจ
    สำหรับผู้ที่คิดอยากจะปั่นจักรยานควรปฏิบัติดังนี้
1)             ปรึกษาแพทย์ก่อนการออกกำลังกาย
2)            ก่อนขี่จักรยานต้องเรียนรู้อุปกรณ์และวิธีการขี่อย่างถูกต้อง  และควรจะทดลองขี่ก่อน
3)            ปรับเบาะ  มือบังคับ  ให้ได้ระดับที่เหมาะสม
4)            เตรียมอุปกรณ์อื่นๆที่เหมาะสมและจำเป็น  เช่น  ผ้าเช็ดเหงื่อ  น้ำดื่ม
5)            ก่อนออกกำลังกาย  ให้อบอุ่นร่างกายโดยการขี่จักรยานโดยไม่มีความฝืดก่อน  5-10  นาที
6)            หากมีอาการหน้ามืด  เวียนศีรษะ  เจ็บหน้าอก  ให้หยุดขี่และบอกคนใกล้ชิด
    ประโยชน์จากการปั่นจักรยาน
1)             ไม่ต้องเสียเงินไปฟิตเนส
2)            ช่วยลดปริมาณก๊าซพิษในอากาศ
3)            หมดปัญหาเรื่องที่จอดรถ
4)            ทำให้ผู้ปั่นมีหัวใจที่แข็งแรง
5)            ทำให้กล้าเนื้อแข็งแรง
6)            สามารถออกกำลังกายได้ตลอดทั้งปี  และทุกสภาพภูมิอากาศ


ปั่นหนีโรคร้าย
                หลายคนในสมัยนี้  นิยมออกกำลังกายด้วยการปั่นจักรยานกันทั่วทุกทิศทุกทาง  แต่ก็ยังมีผู้คนอีกหลายคนเช่นกันที่ยังไม่กล้าที่จะลอง   ซึ่งเหตุผลนั้นอาจจะเป็นเพราะว่าไม่แน่ใจว่าเมื่อปั่นแล้วจะให้ประโยชน์อะไร   หรือบางคนอาจติดอยู่ที่ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไรดี   และต่อจากนี้ไป  ปัญหาต่างๆนานาเหล่านี้จะหมดไป  เพราะเราจะทำให้ผู้อ่านได้รู้จักการปั่นจักรยาน  และเพื่อให้ผู้อ่านได้นำเหตุผล  และประโยชน์จากการปั่นจักรยาน  ไปประกอบการตัดสินใจในการเลือกออกกำลังกายด้วยจักรยาน
    ปั่นเพื่อรีเซตระบบร่างกาย
    มีข้อพิสูจน์แล้วว่า  การปั่นจักรยานสามารถเป็นเครื่องมือรักษาโรคได้  แพทย์จึงมักแนะนำและส่งเสริมให้ผู้ป่วยนำไปปฏิบัติควบคู่กับการรักษาด้วย  เพราะมีความปลอดภัยสูงและช่วยลดผลข้างเคียงจากการรักษาหลายอย่างได้  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด็อกเตอร์เฉลิม  ชัยวัชราภรณ์  ผู้อำนวยการศูนย์ทดสอบ  วิจัย  วัสดุและอุปกรณ์ทางการกีฬา  คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  กล่าวว่า “ การปั่นจักรยานเป็นการออกกำลังกายที่มีความปลอดภัยสำหรับทุกเพศทุกวัย  เพราะตำแหน่งการวางสรีระร่างกายเป็นไปตามแรงโน้มถ่วงของโลก  ร่างกายจึงทรงตัวได้ดี   ลำตัวนิ่งเคลื่อนไหวเฉพาะส่วนขาเท่านั้น   จึงเป็นการออกกำลังกายที่มีประโยชน์และปลอดภัยต่อทั้งเด็ก  ไปจนถึงผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ   ถึงจะเป็นผู้ป่วยแต่ก็สามารถปั่นได้  เพราะไม่ต้องใช้ท่าทางในการเคลื่อนไหวและพละกำลังมากเท่ากับการออกกำลังกายชนิดอื่นๆ”
    เสริมระบบภูมิชีวิต  (Immune  System)
    อาจารย์สาทิส   อินทรกำแหง  กูรูต้นตำหรับชีวจิต  ได้อธิบายเรื่อง  ภูมิชีวิตไว้ว่า  “แรกเริ่มเดิมทีนั้นภูมิชีวิตเป็นที่รู้จักกันในรูปของภูมิต้านทาน  ซึ่งหมายถึงระบบป้องกันทั้งหมดของร่างกาย”งานเป็นระบบ  และทุกระบบต่างก็ทำงานสอดประสานร่วมกัน  แต่เมื่อร่างกายผิดปกติอันเนื่องมาจากได้รับได้รับเชื้อโรค  หรือสิ่งแปลกปลอมที่เป็นท็อกซินเข้ามา  ระบบภายในร่างกายจึงเสียสมดุลและเกิดความแปรปรวนในแนวทางชีวจิต  วิธีที่ทำให้ระบบต่างๆในร่างกายกลับมาทำงานอย่างสมดุลอีกครั้งนั้น  จึงต้องใช้การปฏิบัติตัวตามหลักปัญจกิจที่อาจารย์สาทิสให้ไว้คือ  กิน  นอน  พักผ่อน  ออกกำลังกาย  และทำงานอย่างสมดุล  นอกจากนี้อาจารย์สาทิส  อินทรกำแหง  อธิบายว่า  “การออกกำลังกายจนถึงจุดสูงสุด หมายถึง  เหงื่อออกโซมกาย  หัวใจเต้นแรง  หรือชีพจรเต้นเร็วตั้งแต่  100  ครั้งต่อนาทีขึ้นไป  จะช่วยกระตุ้นโกรธฮอร์โมน  ซึ่งเป็นตัวควบคุมและกระตุ้นภูมิชีวิตให้หลั่งมากได้ยิ่งขึ้น  การออกแรงหรือการออกกำลังกายยังช่วยทำความสะอาดและซ่อมแซมร่างกายให้ดีดังเดิมรวมถึงเป็นวิธีที่สามารถนำท๊อกซินซึ่งเป็นตัวทำลายภูมิชีวิตออกจากร่างกาย  เพราะยิ่งท็อกซินมีมากเท่าไรเท่ากับว่าภูมิชีวิตของเรากำลังถูกทำลายไปมากเท่ากัน  ดังนั้น  การออกกำลังกานจึงทำให้โกรธฮอร์โมนเพิ่มขึ้นและช่วยกำจัดท๊อกซินในร่างกายไปด้วย  ภูมิชีวิตจึงดีขึ้น  การปั่นจักรยานจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่สร้างสมดุลภูมิชีวิตคืนกลับมา


จากปากนักปั่น
    “แลนซ์  อาร์มสตรอง”  สุดยอดนักปั่นทางไกลที่มีชื่อเสียง  ที่สามารถคว้าชัยชนะในการแข่งขันจักรยานทางไกล  ตูร์  เดอ  ฟรองซ์  ได้ถึง  สมัย  แต่สิ่งที่ทำให้ชื่อเสียงของแลนซ์โด่งดังจนเป็นที่กล่าวขานไปทั่วโลก  ก็เพราะการที่เขาสามารถเอาชนะโรคมะเร็ง  และกลับมาประสบความสำเร็จในการแข่งขันจักรยานได้อีกอย่างน่าอัศจรรย์
    “แลนซ์  อาร์มสตรอง”  เริ่มเข้าแข่งขันกีฬาเมื่อเขาอายุได้  16  ปี  เขาจึงได้เป็นนักไตรกีฬามืออาชีพ  เพราะเขาสามารถเอาชนะนักไตรกีฬามีอาชีพรุ่นใหญ่ๆได้ และเขายังมีคะแนนรวมสูงกว่านักกีฬาอาชีพ  คน  และในขณะที่เขาอายุได้  18  และ  19  ปี  เขาได้เป็นนักไตรกีฬาอันดับ  ของสหรัฐอเมริกา  ต่อมาแลนซ์  อาร์มสตรอง  มีความชำนาญและประสบการณ์สูงขึ้น  จึงเปลี่ยนมาเป็นนักกีฬาจักรยาน  เมื่อเขาได้เข้าแข่งขันในกีฬาโอลิมปิก  ครั้งที่  14  ในปี  2535  เขาก็ได้รับรางวัลชนะเลิศและเขายังถือเป็นนักกีฬาที่มีอายุน้อยที่สุด  ในการแข่งขันครั้งนั้นด้วย
    “แลนซ์  อาร์มสตรอง”  เริ่มรู้ตัวว่าเขาเป็นมะเร็ง  เมื่อเขาอายุได้  25  ปี  ตอนนั้นเขากังวลมากและกลัวว่าจะไม่ได้ลงแข่งขันจักรยานอีก  และทั้งๆที่ทุ่มเทเพื่อการซ้อมอย่างหนัก  วันละหลายชั่วโมง  จนจักรยานเป็นเหมือนทุกสิ่งทุกอย่างของเขา  แต่แลนซ์กลับต้องมากลายเป็นคนป่วยอาการของแลนซ์ลุกลามไปจนถึงสมอง  แพทย์จึงแนะนำให้เข้ากลับมา  ปั่นจักรยานอีกครั้งหลังจากผ่าตัด  เพราะการขี่จักยานนั้น  จะช่วยให้ปอดและระบบการไหลเวียนเลือดแข็งแรง  ทำให้ร่างกายต่อสู้กับโรคร้ายได้  และยิ่งกว่านั้นยังทำให้มีการฟื้นฟูพละกำลัง  จนสามารถกลับมาแข็งแรงได้อีกครั้ง
    “แลนซ์  อาร์มสตรอง”   ต้องทนทุกข์ทรมานนอย่างมาก  เพราะเขาต้องรักษาโรคมะเร็ง  โดยการทำคีร์โมบำบัดชนิดแรงมาก  จนแลนซ์แทบจะลุกเดินไม่ไหว  ชีวิตของเขาแย่ลงไปอีกเมื่อต้นสังกัดของเขาขอยกเลิกสัญญา  แต่ทุกอย่างก็กลับมาดีอีกครั้ง  เพียงแต่เขาคิดถึงจักรยานของเขา  และนึกที่จะขี่จักรยานอยู่ตลอดเวลา  เพราะสำหรับเขาแล้วจักรยานนับว่าเป็นความสุขของชีวิตแล้ว  ในอดีต  เขาคิดว่าการขี่จักรยานเป็นสิ่งเดียวที่เขาต้องกาย  เขาขี่มันเราจักรยานทำให้เราไม่รู้สึกว่าป่วยหนักและทำให้เกิดกำลังใจมากยิ่งขึ้น  แลนซ์ยังบอกกับตัวเองเสมอว่าเขายังคงเป็นนักจักรยาน  ไม่ใช่ผู้ป่วยโรคมะเร็ง  แม้โรคมะเร็งจะทำให้เราอ่อนแอก็ตาม  และด้วยความเข้มแข็งและกำลังใจที่ดีเยี่ยมของเขา  ทำให้เราต่อสู้กับโรคร้ายนี้ได้  ในที่สุด


พบปะชาว  BIKE
    เมื่อ  3-4  ปี  ก่อนจะมาปั่นจักรยานเป็นจริงเป็นจัง  เล่นแบดมินตันอาทิตย์ละ  วัน  วันละ  2-3  ชั่วโมง  เป็นหวัดทั้งปี (ภูมิแพ้)  เจอฝุ่นหรืออากาศเย็นทีไรจามทั้งคัดจมูก  น้ำมูกไหลเป็นประจำ  อีกอาการอีกอย่างหนึ่งก็คือ  ปวดหลังเป็นประจำ  แต่หลังจากหันมาปั่นจักรยานเกือบทุกวัน  และยังเล่นแบดมินตัน  อยู่อาทิตย์ละประมาณ  วัน  โรคภัยที่เคยเป็นมาก็ดีขึ้นมาก  โดยเฉพาะภูมิแพ้ไม่กลับไม่เป็นอีกเลย
กระทู้โดย : Apichart
    ทำบายพาสแล้วสิบปี  เป็นโรคหัวใจ  ก็ได้ออกกำลังกายโดย  หลังจากผ่าตัดแพทย์ให้ออกกำลังให้ออกกำลังกายเบาๆแต่ข้ออ้างยอดนิยมก็คือ “ไม่มีเวลา”    แต่ระวังการกิน  เปลี่ยนพฤติกรรมบริโภคอย่างสิ้นเชิงเพื่อชดเชยที่ไม่มีเวลาออกกำลังกาย  จึงทำให้น้ำหนักไม่เพิ่ม  สองปีก่อนประมาณเดือนตุลาคม  2552  ตัดสินใจที่จะออกกำลังกายโดยเริ่มด้วยการขี่จักรยานแถวๆบ้าน  แบบสบายๆ  ไม่ได้เหงื่อ  หลังจากนั้นก็เลยเริ่มเพิ่มระยะทางในการปั่นจักรยาน  รวมระยะทางไปกลับประมาณ  40  กิโลเมตรต่อชั่วโมง  โดยไม่หยุดพัก  ปัจจุบันน้ำหนัก  59  กิโลกรัม
กระทู้โดย :  Somchaitu
    ผมเริ่มออกกำลังกายอย่างจริงจังมาประมาณ  10  ปีได้แล้ว  โดยผมเริ่มออกกำลังกายโดยการออกเดินในตอนเช้ากับเพื่อนๆแถวบ้าน  แต่เมื่อระยะเวลาผ่านไปสักพักหนึ่ง  ผมเริ่มมีอาการปวดเข่า   ซึ่งสาเหตุอย่างหนึ่งมาจากการวิ่งหรือเดินจะทำให้มีแรงกระแทกเกิดขึ้นกับข้อต่อต่างๆ ผมเลยหยุดออกกำลังกายโดยวิธีการวิ่งไป    และได้หันไปใช้จักรยานในการออกกำลังกายแทน  ทำให้อาการปวดเขาหายไป  ส่วนอาการโรคต่างๆของผมก็ค่อยๆดีขึ้นเหมือนกัน 
บทสัมภาษณ์ นายสุชาติ  เลิศไกล
    ดิฉันปวดเป็นโรคประสาทหัวใจค่ะ  โดยจะมีอาการแน่นหน้าอก  และเป็นลมอยู่เป็นประจำจึงทำให้ดิฉันต้องไปพบหมออยู่เป็นประจำ  และในการไปพบหมอแต่ล่ะครั้งดิฉันก็จะได้รับยามารับประทานมากมายไปหมด  จนในกระเป๋าของดิฉันเต็มไปด้วยยาเหมือนประเป๋าของคนแก่อายุประมาณ  70  ปี  ทั้งๆที่ดิฉันอายุแค่เพียง  27  ปี และเมื่อประมาณช่วงเดือนเมษายน  2556  ที่ผ่านมาอาการของดิฉันเริ่มเป็นมากขึ้นเรื่อย  จึงทำให้ดิฉันตัดสินใจที่จะกลับมาอยู่ที่บ้านกับพ่อแม่  ในระยะเวลาที่ฉันมาอยู่ที่บ้านนั้นก็ได้แต่นั่งๆ  นอนๆ  จนร่างกายตอนนั้นมีคนทักว่าโซมมาก  หลังจากนั้นคุณแม่ของดิฉันจึงชวนให้ฉันออกไปออกกำลังกายแบบเบาๆบ้าง   แล้วแม่ก็พาฉันออกไปเดินรอบๆหมู่บ้านทุกตอนเช้า-เย็น  ร่างกายของดิฉันก็เริ่มดีขึ้น  ดิฉันจึงหันไปปั่นจักรยานแทนการเดิน  วิ่งในตอนเช้าและตอนเย็น  ซึ่งการปั่นจักรยานนนี้มันทำให้ดิฉันรู้สึกสบายใจเพราะเราสามารถปั่นไปถึงไหนก็ได้ตามที่เราอยากไป  ทำให้จิตใจของดิฉันสดใสและร่าเริ่งขึ้น  และการปั่นจักรยานยังทำให้ดิฉันมีความรู้สึกเหนื่อยน้อยกว่าการวิ่งอีกด้วย
บทสัมภาษณ์นางสาวพักพจง  สงเคราะห์ 


เจาะลึกโรค
    โรคปวดเข่า
สาเหตุที่พบบ่อย
1)  การบาดเจ็บหรืออุบัติเหตุ เช่น กล้ามเนื้ออักเสบ กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกหัก ข้อเคลื่อน หมอนรองกระดูกข้อเข่าขาดหรือเส้นเอ็นฉีกขาด เป็นต้น มักจะมีอาการปวดข้อหรือข้อบวมทันทีภายหลังจากอุบัติเหตุ
2)  โรคข้อเข่าเสื่อมจากอายุที่มากขึ้น  พบได้บ่อยในผู้หญิงวัยกลางคนและผู้สูงอายุ
3)   กระดูกอ่อนของลูกสะบ้าอักเสบหรือเสื่อม พบได้ในเด็กหรือหนุ่มสาว โดยเฉพาะผู้ที่ออกกำลังกายอย่างรุนแรงหรือ มีอุบัติเหตุต่อข้อเข่า มักจะเกิดอาการเมื่อนั่งงอเข่านาน ๆ พอเหยียดเข่าจะปวด แต่พอเดินไปสักพักจะดีขึ้น หายเป็นปกติ
4)  กระดูกสะบ้าเคลื่อน พบได้ในเด็ก อาจเป็นผลจาก ความผิดปกติตั้งแต่เกิดของกระดูกต้นขาและกระดูกสะบ้าหรือ เส้นเอ็นยึดกระดูกสะบ้าฉีกขาดจากอุบัติเหตุ จะมีการเคลื่อนของกระดูกสะบ้าเมื่องอเข่า ทำให้เกิดอาการปวด
5)  ปุ่มกระดูกหน้าแข้งอักเสบ พบบ่อยในเด็กวัยรุ่น อาจคลำได้ก้อนกระดูกโตขึ้นและกดเจ็บ โดยเฉพาะหลังเล่นกีฬา หรือ ออกกำลังกาย จะปวดมากขึ้น ถ้าได้พัก อาการปวดจะลดลง มักจะหายได้เองเมื่ออายุมากขึ้น
6)  เส้นเอ็นลูกสะบ้าอักเสบ พบบ่อยในเด็กวัยรุ่น จะมีอาการบวมและกดเจ็บที่เส้นเอ็น เวลางอเข่าจะเจ็บมาก
7)  ถุงน้ำด้านหน้าข้อเข่าอักเสบ พบได้บ่อยในผู้หญิงอ้วน หรือผู้ที่ต้องคุกเข่าทำงาน
8)  ก้อนถุงน้ำใต้ข้อพับเข่า เกิดจากเยื่อหุ้มข้อเข่าแตกออกมาทางด้านหลังทำให้น้ำไขข้อไหลออกมานอกข้อเข่า พบได้บ่อยในผู้ที่มีข้ออักเสบเรื้อรัง ข้อเข่าเสื่อม มักจะมีอาการเป็นๆ หายๆ ถ้าก้อนโตมาก อาจทำให้รู้สึกปวดได้
9)  ข้อเข่าอักเสบ จากโรคข้ออักเสบต่าง ๆ เช่น เก๊าท์  รูมาตอยด์ ติดเชื้อแบททีเรีย เป็นต้น
วิธีรักษาอาการปวดในระยะเฉียบพลัน
1)  หยุดพักการใช้ข้อเข่า อาจใช้ผ้ายืดพันเข่าไว้ถ้ามีอาการปวดเข่ามาก และปรับเปลี่ยนกิจกรรมให้ใช้เข่าน้อยลง เช่น งดการเล่นกีฬา แล้วเปลี่ยนเป็น เดินเร็ว หรือ ขี่จักรยานอยู่กับที่ เป็นต้น
2)  ประคบด้วยความร้อนอาจจะใช้ยานวดหรือผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่นประคบบริเวณที่ปวดพร้อมกับขยับข้อเข่าเบา ๆ
3)  รับประทานยา เช่น ยาพาราเซตตามอลหรือยาแก้ปวดลดการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์  ยาคลายกล้ามเนื้อ
4)  บริหารข้อเข่า
5)  ถ้าอาการปวดไม่ดีขึ้นใน 2-3 วัน หรือ มีอาการปวดมากขึ้น ควรปรึกษาแพทย์
การ รักษาอาการปวดเข่า อาจต้องใช้เวลานาน หรือในบางโรคก็อาจจะรักษาไม่หาย ถ้าท่านมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการปวดเข่า ควรปรึกษากับศัลยแพทย์กระดูกและข้อ เพื่อสอบถามและรับการรักษาอย่างเหมาะสม
ข้อแนะนำในการดูแลรักษาด้วยตนเอง
1)  ลดน้ำหนักเพราะเมื่อเดินจะมีน้ำหนักลงที่เข่าประมาณ 5 เท่าของน้ำหนักตัว แต่ถ้าวิ่งน้ำหนักจะลงที่เข่าเพิ่มขึ้นเป็น 7 – 10เท่าของน้ำหนักตัว (การปั่นจักรยานเข่าจะรับน้ำหนักเพียง 1.5 เท่าของน้ำหนักตัวเท่านั้น )
ดังนั้น ถ้าลดน้ำหนักตัวได้ เข่าก็จะรับน้ำหนักน้อยลง ทำให้เข่าเสื่อมช้าลงด้วย
2)  ท่านั่ง ควรนั่งบนเก้าอี้สูงระดับเข่า ซึ่งเมื่อนั่งห้อยขาแล้วฝ่าเท้าจะวางราบกับพื้นพอดี  ไม่ควร นั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ นั่งคุกเข่า นั่งยอง ๆ หรือ นั่งราบบนพื้น เพราะจะทำให้ผิวข้อเข่าเสื่อมเร็วมากขึ้น
3)  เวลาเข้าห้องน้ำ ควรนั่งถ่ายบนโถนั่งชักโครก หรือ ใช้เก้าอี้ที่มี รู ตรงกลาง วางไว้เหนือคอห่าน
ควรทำที่จับยึดบริเวณด้านข้างโถนั่ง เพื่อใช้จับพยุงตัวเวลาจะลงนั่งหรือจะลุกขึ้นยืน  ไม่ควรนั่งยอง ๆ เพราะผิวข้อเข่าเสียดสีกันมาก และเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงขาถูกกดทับ ทำให้เลือดไปเลี้ยงขาได้ไม่ดี
4)  นอนบนเตียง ซึ่งมีความสูงระดับเข่า เมื่อนั่งห้อยขาที่ขอบเตียงแล้วฝ่าเท้าจะแตะพื้นพอดี  ไม่ควรนอนราบบนพื้น เพราะต้องงอเข่าเวลาจะนอนหรือจะลุกขึ้น ทำให้ผิวข้อเสียดสีกันมาก ข้อก็จะเสื่อมเร็วขึ้น
5)  หลีกเลี่ยงการขึ้นลงบันได
6)  หลีกเลี่ยงการยืนหรือนั่งในท่าเดียวนาน ๆ ถ้าจำเป็นก็ให้ขยับเปลี่ยนท่าหรือเหยียด-งอข้อเข่าบ่อย ๆ
7)  การยืน ควรยืนตรง ขากางออกเล็กน้อย ให้น้ำหนักตัวลงบนขาทั้งสองข้างเท่า ๆ กัน
ไม่ควร ยืนเอียงลงน้ำหนักตัวบนขาข้างใดข้างหนึ่ง เพราะจะทำให้เข่าที่รับน้ำหนักมากกว่าเกิดอาการปวดได้
8)  ควรใส่รองเท้าแบบมีส้นเตี้ย ( สูงไม่เกิน 1 นิ้ว ) หรือ ไม่มีส้นรองเท้า พื้นรองเท้านุ่มพอสมควร และ มีขนาดที่พอเหมาะเวลาสวมรองเท้าเดินแล้วรู้สึกว่ากระชับพอดี ไม่หลวมหรือคับเกินไป
9)  ควรใช้ไม้เท้า เมื่อจะยืนหรือเดิน โดยเฉพาะ ผู้ที่มีอาการปวดมากหรือมีข้อเข่าโก่งผิดรูป เพื่อช่วยลดน้ำหนักตัวที่ลงบนข้อเข่าและช่วยพยุงตัวเมื่อจะล้ม
10)  บริหารกล้ามเนื้อรอบข้อเข่าให้แข็งแรงซึ่งจะช่วยลดอาการปวดทำให้ข้อเคลื่อนไหวและการทรงตัวดีขึ้น
11)  วิธีออกกำลังกายควรเป็นการออกกำลังกายแบบที่ไม่ต้องมีการลงน้ำหนักที่เข่า มากนัก เช่น เดินเร็ว ๆ วิ่งเหยาะ ๆ ว่ายน้ำ   ขี่จักรยาน  เต้นลีลาศ   เต้นแอโรบิก เป็นต้น
   ถ้ามีอาการปวด ให้พักการใช้ข้อเข่า และ ประคบด้วยความเย็น/ความร้อน หรือ ใช้ยานวดร่วมด้วยก็ได้ แต่ถ้าอาการไม่ดีขึ้น ก็ควรปรึกษาศัลยแพทย์กระดูกและข้อ
   โรคประสาทหัวใจหรือโรคแพนิค
สาเหตุ
     โรคประสาทหัวใจหรือโรคแพนิคเป็นผลจากทั้งปัจจัยทางด้านร่างกายและจิตใจ โดยปัจจัยทางด้านร่างกายพบว่า เกิดจากความผิดปกติของระดับสารสื่อประสาท ได้แก่ norepinephrine และ serotonin ในระบบประสาท รวมทั้งพบว่ามีความเกี่ยวข้องกับเรื่องของพันธุกรรม ส่วนสาเหตุทางด้านจิตใจมักพบว่า สัมพันธ์กับเรื่องของความวิตกกังวล  โดยเฉพาะความวิตกกังวลจากการแยกจากคนสำคัญ  โดยผู้ป่วยแต่ละรายก็จะให้น้ำหนักความสำคัญของแต่ละปัจจัยแตกต่างกันไป เช่น บางรายอาจจะไม่มีความกังวลใดๆ เลย แต่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นหลายคน ก็อาจจะมีอาการได้ เป็นต้น
ลักษณะอาการ
    ลักษณะอาการของโรคแพนิคคือ ผู้ป่วยจะมีอาการใจสั่น ใจเต้นแรง แน่นหน้าอก รู้สึกหายใจขัด เวียนหัว (หรือรู้สึกว่าหัวเบาๆ) ถ้าอาการมากๆ จะมีเหงื่อแตก มือเย็นเท้าเย็น (หรือชา) ด้วย โดยอาการจะเป็นขึ้นมาแบบทันทีทันใด ชนิดอยู่ดีๆ ก็เป็นขึ้นมา และจะเป็นมากอยู่ประมาณ 10-15 นาที จากนั้นก็จะค่อยๆ ดีขึ้น และมักจะหายไปในเวลาไม่เกินหนึ่งชั่วโมง ด้วยอาการที่จะเป็นแบบทันทีและรุนแรงนี่เอง ทำให้ผู้ป่วยหลายๆ คนตกใจกลัวว่าจะเป็นโรคหัวใจ หรือเป็นโรคร้ายแรงอื่นๆ หรือกลัวว่าจะตายได้  โดยปกติอาการของโรคแพนิคจะสามารถเกิดขึ้นที่ไหนหรือเมื่อไรก็ได้ ไม่สามารถคาดเดาได้ แต่ในบางกรณี ผู้ป่วยอาจจะเชื่อมโยงอาการกับสถานที่หรือกิจกรรมบางอย่าง ทำให้ไม่กล้าทำกิจกรรมนั้น หรือไปในสถานที่ที่เคยเกิดอาการ ยกตัวอย่างเช่น บางคนไม่กล้าออกไปไหนข้างนอกคนเดียว เพราะเคยมีอาการตอนออกไปนอกบ้าน จึงกลัวว่าหากเป็นอีกจะไม่มีใครช่วย หรือบางคนไม่กล้านั่ง(ขับ)รถ เพราะครั้งแรกที่มีอาการแพนิคเป็นตอนนั่งรถ เป็นต้น  ผู้ป่วยส่วนใหญ่ เวลาที่เกิดอาการแพนิคครั้งแรกๆ มักจะไปโรงพยาบาล โดยมากแล้วมักเป็นห้องฉุกเฉิน ซึ่งแพทย์ก็จะตรวจไม่พบความผิดปกติใดๆ ทำให้พบว่ากว่าจะได้มาพบจิตแพทย์ ผู้ป่วยหลายคนเคยไปรักษาที่ห้องฉุกเฉินมาแล้วไม่ต่ำกว่า 3-4 ครั้ง และไปตรวจทางด้านโรคหัวใจอีกหลายครั้ง จึงไม่แปลกที่ที่โรงพยาบาลของผู้เขียน เกือบร้อยละ 50 ของผู้ป่วยโรคแพนิคจะถูกส่งต่อมาจากแผนกโรคหัวใจอีกที ใกล้เคียงกับผลการศึกษาวิจัยหลายๆ ชิ้นที่พบว่า ร้อยละ 40-50 ของผู้ป่วยโรคแพนิคจะเคยไปรับการตรวจรักษาที่แผนกอื่นมาแล้วหลายครั้งทั้งสิ้น
การรักษา
     เวลาที่มีอาการแพนิค (อาการใจสั่น แน่นหน้าอก หายใจขัด และอื่นๆ นั่นแหละครับ) สิ่งแรกที่ควรทำคือนั่งพัก จากนั้นให้หายใจเข้าออกช้าๆ เหมือนเวลานั่งสมาธิ เพราะว่าหากยิ่งหายใจเร็ว (หายใจสั้น แต่ถี่) จะยิ่งทำให้อาการที่เป็นรุนแรงมากขึ้น โดยทั่วไปถ้าสามารถควบคุมการหายใจได้ไม่เกิน 15-20 นาที อาการก็มักจะดีขึ้นเอง ในผู้ป่วยบางรายแพทย์อาจจะให้ยาสำหรับรับประทานเวลาที่มีอาการมาด้วย ก็สามารถกินยาไปด้วยได้
ส่วนการรักษาโดยการใช้ยา  โดยทั่วไปแล้วยาที่แพทย์ให้จะมี 2 กลุ่มหลักๆ คือ   ยาเพื่อลดอาการ  ยากลุ่มนี้จะรับประทานเพื่อลดอาการขณะที่เป็น โดยมากแพทย์มักจะให้มารับประทานในช่วงระยะแรกๆ ที่มารับการรักษา เนื่องจากยาที่ป้องกันไม่ให้เป็น (ยาข้อถัดไป) ยังออกฤทธิ์ไม่เต็มที่ แต่ยาเพื่อลดอาการจะเป็นยาที่ออกฤทธิ์เร็ว จึงให้รับประทานในเวลาที่มีอาการใจสั่น แน่นหน้าอก หายใจขัด เพื่อช่วยลดอาการเหล่านี้ และทำให้อาการหายไป ยาที่นิยมใช้ในกลุ่มนี้ได้แก่ Alprazolam และ Clonazepam   ยาเพื่อป้องกันและรักษา  ยาในกลุ่มนี้ถือเป็นยาตัวหลักที่ใช้ในการรักษา ยาจะช่วยป้องกันไม่ให้เป็น ทำให้ความถี่ในการเกิดอาการแพนิคเป็นน้อยลง และอาการไม่รุนแรงมาก จนค่อยๆ หายไป รวมทั้งช่วยป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ แต่ยาในกลุ่มนี้ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ถึงจะเริ่มเห็นผล ดังนั้นในอาทิตย์แรกๆ จะยังไม่เห็นผลชัดเจนนัก แพทย์จึงมักให้รับประทานยาเพื่อลดอาการไปด้วย     ยาในกลุ่มนี้ ได้แก่ ยารักษาซึมเศร้า (antidepressant) ซึ่งมีหลายตัว เช่น fluoxetine หรือ sertraline เป็นต้น 


ผลดีต่อสุขภาพ
การขี่จักรยานจะช่วยลดไขมันที่สะสม  กระชับต้นขา  สะโพก  และหน้าท้อง  ช่วยเผาผลาญพลังงานได้ถึง  350-700  แคลอรี่  ขึ้นอยู่กับช่วงเวลา  ความเร็วในการปั่นและพื้นผิวถนน  การปั่นจักรยานยังสามารถช่วยป้องกันโรคหัวใจ  โรคเบาหวาน  และโรคความดันโลหิตสูง  ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการไหลเวียนโลหิต  ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียด  กระตุ้นให้ร่างกายหลั่งโกรธฮอร์โมน  ปรับสมดุลสุขภาพกายใจให้สมบูรณ์แข็งแรง  นอกจากนี้การปั่นจักรยานยังช่วยลดภาวะโลกร้อน  ขจัดปัญหามลภาวะเป็นพิษ  อนุรักษ์พลังงาน  รักษาสิ่งแวดล้อมให้อยู่คู่โลกไปจนถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน
 

                การออกกำลังกาย  ด้วยวิธีการปั่นจักรยาน  กำลังเป็นที่นิยมของผู้คนในทุเพศทุกวัยเป็นอย่างมาก  เพราะจักรยานเป็นอุปกรณ์ที่หาได้ง่าย  ราคาไม่แพง  จึงเหมาะสมกับคนในทุกเพศทุกวัย  และยิ่งในปัจจุบันมีผู้รู้  และผู้ที่หายจากโรคร้ายได้ด้วยการปั่นจักรยาน  ออกมายืนยันว่า “จักรยานสามารถรักษาโรคได้จริง”  จึงทำให้จักรยานยิ่งเป็นที่นิยมของผู้คน  ทั้งในเมืองใหญ่และในชนบท


 จัดทำโดยนางสาววิทิตยา      แก้วเกิด  ม.5/1   เลขที่  29

เอกสารอ้างอิง


คุณลุงแม๊ก(2556.23  พฤศจิกายน).  Cycling  for  health : ชีวจิต. 226(2556)
คุณลุงแม๊ก(2556.13  พฤษภาคม).  Cycling for  health : ชีวจิต.  363(2556)
 Anonymous.  (2529. 31  พฤษภาคม)ขี่จักรยานเพื่อสุขภาพ.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก :http://www.doctor.or.th/article/detail/5317  30  พฤษภาคม  2556)
Annisaa.com.  โรคปวดเข่า. [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จากhttp://www.annisaa.com/forum/index.php?topic=996.0  ( 1  ธันวาคม  2556 )
นพ.ธรรมนาถ เจริญบุญ จิตแพทย์. โรคประสาทหัวใจ.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก :http://www.healthtoday.net/thailand/mental/mental_135.html  (ธันวาคม  2556)
ADMIN 02:09.  ( 2552.8  ตุลาคม)สาระดีๆเพื่อคนรักการปั่นจักรยาน. [ออนไลน์].  เข้าจึงได้จาก : http://mtbshowroom.blogspot.com/2009/10/blog-post_1214.html  30  พฤษภาคม  2556 )
ทีมงาน  saimhealth.net.  การขี่จักรยาน.[ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : http://www.siamhealth.net/public_html/Health/good_health_living/Fitness/aerobic/bike.htm#.Us2XXtJdVg1(มิถุนายน  2556 )
Kapok.com.  ( 2554  พฤศจิกายน  14 ).  10 เหตุผลที่เราต้องปั่นจักรยาน. [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก http://health.kapook.com/view27058.html 
30  พฤษภาคม  2556 )
                ADDWHEY.com.  (2555 ).  สุขภาพดีเพราะขี่จักรยาน.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : http://www.adwhey.com/index.php/  ( 11  มิถุนายน  2556 )
                ศุภฑิต  สนธินุช( 2550  กรกฎาคม )ชวนคนไทยปั่นจักรยานทางเลือกรักษาโรค.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก :http://www.oknation.net/blog/print.php?id=75389 
( 30  พฤษภาคม  2556 )
                BIKE - MONSTER.  ( 2552  10  ตุลาคม  ).  ประวัติของรถจักรยาน.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : http://www.bike-monster.com/มิถุนายน  2556 )
  

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

About this blog

Research & Knowledge Formation

Blog Archive