เส้นทางคนหัวหมอ(ฟัน)

       โอ๊ย! แม่ครับปวดฟัน
       “แม่ครับปวดฟันจะตายอยู่แล้ว ฮือๆ
       อีกสารพัดคำพูดที่ใครหลายคนคงต้องเคยได้ยินหรือประสบด้วยตัวเองในยามที่ปวดฟัน และคนที่พ่อแม่พาเราไปหาเวลาที่ปวดฟัน เขาคนนั้นเป็นใครกัน คงมีไม่กี่อาชีพหรอกที่เราต้องอ้าปากให้เขา งัดๆ แงะๆ เขี่ยๆ และอาชีพนั้นก็คือ ทันตแพทย์แต่ทุกคนรู้หรือไม่ว่ากว่าจะเป้นทันตแพทย์ได้นั้นต้องพบเจออะไรบ้าง ต้องฟันฝ่าอุปสรรคอะไรบ้าง เดี๋ยวจะได้ศึกษาในบทความต่อไปนี้

1. แนะนำอาชีพทันตแพทย์
       ทันตแพทย์ (Dentist) หรือที่เรียกกันว่าแบบคลาสสิกเลยก็คือ หมอฟันเป็นหมอที่มีหน้าที่รักษาและทำงานเกี่ยวกับช่องปากของคน งานที่ว่าเริ่มตั้งแต่ตรวจวินิจฉัยโรค วางแผนรักษา หากไม่ต้องถึงขั้นรักษาก็จะเป็นลักษณะงานเพื่อฟื้นฟูสุขภาพช่องปากของคนไข้ให้ดีขึ้น การจะประกอบอาชีพนี้ได้ต้องมีใบประกอบวิชาชีพหรือใบประกอบโรคศิลป์รับรอง เพราะเป็นอาชีพที่มีชีวิตของคนเป็นเดิมพัน ทำไม่ดี ทำไม่เป็น คนไข้อาจพิกาจหรือเสี่ยงถึงชีวิตได้
       หนทางของอาชีพในฝัน ทันตแพทย์ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบอย่างที่หลายคนเข้าใจ (เข้าใจว่าง่ายกว่าแพทย์ที่รักษาทั่วไป) ความจริงแล้วกว่าจะเข้าเรียนคณะทันตแพทยศาสตร์ได้ต้องเก่งจริงๆ เพราะแค่เข้าก็ยากมากแล้ว และถ้าลองไปเรียนจริงๆ ยากกว่าเดิมอีกสิบเท่า ต้องทดทนกันถึง 6 ปี ย้ำนะครับว่า 6 ปี! ไม่ใช่ 4 ปี หลายคนมาครึ่งทางแล้วถอดใจก็มี แถมจบแล้วต้องใช้ทุนอีก 3 ปี ก็ใช้เวลร่วมๆ 10 ปี เชียวกว่าจะเป็นหมอฟันได้อย่างที่ฝัน ชีวิตการทำงานก้ต้องเจอแต่สิ่งที่ไม่สวยงาม ไม่สนุกเหมือนอาชีพอื่นด้วยสิ
2. เส้นทางสู้รั้วมหาลัย
      จากสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยทั้งของภาครัฐ 78 แห่ง และของภาคเอกชน 60 แห่ง มีเพียง 10 แห่ง เท่านั้นที่เปิดสอนหลักสูตรทันตแพทยศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาทันตแพทยศาสตร์ ได้แก่
       1.คณะทันตแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหิดล
       2.คณะทันตแพทยศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       3.คณะทันตแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยนเรศวร
       4.คณะทันตแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น
       5.คณะทันตแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
       6.คณะทันตแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
       7.คณะทันตแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
       8.คณะทันตแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยพะเยา
       9.คณะทันตแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยรังสิต
       10.คณะทันตแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
       ซึ่งมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนก็มีทั้งมหาวิทยาลัยของภาครัฐและภาคเอกชน หลักสูตรและวิธีการสอนในมหาวิทยาลัยก็ไม่แตกต่างกันเท่าไร แต่จะแตกต่างกันที่ค่าเทอม เพราะในมหาวิทยาลัยของภาคเอกชนจะมีค่าเทอมสูงกว่าภาครัฐหลายเท่า ส่วนการที่จะเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยก็มีหลายช่องทาง ส่วนใหญ่มหาวิทยาลัยของรัฐจะเปิดรับนักศึกษา 3 ช่องทางคือ รอบรับตรง รอบ กสพท. และก็รอบแอดมิดชั่น
       รอบ กสพท.  ทุกคนคงคุ้นหูคำว่า กสพท. และสรรพคุณความโหดในการสอบเข้ากันมามากแล้ว แต่สำหรับใครที่ยังไม่รู้จักว่า กสพท. คืออะไร สำคัญยังไง ต้องมาทำความรู้จักกันหน่อยแล้ว
       กสพท. เป็นวิธีรับตรงแบบหนึ่งที่ฮอตมาก คนที่อยากเป็นหมอและหมอฟันมักจะลงมาแข่งกันในสนามนี้ ถ้าเตรียมตัวมาดีจะได้เปรียบสุดๆ เพราะการสอบบางส่วนจะสอบก่อนแอดมิดชั่นกลางและไม่มีโอกาสแก้ตัว ดังนั้นต้องอาศัยความรับผิดชอบและการแบ่งเวลาในการอ่านหนังสือเอง ที่สำคัญคือ กสพท. ยังเป็นสนามหลักของการคัดเลือกเข้าเรียนคณะแพทยศาสตร์



       กสพท. มาจากชื่อกลุ่มที่ว่า กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทยก่อตั้งขึ้นมา 20 กว่าปีที่แล้ว สมัยก่อนมีหน้าที่ส่งเสริมการวิจัย หรือเป็นที่รวบรวมงานวิชาการต่างๆ ในวงการแพทย์และสาธารณสุข แต่เพิ่งมาเป็นที่คุ้นหูมากขึ้นในช่วงหลังๆนี้เอง เพราะได้เปลี่ยนระบบจากเอ็นทรานซ์เป็นแอดมิชชั่นกลาง คณะแพทยศาสตร์ก็เลยเปลี่ยนมารับผ่าน กสพท. แทน เริ่มแรกมีคณะแพทยศาสตร์จำนวน 12 สถาบัน ไร้วี่แววของคณะทันตแพทยศาสตร์ จนกระทั่งปี 51 คณะทันตแพทยศาสตร์ของจุฬาฯและมหิดล ได้ประเดิมเข้าร่วมเป็นสถาบันแรกๆ ต่อมาสถาบันอื่นก็ตบเท้าเข้าร่วมด้วย จนกระทั่งมี 5 สถาบัน คือ          
       1.คณะทันตแพทยศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       2.คณะทันตแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหิดล
       3.คณะทันตแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
       4.คณะทันตแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
       5.คณะทันตแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
       ในการสอบ กสพท. นั้นจะใช้คะแนน 2 ส่วนด้วยกัน คือ คะแนนที่มาจากการสอบวิชาเฉพาะแพทย์ ซึ่งจัดสอบโดย กสพท.ข้อสอบวิชาเฉพาะแพทย์ที่กลัวนักกลัวหนานั้นคิดเป็นสัดส่วนแค่ 30% แต่ก็เป็นหน่วยวิชาที่ทั้งฉุดขึ้นฉุดลงได้เช่นเดียวกัน ดังนั้นถ้าเป็นไปได้ หลายคนก็เลือกลุยวิชานี้เต็มที่ ส่วนคะแนนอีกส่วนหนึ่งมาจากการสอบวิชาสามัญ จัดสอบโดย สทศ. มันน่าลุ้นตรงข้อสอบวิชาสามัญนี่แหละ ที่มีสัดส่วนถึง 70% เมื่อนำมาคำนวณคะแนน จะคิดสัดส่วนในแต่ละกลุ่มสาระวิชา ดังนี้ วิทยาศาสตร์ (ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา) 40%, คณิตศาสตร์ 20%, ภาษาอังกฤษ 20%, ภาษาไทย 10% และสังคมศึกษา 10% แต่ยังมีการสอบอีกอย่างหนึ่งที่มีผลต่อรอบ กสพท. คือ การสอบ O-NET ซึ่งจัดสอบโดย สทศ. เป็นข้อสอบที่คุ้ยเคยกันมาหลายรุ่น เพราะสอบกันมานานนม ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง สำหรับหมวดวิชาที่ต้องสอบมีทั้งหมด 8 วิชา แต่แบ่งออกเป็น 6 ฉบับ คะแนนรวม 300 คะแนน สำหรับผู้ที่จะเรียนทันตะแพทย์ต้องทำคะแนนรวมให้ได้ 60% ถ้าไม่ถึง 60% ล่ะ? ถึงแม้จะทำคะแนนเฉพาะแพทย์และวิชาสามัญมาเลอเลิศขนาดไหน แต่ถ้า O-NET ไม่ถึง 60% จะถูกตัดจากกอง กสพท.   
     

       • รับตรง/โควตา/รับตรงพิเศษ เป็นรูปแบบการรับที่ออกประกาศและดำเนินการาคัดเลือกโดยมหาลัยหรือคณะนั้นๆ เป็นผู้รับผิดชอบเองทั้งหมด ทั้งข้อสอบ การจัดสอบ การสัมภาษณ์ ตรวจร่างกาย ฯลฯ แต่ละสถาบันก็มีรายละเอียดแตกต่างกัน ส่วนความเคี่ยวน่าจะไม่ต่างกันมาก
       มหาวิทยาลัยบางแห่งที่ไม่ได้เข้าร่วม กสพท. ก็อาจจัดรับตรงหรือโควตาพิเศษเฉพาะของตัวเอง เพื่อคัดเลือกเด็กตามที่ต้องการนึกเอาง่ายๆก็คือ มหาวิทยาลัย 5 แห่ง ได้จัดที่นั่งไว้สำหรับเด็กที่มาจากการคัดเลือกผ่าน กสพท. ส่วนมหาวิทยาลัยอื่นก็จัดสอบตรง คัดเลือกด้วยตนเองนั่นเอง
         แอดมิชชั่นกลาง ทางเลือกสุดท้ายของเด็ก ม.6 ความจริงที่สุดแสนจะรันทด เพราะรับตรงก็ไปแล้ว โควตาก็ไปแล้ว กสพท. ก็แล้ว ดังนั้น นี่เป็นสนามสุดท้ายแล้วจริงๆ ที่นั่งในรอบแอดมิชชั่นกลางมีค่อนข้างน้อย เพราะทางกลุ่ม กสพท. และมหาวิทยาลัยต่างๆ พยายามรับตรงเองเพื่อให้ได้มาตรฐานและคนเก่งๆเข้าเรียน แม้จำนวนที่รับจะน้อย แต่ก็เป็นความหวังของหลายๆคนให้ได้ฮึดกันอีกรอบ ซึ่งโค้งสุดท้ายนี้สิ่งที่ต้องฟิตให้มากๆคือ O-NET, GAT/PAT ทำให้ได้มากที่สุด เกรดต้องดี สรุปคือต้องทำให้ดีทั้งหมด เพราะต้องนำมาคำนวณเป็นคะแนนขั้นสุดท้าย
       ขั้นตอนในการคัดเลือกผ่านระบบแอดมิชชั่นกลาง จะเข้มข้นตอนเมษายน เพราะเป็นช่วงเลือกคณะ เรียกได้ว่าช่วงนี้ไมเกรนขึ้นกันแทบทุกคน แต่ไม่ต้องกังวล เพราะถ้ามีเคล็ดลับในการเลือกคณะดีๆ ก็แอดฯ ติดทุกคนอยู่แล้ว ซึ่งองค์ประกอบและค่าน้ำหนักคะแนนของคณะทันตแพทยศาสตร์ในระบบแอดมิชชั่น
กลางมีดังนี้
       GPAX คือ เกรดเฉลี่ยสะสม 6 เทอม ทุกกลุ่มสาระวิชา 20%
       O-NET คือ การทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน 30%
       GAT คือ ความถนัดทั่วไป 30%
       PAT คือ ความถนัดทางวิชาชีพ ซึ่งทันตแพทยศาสตร์จะสอบ PAT2 คือ ความถนัดทางวิทยาศาสตร์ 20%





3.ต้องเจออะไรในระหว่างเรียน
       คณะทันตแพทยศาสตร์ (Dentistry) เป็นคณะที่เรียนเกี่ยวกับการรักษาฟันและอวัยวะภายในช่องปาก โดยจะต้องเรียนตั้งแต่เบื้องต้นคือรู้จักกับอวัยวะภายในช่องปาก โรคเกี่ยวกับช่องปาก ไปจนถึงขั้นแอดวานซ์ ที่จะต้องลงมือรักษาคนไข้จริงๆตั้งแต่ยังเรียนไม่จบ เรียกได้ว่าเป็นศาสตร์เฉพาะด้าน ต้องใช้เวลาบ่มเพาะกันหลายปี สำหรับนักศึกษา 6 ปี จะต้องเรียนอะไรบ้าง จะบอกคร่าวๆ ดังนี้
       ชั้นปีที่ 1 เข้ามาเป็นน้องใหม่ก็ต้องมีกิจกรรมของคณะบ้าง ของมหาลัยบ้าง ทำให้การเรียนยังไม่หนักมาก โดยรวมยังเป็นพื้นฐานทั่วไป เช่น ภาษาอังกฤษและหมวดวิชาทางด้านวิทยาศาสตร์ที่น้องมีพื้นฐานกันมาอยู่แล้วทั้งฟิสิกส์ เคมี ชีวะ แต่อาจลงลึกกันอีกนิดหนึ่ง สอบก็โหดขึ้นกว่า ม.ปลาย แน่นอนใครมีพื้นฐานแน่นปึ๊กมาอยู่แล้วก็หวานหมูไป แต่ถ้าใครส่งคืนคุณครูไปแล้ว ก็ต้องเตรียมตัวทบทวนกันใหม่ (บางหลักสูตรแจ็กพอตแตก มีคณิตศาสตร์มาแจมด้วย)
       นอกจากนี้จะมีวิชาในกลุ่มอื่นๆให้เลือกเรียนด้วยในหมวดนี้เรียกว่า หมวดวิชาเสรี แล้วแต่หลักสูตรของแต่ละมหาลัย ว่าจะมีอะไรให้เลือกเรียนกันบ้าง สรุปว่าปี 1 ยังเป็นปีที่แสนชิวสบายอยู่
       ชั้นปีที่ 2-3 ในช่วงนี้เราจะเริ่มรู้ตัวแล้วว่ามาเรียนคณะอะไร แล้วชีวิตต่อไปจะเป็นอย่างไร ในช่วงนี้จะเรียกว่า พรีคลินิก(Pre-Clinic) ลงหนักในเรื่องของวิทยาศาสตร์การแพทย์มากขึ้น เช่น กายวิภาคศาสตร์ ชีวเคมีการแพทย์ แว่วๆมาว่าเรียนเหมือนแพทยศาสตร์ เรียนพร้อมว่าที่แพทย์ทุกคน และตัดเกรดพร้อมกันด้วย!! บางวิชาก็เป็นวิทยาศาสตร์ที่ปรับให้เหมาะกับทันตแพทย์มากขึ้น เช่น พยาธิวิทยาสำหรับนักศึกษาทันตแพทย์ เภสัชวิยาสำหรับนักศึกษาทันตแพทย์ เป็นต้น
       นอกจากจะเรียนวิทยาศาสตร์การแพทย์แล้ว ในชั้นพรีคลินิก น้องๆจะได้เรียนวิชาที่เป็นสายอาชีพของตัวเองมากขึ้น ทั้งเรื่องของระบบช่องปาก โรคในช่องปาก การทำฟันเทียม และอื่นๆอีกมาย รวมทั้งจะได้ทำความรู้จักกับแล็บปราบเซียน แต่อย่างที่บอกนั่นแหระว่าเป็นแค่ชั้นพรีคลิกนิก เรื่องที่เรียนส่วนใหญ่ก็ยังแค่เป็นระดับเบื้องต้น เป็นการปูพื้นเบื้องต้นสู่ชั้น คลินิก
       ชั้นปีที่ 4-6 ช่วง 3 ปีนี้เรียกว่าชั้น คลินิก (Clinic) ในช่วงปี 4 ยังคงเรียนในห้องแลกเชอร์และมีแล็บเหมือนปีที่ผ่านมา อาจมีลงคลินิกบ้างแต่ก็ไม่มากนักเพราะบางวิชาเพิ่งเรียนปี 4
     

        การเรียนในชั้นคลินิกจะหนักสุดตอนปี 5 เกือบจะได้เป็นหมอฟันเต็มตัวแล้วเพราะต้องลงมือปฏิบัติกับคนไข้จริงๆ และต้องทำให้เป็นทุกอย่าง ซึ่งจะต้องเอาวิชาความรู้ทั้งหมดที่เรียนมารักษากับคนไข้จริงๆ ถ้าทำไม่ครบเคสที่กำหนดหรือทำออกมาแล้วนไข้ไม่ปลื้มก็เรียนไม่จบ ซึ่งชีวิตคนไข้จะสำคัญกับเรามากๆ ช่วงนี้นักศึกษาทันตแพทย์จะหันมาง้อคนไข้มากกว่าง้อแฟนอีก
       เรียนมาตั้ง 6 ปีแล้ว ยังเป็นหมอไม่ได้ ต้องไปใช้ทุนตามที่ได้สัญญากันตอนปี 1 ถ้าไม่ใช้ทุนก็ต้องชดเชยเป็นเงินมูลค่าหลักแสน และที่สำคัญมากๆถ้าจะจบมาเป็นทันตแพทย์ได้จริงๆ ต้องสอบใบประกอบวิชาชีพทันตกรรมให้ผ่านก่อน โดยจะต้องสอบถึง 2 ครั้ง คือในช่วงปี 2 และปี 5 สอบไม่ผ่านก็ต้องสอบจนกว่าจะผ่าน ถึงจะมีสิทธิ์เป็นทันตแพทย์


4.จบแล้วไปไหนต่อ  
       สำหรับนักศึกษาคณะอื่น เมื่อเรียนจบก็คงวิ่งหน้าตั้งเอาทรานสคลิปต์ไปยื่นสมัครงานที่ตัวเองรัก แต่สำหรับชาวทันตะฯแล้ว เรียนจบออกไม่ต้องคิดอะไรมาก จบหมอฟัน ออกมาก็ต้องเป็นหมอฟัน ตัวเลือกไม่เยอะ แต่กว่าจะเป็นได้จริงๆ มันมีขั้นตอนซับซ้อนซ่อนเงื่อนกว่านั้น ซึ่งมีทางเลือกหลังจบ ดังนี้
       1.จบแล้วใช้ทุน ทำตามคำมั่นสัญญาที่ได้ตกลงกันไว้ แต่จะไปที่ไหน จังหวัดไหน งานนี้ต้องไปลุ้นต่อกันเอง การใช้ทุนคือ การทำงานให้กับราชการ ไม่จำเป็นต้องเป็นหมอฟัน ถ้าใครชอบสอนหนังสือก็เป็นอาจารย์ตามมหาลัยหรือวิทยาลัยสาธารณสุขได้ สำหรับเวลาใช้ทุนทั้งหมด 3 ปีได้ทั้งประสบการณ์ได้ทั้งเรื่องประทับใจต่างๆเพียบ ระหว่างนี้ถ้าสนใจเรียนต่อ ก็สารมารถ ก็สามารถทำเรื่องขอลาได้ด้วย แต่ถ้าไม่อยากเรียน ก็ออกมาทำงานได้
       2.จบแล้วทำคลินิกเอกชน ถ้าไม่ใช่ทุน อาจด้วยเหตุผลว่าเรียนมหาวิทยาลัยเอกชน หรือบ้านมีตังค์เลยใช้คืนรัฐ 400,000 บาทแบบชิวๆ ก็ลงมือทำงานได้เลยและถ้าอยากเรียนต่อ ก็ต้องทำงานต่ออย่างน้อย 1 ปี
       3.จบแล้วเรียนต่อ การศึกษาไม่มีวันสิ้นสุด ถ้าอย่างเก่งกว่านี้ หรือชอบด้านไหนเป็นพิเศษก็ตั้งหน้าตั้งตาเรียนต่อกันไป ซึ่งการเรียนต่อของสายทันตะฯ มีหลายประเภททั้งต่อ ป.โทร หรือเรียนต่อเฉพาะทาง



       4.จบแล้วทำงานอย่างอื่นที่ไม่ใช่หมอฟัน ถ้าคิดว่าเรียนมาตั้ง 6 ปี แล้วรู้สึกว่ามันไม่ใช่ ก็จ่ายเงินชดเชย 400,000 บาท ก็ออกมาประกวดเดอะสตาร์ก็ได้ไม่ว่ากัน


       อาชีพทันตแพทย์ ทุกคนก็คงจะรู้ว่าต้องฝ่าฟันอุปสรรคมาก ต้องเรียนหนัก ต้องทนต่อแรงกดดัน เพราะเป็นอาชีพที่มีคนเป็นเดิมพัน ดังนั้น ถ้าหากจะตัดสินใจเรียนก็ต้องสำรวจตัวเองอย่างจริงจัง ไม่ใช่แค่คิดเพียงว่า เรียนเพื่อตามใจพ่อแม่ เรียนเพื่อหวังจะได้เงินเยอะ ต้องเห็นประโยชน์ของคนอื่นมากกว่าประโยชน์ของตนเอง ต้องทำงานให้สมเกียรติ สมหน้าที่ 
                                                                           

                                                                                                                                                                                                 ผู้จัดทำ
                                                                                                                                                                                    นายฟาซอล โต๊ะเส็น เลขที่ 5 ม.5/1


      


    
บรรณานุกรม


ทีมงานเว็บไซต์เด็กดีดอทคอม.  2555.  เส้นทางหลักสู่คณะทันตแพทยศาสตร์. 
กรุงเทพมหานคร : เด็กดีพับลิซชิ่ง
ธิตินนท์ จงตั้งปิติ.  2555.  6 ปี ในคณะทันตแพทย์.  นนทบุรี : บายยัวร์เซลฟ์
จินตนา สุนทรวัฒน์.  แนะนำอาชีพทันแพทย์.  (2554).  [ออนไลน์]
       เข้าถึงได้จาก : https://sites.google.com สืบค้น 4 พฤศจิกายน 2556
Tutorsom.  ทันตะแพทย์จบแล้วทำงานอะไร(2555).  [ออนไลน์].
       เข้าถึงได้จาก :  http://blog.eduzones.com สืบค้น 4 พฤศจิกายน 2556
ธรณ์เทพ อุปถัมภ์นักศึกษาทันตแพทย์สัมภาษณ์,25 พฤศจิกายน 2556










               


0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

About this blog

Research & Knowledge Formation

Blog Archive