ย้ำความจำระงับการลืม
             คุณเคยอยากจำอะไรสักอย่างโดยไม่ต้องการลืมมันหรือไม่ ใช่แล้วสิ่งต่างๆที่คุณได้เรียนรู้หรือได้เห็นมา หรือประสบการณ์ที่ผ่านมานั้นอาจจะเป็นสิ่งที่คุณอยากจำมันได้ ไม่ใช่เท่าแต่ที่กล่าวมาข้างต้นเท่านั้นแต่การที่เราอยากจำอะไรได้อีกก็มีทั้ง เรื่องการเรียน โดยเฉพาะการจำเนื้อหา การจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษ อีกทั้งเรื่องการจำรายการต่างๆเช่น รายการสินค้าที่ต้องการซื้อ ตารางนัดหมาย จำที่ตั้งของสถานที่ จำหน้าตา และชื่อบุคคล แม้กระทั่งการจำเบอร์โทรศัพท์ และเรื่องราวต่างๆที่อาจจะเกี่ยวกับบุคคลที่คุณรัก แต่บางครั้งคุณอาจจะลืมในสิ่งต่างๆที่คุณได้เรียนรู้และประสบการณ์ที่ผ่านมาบ้างหรืออาจจะลืมทั้งหมด ก้อเหมือนกับว่าไม่มีการเรียนรู้เกิดขึ้น ดังนั้นเราก็จะมาทำความรู้จักและทำความเข้าใจกับความจำและการลืมว่ามันคืออะไร

การจำและการลืม (Remembering and Forgetting)
                การจำนั้นก็คือ ความสามารถคงสิ่งที่เรียนรู้เอาไว้ได้ และสามารถระลึกได้ การเรียนรู้ทุกอย่างต้องมีการคงสิ่งที่เรียนมาแล้วไว้บ้าง เพราะถ้าเราลืมสิ่งที่เคยเรียนรู้และประสบการณ์ที่ผ่านมาทั้งหมด1ก็เหมือนกับว่าไม่มีการเรียนรู้เกิดขึ้น การที่เราคิดและหาเหตุผลต่างๆส่วนใหญ่จะอาศัยข้อเท็จจริงที่เราจำได้ทั้งนั้น และการที่เราสามารถนำเหตุการณ์ในปัจจุบันต่อเนื่องกับในอดีตและทำนายสิ่งที่เกิดขึ้นในอนาคตได้นั้นก็เพราะมนุษย์สามารถจำได้นั่นเอง ซึ่งการที่เราสามารถจำเหตุการณ์และประสบการณ์ต่างๆ ที่เรารับรู้มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตและปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมมาก
                การจำเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นภายในจิตใจ เช่นเดียวกับการรับรู้ การคิด พฤติกรรมที่เกิดขึ้นภายในจิตใจนี้ เป็นพฤติกรรมภายใน ซึ่งไม่สามารถสังเกตเห็นได้โดยตรง
                 
           ความจำประกอบด้วย
                         1.การเรียนรู้และประสบการณ์ต่างๆเพื่อรับรู้มูลและข่าวสารต่างๆ
                         2.การเก็บ (Retention) สิ่งที่เรียนรู้และประสบการณ์ไว้
                         3.การที่สามารถระลึก (Recall) สิ่งที่เรียนรู้และประสบการณ์ไว้
                         4.การที่สามารถเลือกสิ่งที่เรียนรู้ และประสบการณ์ที่มีไว้มาใช้ได้เหมาะสมกับเวลาและสถานการณ์ต่างๆได้
วิธีช่วยจำ
                         วิธีการที่จะช่วยให้มีความจำในสิ่งที่เรียนการเรียนได้มากยิ่งขึ้นมีดังต่อไปนี้
                            1. การจัดหมวดหมู่ (Organization)
                                  การที่จะประสบผลสำเร็จในการจำได้นั้นจะต้องมีการจัดหมวดหมู่ โดยการจัดสิ่งเร้าที่จะต้องจำหลายๆอย่างให้เป็นหมวดหมู่ เช่น สิ่งที่คล้ายๆกันหรือสัมพันธ์กันก็จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกัน หรืออาจทำได้โดยการจัดแบ่งสิ่งเร้าที่จะต้องจำแกเป็นประเภทต่างๆตามคุณสมบัติที่มีร่วมกัน จากการทดลองที่ให้ผู้เรียน เรียนบทเรียน 4 บท โดยกลุ่มหนึ่งเรียนบทเรียนที่จัดไว้เป็นหมวดหมู่ ส่วนผู้เรียนอีกกลุ่มหนึ่งเรียนบทเรียนเดียวกันแต่ไม่ได้จัดไว้เป็นหมวดหมู่ แล้วทดสอบความจำปรากฏว่า กลุ่มแรกสามารถจำได้ 65 เปอร์เซ็นต์ของบทเรียนทั้งหมด ส่วนกลุ่มหลังจำได้เพียง 19 เปอร์เซ็นต์นอกจากนี้ อาจจัดแบ่งสิ่งที่เร้าที่จะต้องจำเป็นกลุ่มเช่น หมายเลขโทรศัพท์ที่มีหลายตัวให้แบ่งเป็นกลุ่มจะทำให้จำได้ง่ายขึ้น เช่น 277-1249 การจำสิ่งต่างๆอาจจำเป็นกลุ่มเช่น ราบชื่อผลไม้หรือรายชื่อของใช้ในครัวจะทำให้จำง่ายขึ้น
                                  ฉันคิดว่าสิ่งที่สามารถจัดเป็นกลุ่มที่สามารถทำให้เราจำง่ายขึ้นมีอีกหลายอย่าง เช่น การเขียนรายการของที่จะซื้อไว้เป็นหมวดๆ คือ รายการผักหมวดหนึ่ง รายการผลไม้อีกหมวดหนึ่ง รายการเนื้อสัตว์อีกหมวดหนึ่ง หรือการไปซื้อของใช้ส่วนตัวอาจจะซื้อเกี่ยวกับแชมพู ยาสระผม สบู่ แปรงสีฟัน ควรจะจัดให้อยู่ในหมวดเดียวกัน
                                2. การทบทวนตนเอง(Self-recitation) การทบทวนตนเองในขณะที่เรียนจะช่วยให้จำบทเรียนได้มากขึ้น เช่น นักศึกษาที่มีเวลาเพียง 3 ชั่วโมงที่จะต้องศึกษาบทเรียนที่สามารถอ่านให้จบได้ภายใน 30 นาที การอ่านบทเรียนนี้ 6 ครั้ง จะได้ผลน้อยกว่าการอ่านบทเรียนนั้นเพียงครั้งเดียวแล้วปิดหนังสือระลึกทบทวนว่าสิ่งที่มีในบทเรียนมีอะไรบ้าง ถ้าหากยังระลึกไม่ได้หมดก็อ่านซ้ำอีกครั้งหนึ่ง แล้วพยายามศึกษาส่วนที่ยังจำไม่ได้มากกว่าส่วนอื่น


จัดทำโดย น.ส กัญรัตน์ สินยัง ม.5/1 เลขที่34
ข้อมูลจาก 
หนังสือ: จิตวิทยาทั่วไป
สำนักพิมพ์ : ธรรมศาสตร์, สนพ. ม.


0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

About this blog

Research & Knowledge Formation

Blog Archive