นวดกาย  สบายใจ


ไม่มีใครปฏิเสธได้อย่างเต็มปากว่าตนเองไม่เคยเหนื่อย  ทุกคนล้วนแล้วแต่เหนื่อยกันทั้งนั้น  แต่การเหนื่อยของแต่ละคนอาจจะมาจากสาเหตุที่ต่างกัน  บางคนอาจเหนื่อยมาจากการทำงาน  บางคนอาจเหนื่อยมาจากการเรียนหนังสือ  หรืออีกหลายสาเหตุที่นับไม่ถ้วน  และถ้าพูดถึงวิธีการแก้ปัญหาเหล่านี้หละ  ทุกคนจะนึกถึงอะไร  แต่ถ้าให้ทายนะค่ะ  บางคนก็อาจจะไปพักผ่อนหย่อนใจกับครอบครัวตามสถานที่ต่างๆ  ไม่ว่าจะเป็นทะเล  น้ำตกหรืออีกต่างๆเยอะแยะมากมาย  หรือบางคนอาจหาทางออกด้วยการหยุดงานและอยู่บ้านแทน  เชื่อค่ะว่าทุกคนมักมองหาทางออกด้วยวิธีการต่างๆและก็มองข้ามวิธีการพื้นฐานง่ายๆอย่างเช่นการนวดไป


                หลายต่อหลายคนอาจจะอ่อนล้าจากการทำงานต่างๆไม่ว่าจะเป็นธุรกิจส่วนตัว  หรือการทำงานเพื่อส่วนรวม  หลายๆคนอาจจะปวดเมื่อยตามที่ต่างๆ  วันนี้ดิฉันเลยเอาเคล็ดลับเกี่ยวกับการนวดมาเล่าสู่กันฟังค่ะ  แต่ก่อนที่เราจะเรียนรู้วิธีการต่างๆเกี่ยวกับการนวด  เราไปทำความรู้จักกับการนวดก่อนดีกว่าค่ะ  ว่าการนวดคืออะไร  และมีประวัติความเป็นมาอย่างไร


ประวัติความเป็นมาของการนวด

การนวดเกือบจะเป็นสิ่งแรกที่มนุษย์เรารู้จักนำมาใช้ในการบำบัดรักษาอาการปวด  แต่ต่อมาภายหลัง  ได้มีคนค้นพบว่าการนวดยังมีประโยชน์ในการรักษาโรคอื่นบางโรคได้  เป็นการรักษาร่วมตลอดจนการนวดเพื่อส่งเสริมสุขภาพ  (Hippocrates)  เป็นบิดาแห่งการแพทย์แผนใหม่ยังเล็งเห็นความสำคัญและกล่าวไว้ว่า  “แพทย์ทุกคนควรมีความรู้เรื่องการนวด”  การแพทย์ที่ผ่านมานั้นเรายึดถือตะวันตกเป็นแม่แบบ  ปัจจุบันกระแสนิยมไทยกำลังได้รับการส่งเสริมจึงได้รับการฟื้นฟูจนกลับมาเป็นที่นิยมของคนไทยและชาวต่างชาติ  และยังเป็นที่นิยมอย่างมากในสปาอีกด้วย  และหนึ่งในนั้นก็หนีไม่พ้นการนวดแผนไทย แต่เอ๊ะบางคนอาจจะถามว่าการนวดคืออะไรและทำไมต้องเรียกว่า “นวด” เราไปดูย่อหน้าต่อไปเลยค่ะ


                Graham  ค.ศ. 1884  ได้ให้คำจำกัดความของการนวด  (massage)  ว่าหมายถึงกระบวนการต่างๆที่กระทำโดยมือ  เช่น  friction,rolling  and  percussion  บนเนื้อเยื่อด้านนอกของร่างกายด้วยวิธีการต่างๆกัน  เพื่อวัตถุประสงค์ในการรักษา  ประคับประคองและเพื่อสุขอนามัย  ดังนั้นการนวดจึงมีความหมายว่า  “การใช้มืออย่างมีติสัมปชัญญะ  เพื่อกระทำบนร่างกาย  โดยมีวัตถุประสงค์ในการบำบัด”  และสำหรับประวัติการนวดนั้นมีดังต่อไปนี้
                ประวัติการนวดนั้นมีมายาวนาน  หลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดเกี่ยวกับการนวดพบในทวีปเอเชียนี่เองคือประเทศจีนเมื่อประมาณ  4,500  ปีมาแล้ว  ต่อมาญี่ปุ่นได้นำแบบอย่างวิธีการนวดมาจากจีนเมื่อประมาณ  600  ปีก่อนคริสตศักราช  การแพทย์ระบบอายุรเวทอินเดียย้อนหลังไปอย่างน้อย  500  ปีก่อนคริสตศักราชก้กล่าวถึงการนวดไว้เช่นเดียวกัน
                ในกรีกโบราณ  (450-377 ปีก่อนคริสตศักราช)  และ  Aristotle  (384-322 ปีก่อนคริสตศักราช)  ก็กล่าวถึงการนวดว่ามีหลายข้อบ่งชี้  ในยุคนี้สถานที่ที่นิยมใช้ออกกำลังกาย  นวดและอาบน้ำอยู่ร่วมกันด้วย  ต่อมาในอาณาจักรโรมัน  (27 ปีก่อนคริสตศักราช-ค.ศ.476)  ก็ยังมีสถานการณ์เช่นนั้นอยู่ซึ่งก็เป็นคำที่ใช้มาจนถึงปัจจุบันนี้คือ  ยิมเนเซี่ยม  นั่นเอง  ข้อเขียนเกิดกับกรีกและโรมัน  ซึ่งรวมถึงการนวดด้วยได้ถูกกล่าวถึงอีกครั้งในยุโยปในยุคเนชองค์  ช่วงทศวรรษที่ 14-17  และต่อมาได้รับความสนใจในแง่ของการรักษาในประเทศต่างๆได้แก่  ฝรั่งเศส,อังกฤษ,เยอรมัน  และสวีเดน จึงทำให้คำต่างๆเกี่ยวกับการนวดพื้นฐานเป็นภาษาฝรั่งเศส  การนวดได้รับความนิยมอย่างมากในสวีเดนจนกระทั่งมีโรงยิมที่เปิดสอนการนวด  เพื่อการบำบัด  คือ  The Royal Institude of Gymnastics  ในกรุงสต็อกโฮม  ปี 181  และทำให้การนวดแบบ  Swedish  ที่ทุกคนทราบกันดีว่าเป็นของคนสวีเดน  แพร่หลายไปทั้งยุโรปและอเมริกาตราบจนทุกวันนี้
                สำหรับการนวดแผนไทยเริ่มจากความสัมพันธ์สายใยภายในครอบครัวที่ช่วยเหลือกันเพื่อบรรเทาอาการปวดเมื่อย  ฟกช้ำ  เช่น  สามีนวดให้ภรรยา  ลูกนวดให้พ่อกับแม่  หลานนวดให้ปู่กับย่าและตากับยาย  จนมีความชำนาญและช่วยเพื่อนบ้านต่อไป  ในที่สุดก็เกิดเป็นอาชีพหมอนวดขึ้น



นวดแล้วดีอย่างไร
                นี่อาจจะเป็นคำถามที่หลายๆคนสงสัย  เรามาดูกันค่ะ
1.)นวดเพื่อสุขภาพหรือการนวดเพื่อผ่อนคลาย  ผู้ที่มารับบริการนวดนั้น  ส่วนหนึ่งเป็นคนปกติที่ไม่มีโรคใดๆชัดเจน  เพียงแต่มีอาการเมื่อยล้าเป็นธรรมดาเนื่องจากเดินทางไกล  ทำงานหนัก  หรืออยู่ในอิริยาบถใดอิริยาบถหนึ่งนานๆ  จึงมาขอรับบริการนวดเพื่อผ่อนคลายเท่านั้น  หลังจากนวดแล้ว  ผู้รับบริการจะรู้สึกสบาย  รู้สึกผ่อนคลาย  แจ่มใสและกระฉับกระเฉงขึ้น
2.)การนวดเพื่อการรักษา  และฟื้นฟูสมรรถภาพ  ผลจากการนวดที่ใช้ในการบรรเทาอาการหรือรักษาโรคได้นั้นเกิดจากปฎิกิริยาของร่างกายที่ตอบสนองต่อการนวดดังนี้
   2.1)ผลทางกลศาสตร์  (Mechanical effects)  เป็นผลที่มีหลักฐานน่าเชื่อถือที่สุด  สามารถเข้าใจได้ง่ายและวัดผลได้จริง  การนวดทำให้มีการเคลื่อนไหวใยกล้ามเนื้อ  ทำให้กล้ามเนื้อต่างๆที่ติดกันลดความตึงลงทำให้คลายจุดปวดเมื่อยได้เป็นอย่างดี  และยังช่วยบีบไล่หลอดเลือดและท่อน้ำเหลือง  ทำให้การไหลเวียนของโลหิตในน้ำเหลืองดีขึ้น  พาเลือดใหม่ไปไล่เลือดเสียออกจากบริเวณที่มีปัญหา  การกดเบาๆบริเวณผิวหนังจะเพิ่มการไหลเวียนเฉพาะที่  แต่ถ้านวดแรงจะไปเพิ่มการไหลเวียนการเลือดดำในระดับตื้น  และส่งผลต่อเนื่องไปถึงการไหลเวียนของหลอดเลือดแดง  ส่วนการไหลของน้ำเหลืองพบว่าการเพิ่มการไหลของน้ำเหลืองได้ 7-10 เท่า  การนวดระดับลึกยังส่งผลต่อพังผืดและเนื้อเยื่อเกี่ยวพันอีกด้วย  สามารถแก้ไขการจำกัดการเคลื่อนไหวของข้อ  ข้อยึดติดที่ไม่รุนแรงและแผลเป็นได้
   2.2)ผลทางระบบประสาทและรีเฟล็ก  (Neural reflex effects)  เป็นการกระตุ้นที่  peripheral recapter  เกิดปฎิกิริยาโดยตรงต่อบริเวณที่ถูกนวด  ทำให้กล้ามเนื้อคลายตัวและส่งกระแสประสาทไปตามเส้นประสาทขนาดใหญ่  ไปยังประสาทไขสันหลังและสมอง  และช่วยบรรเทาอาการปวดได้  ซึ่งความปวดจะส่งกระแสประสาทวิ่งไปตามเส้นประสาทขนาดเล็ก  เช่น  ทฤษฎีการควบคุมประตูรับความรู้สึก  การนวดสามารถเพิ่มความทนทานอาการปวดได้ดีขึ้น  ดังนั้นแม้ว่าอาการปวดยังมีระดับคงเดิมก็จะไม่ปวดเหมือนเดิมแล้วเพราะมีความทนทานมากขึ้น
                   2.3)ผลทางจิตใจ  (Psychological effects)  อยากให้ทุกคนนึกภาพตามนะค่ะว่าตอนนี้เรากำลังนวดอยู่ที่สปาหรือไม่ก็ชายทะเล  ทำให้เรารู้สึกผ่อนคลายและสบาย  ลดความวิตกกังวล  ลดความตึงเครียดของจิตใจ  และส่งผลกลับไปช่วยเพิ่มความต้านทานโรคได้อีก  เห็นแล้วยังค่ะว่าสบายใจแค่ไหน  ส่วนทฤษฎีการแพทย์แผนไทยแบ่งความรุนแรงและความสามารถในการรักษาเป็น 3 กลุ่ม  ดังนี้
             2.3.1)กลุ่มที่รักษาแล้วหายขาด  ได้แก่โรคทางระบบกล้ามเนื้อกระดูก
                      2.3.2)กลุ่มที่รักษาเพื่อบรรเทาอาการ  คือ  ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้แต่สามารถฟื้นฟูสมรรถภาพได้  หรือทำให้อาการทุเลาลงได้  เช่น  ปวดข้อต่างๆเรื้อรัง  สมรรถภาพทางเพศหย่อน  เป็นต้น
                           2.3.3)กลุ่มที่นวดเพื่อที่จะรักษาโรคแทรกซ้อน  คือ  โรคที่ค่อนข้างรุนแรง  อาการเสี่ยงมากโอกาสดีขึ้นน้อยมาก  มักจะเกิดโรคแทรกซ้อนขึ้นมาอีก  การนวดทำให้อาการเกร็งลดลงและการดัดดึงช่วยป้องกันข้อติด  เห็นแล้วยังค่ะว่าการนวดดีจริงๆ  แล้วจะรอช้าอยู่ไรค่ะ  หันมานวดกัน
                นอกจากการนวดจะมีประโยชน์หลายอย่างแล้ว  อีกอย่างหนึ่งที่ไม่อยากให้พลาดคือการนวดแผนไทยเพื่อการรักษา


การนวดแผนไทยเพื่อการรักษา
                อย่างที่รู้กันดีนะค่ะว่าการนวดแผนไทยก็ต้องเป็นของคนไทย  ดังนั้นการนวดแผนไทยเป็นเอกลักษณ์และเป็นจุดขายให้ชาวต่างชาติต้องมาใช้บริการ  ช่วยทำรายได้เข้าประเทศ  ดังนั้นจำเป็นที่จะต้องรู้และเข้าใจ  จนสามารถอธิบายได้เป็นอย่างดีถึงความแตกต่าง  และประโยชน์ของการนวดแบบไทยซึ่งพบว่าเทคนิคการนวดแผนไทยมีมากกว่าเทคนิคของ  การนวดแบบสวีดิช  แต่ยังมีการยืดกล้ามเนื้อ  (stretching)  ดึงข้อต่อ  (Traction)  และที่สำคัญคือมีการปรับโครงสร้างกล้ามเนื้อตามกระดูกสันหลัง  (spinal manipulation)  แบ่งออกป็น 2 แบบ  ได้แก่
                1.)การนวดแบบเชลยศักดิ์  มีจุดกำเนิดมาจากการนวดเพื่อช่วยเหลือกันเองในครอบครัวของชาวบ้าน  ดังนั้นหมอนวดจึงใช้อวัยวะอื่นในการนวดนอกจากมือ  ได้แก่  ศอก,ท่อนแขน,ส้นเท้า  เป็นต้น  ส่วนท่าทางการนวดก็มีหลากหลายแบบ  ไม่เพียงแต่บีบหรือกดเท่านั้น  หลังจากนวดแล้วผู้มารับบริการจะรู้สึกสบายขึ้นทันที  แต่ถ้าหากผู้มารับบริการมีโรประจะตัว  ควรตรวจจากแพทย์ให้เรียบร้อยก่อนเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดอันตรายได้




              2.)การนวดแบบราชสำนัก  หรือการนวดอายุรเวท  (แพทย์แผนไทยประยุกต์)  เป็นการนวดที่ใช้ในพระราชวัง  ดังนั้นท่าต่างๆควรจะต้องสุภาพ  และมักนวดโดยใช้นิ้วมือกดลงบนร่างกาย  (friction massage)  เท่านั้นเพื่อควบคุมไม่ให้น้ำหนักมากเกินไป  และไม่ให้เป็นที่ล่วงเกินต่อพระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์  โดยมีข้อปฏิบัติอย่างเคร่งครัด  เช่น  หมอนวดต้งเดินเข่าเข้าหาผู้รับบริการเมื่อเข้าใกล้ไม่น้อยกว่า 4 ศอก  จนห่างจากผู้รับบริการ 1 ศอกจึงนั่งพับเพียบ



วิธีการนวดพื้นฐาน
                การจำแนกวิธีพื้นฐานของการนวดที่นิยมที่สุด  คือใช้ระบบ  (swedish)  แบ่งเป็น 4  วิธีได้แก่
              1.)Effleufage or stroking massage  คือการใช้มือไล้บนผิวหนังอาจลงน้ำหนักเบาหรือแรงก็ได้ซึ่งจะส่งผลแตกต่างกัน  การลงน้ำหนักแรงต่องเนื่องเป็นเวลายาวจะให้ผลทางกลศาสตร์ระดับลึกโดยออกแรงไล่จากส่วนปลายเข้าหาส่วนกลางของแขนขา  หลัง  และคอ  ส่งผลทำให้รู้สึกผ่อนคลายโดยถ้าใช้จังหวะเร็วจะเป็นการกระตุ้น  จังหวะช้าจะผ่อนคลาย
                2.)Petrissage or compression massage  คือการบีบเนื้อเยื่ออ่อนบนร่างกายโดยอาศัยแรงบีบระหว่าง 2 มือ  หรือมือเดียวกดลงบนส่วนต่างๆ  มีประโยชน์ในการช่วยเคลื่อนย้ายของเหลวและเนื้อเยื่อที่ยึดแน่นหรือสลายพังผืดของเนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อ
                3.)Friction massage  คือการส่งแรงเคลื่อนไหวแบบกลมหรือแนวขวางผ่านทางปลายนิ้วซึ่งมักใช้นิ้วโป้ง หรือส้นมือลงบนเนื้อเยื่อ  ซึ่งจะทำให้มีพื้นทีเพียงเล็กที่รับแรงนั้นแต่ละครั้งทำให้แรงสามารถทะลุจากผิวตื้นลงไปสู่ระดับลึกได้ดี
                    4.)Tapotement or percussion massage  คือการใช้มือตบหรือลงแรงบนเนื้อเยื่อเป้นจังหวะโดยมีรูปแบบต่างกัน
                สำหรับการนวดนั้น  นวดอย่างเดียวคงไม่ได้ผลเท่าไหร่นัก  ต้องมีวัตถุดิบหรือวัสดุอื่นที่ช่วยเสริมในการนวดเพื่อทำให้การนวดมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นั่นคือ น้ำมันนวด


5  น้ำมันนวดยอดนิยม
                น้ำมันทั้ง 5 ชนิดนี้รับรองค่ะว่าดีจริง  แต่อาจจะแตกต่างกันบ้าง  ตรงที่สรรพคุณของแต่ละชนิด  ราคา  สี  กลิ่น  และอีกต่างๆ
                1.)น้ำมันเมล็ดอัลมอนด์ (Sweet Almond Oil)  สามารถนำไปทาผิวหน้าและทั่วร่างกาย  รวมทั้งมือเล็บและบริเวณที่กร้าน  เช่น  ข้อศอก  หัวเข่า  ส้นเท้าแตก  น้ำมันมีถั่วอ่อนๆซึมซับได้เร็วไม่หนืด  ราคาย่อมเยา มี  (moisturizer)  บำรุงผิวและช่วยป้องกันรังสี uv ได้
               2.)น้ำมันเมล็ดองุ่น  (Grape Seed Oil)  ช่วยต้านอนุมูลอิสระ  เป็นน้ำมันทาผิวกายหรือผิวหน้าช่วยทำให้ผิวชุ่มชื้นหรือเป้นน้ำมันนวดทารก
       3.)น้ำมันเมล็ดมะรุม  (Moriga Seed Oil)  ใช้บำรุงผิวให้ชุ่มชื้น  ลดอาการแพ้ผดผื่นคันของผิวหนัง  มีสาร  Benzylisothiocyanate  ที่มีคุณสมบัติเป็นยาปฏิชีวนะอ่อน  ฆ่าเชื้อโรคได้  จึงทำให้ลดอาการอักเสบของผิวหนังและอีกมากมาย
               4.)น้ำมันมะกอก  (Oilive Oil)  มีสารต้านอนุมูลอิสระ  ช่วยชะลอริ้วรอยและสมานแผลได้  นิยมทาป้องกันท้องลายในระหว่างตั้งครรภ์และทาผิวทารก  ผิวเด็กและหมักผม
                5.)น้ำมันโจโจบา  (Jojoba Oil)  นิยมใช้เป็นน้ำมันทาตัว  และบำรุงผิวหน้า  ทาริมฝีปาก  ช่วยขจัดสิ่งสกปรกที่รูขุมขน  หมักผมแห้งได้ดี  นิยมนำไปเป็นส่วนผสมของเครื่องสำอางต่างๆ
                อีกอย่างหนึ่งที่เชื่อว่าคุณผู้หญิงไม่ควรพลาด  และหัวข้อนี้ต้องโดนใจคุณผู้หญิงเป็นแน่



ชะลอวัยกับการนวด
                Anti-aging  หริอชะลอวัย  เป็นศาสตร์อย่างหนึ่ง  ควรเริ่มต้นปฏิบติตั้งแต่อยู่ในวัยหนุ่มสาว  ด้วยการดูแลสุขภาพตนเองในการจักการกิน  การอยู่  การออกกำลังการและอารมณ์  แต่หลายคนบอกว่า  เอ๊ะ  แล้วเกี่ยวอะไรกับการนวดล่ะ  ดิฉันจะบอกให้ฟังค่ะ
                การที่ผิวหนังและกล้ามเนื้อแห้งกร้าน  อ้วนลงพุง  ปวดเมื่อยตามร่างกายเคร็ดขัดยอก  สาเหตุต่างๆเหล่านี้ล้วนมาจากการที่เลือดไหลเวียนไปส่วนต่างๆของร่างกายได้ไม่สะดวก  อาจจะเกิดจากการที่มีไขมันไปอุดตันเส้นเลือดเนื่องจากการดูแลรักษาร่างกายที่ไม่ถูกวิธี  ดังนั้นการนวดจะทำให้รู้สึกผ่อนคลาย  เลือดลมไหลสะดวก  การสูบฉีดของเลือดเพื่อนำเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายดีขึ้น  ทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง  ผิวหน้านวล  ช่วยสลายไขมันส่วนเกินและที่สำคัญทำให้ผิวหน้าดูอ่อนกว่าวัย
                สำหรับการนวด  มีสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้เพราะถ้าเราขาดอาจทำให้ผู้ที่นวดอยู่เกิดอันตรายขึ้นได้นั่นคือ  ข้อควรระวังในการนวด
 

ข้อควรระวังในการนวด
                1.)ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง  จะมีอาการมากขึ้นหากนวดบริเวณเข่าและคอ
                2.)ผู้ป่วยโรคหัวใจไม่ควรใช้น้ำมันหอมระเหยตะไคร้หอม
                3.)ผู้ป่วยที่กำลังเป็นโรคติดต่อ
                4.)ผู้ป่วยที่มีบาดแผลหรือแผลติดเชื้อ  การนวดจะทำให้แผลลุกลามเร็วมากขึ้น
                5.)ผู้ที่มีอาการไข้  หรือรู้สึกครั่นเนื้อครั่นตัวจะเป็นไข้
                6.)สตรีมีครรภ์  หากไม่แน่ใจว่าตั้งครรภ์หรือไม่  ไม่ควรนวด
                7.)สตรีมีประจำเดือนไม่ควรนวดที่ท้อง
                8.)ผู้ที่มีอาการปวดบริเวณท้องที่ไม่ทราบสาเหตุ  ไม่ควรนวดบริเวณท้อง
                9.)ควรนวดหลังรับประทานอาหารมื้อใหญ่ 1 ชั่วโมง หรือหลังรับประทานอาหารว่าง 30 นาที
                10.)ผู้ป่วยหลังพักฟื้นผ่าตัดควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับการนวด
                11.)ผู้ป่วยกระดูกหัก


                การนวดเป็นวิธีการพื้นฐานง่ายๆที่เราทุกคนมักมองข้ามมันไป  และไม่ค่อยให้ความสำคัญเท่าที่ควร  สำหรับคนที่นวดอยู่เป็นประจำ  ก็รู้ซึ้งถึงคุณค่าของการนวดว่ามีมากมายหลายอย่างมาก  สำหรับคนที่ยังมองข้ามอยู่และได้อ่านบทความนี้แล้วก็ขอให้ทุกคนนำเคล็ดลับต่างๆของการนวดไปปฏิบัติกันด้วยนะค่ะเพราะอย่างที่บอกไปว่า  การนวดนั้นมีทั้งประโยชน์และโทษแล้วแต่เราจะนำไปใช้ในชีวิตประจำวันของเรามากน้องเพียงใด  หวังว่าไม่มีใครคนไหนที่ไม่รักสุขภาพของตนเองและถ้าทุกคนรักสุขภาพก็หันมานวดกันนะค่ะ  

อ้างอิง http://th.wikipedia.org

              http://www.yesspathailand.com/
นางสาวสุกฤตา  หน่วยแก้ว เลขที่ 41 ม.5/1



0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

About this blog

Research & Knowledge Formation

Blog Archive