ภัยจากการ์ตูนต่อเด็กที่คุณอาจไม่รู้



                 ทุกวันนี้ ถึงแม้ว่าพ่อแม่จะคอยดูแลลูกหลานของตนเองอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันภัยต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นกับเด็กเหล่านั้น แต่นั่นอาจจะไม่มากพอ เพราะว่าคุณอาจจะมองข้ามภัยใกล้ๆตัวของลูกหลานท่าน โดยอาจแฝงมากับสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หนังสือ หรือข่าวสารต่างๆ อีกยังมาพร้อมกับความสนุกสนาน น่าสนใจ และเป็นที่โปรดปรานของเด็กๆ เราเรียกสิ่งนั้นว่า การ์ตูน


มารู้จักกับการ์ตูน

ความหมายคำว่าการ์ตูน และแอนิเมชัน

                 การ์ตูน  เป็นวรรณกรรมประเภทที่ถ่ายทอดความเข้าใจ ความรู้สึก ด้วยรูปภาพ ซึ่งหมายถึงภาพที่เขียนขึ้นในลักษณะต่างๆ ภาพจำลอง เป็นสิ่งจำลองของบุคคล ทำให้คนเข้าใจถึงความคิด เข้าใจเรื่องราวต่างๆ ในการเขียนก็ใช้เส้นที่ไม่ต้องประณีต แต่พอมองรู้ว่าคืออะไร
                 แอนิเมชัน  เป็นการสร้างภาพเคลื่อนไหวโดยการฉายภาพนิ่งหลายๆ ภาพต่อเนื่องกันด้วยความเร็วสูง โดยหลักการแล้วไม่ว่าจะสร้างภาพหรือเฟรมด้วยวิธีใดก็ตามเมื่อนำภาพดังกล่าวมาฉายต่อกันด้วยความเร็วตั้งแต่ 16 เฟรมต่อวินาที ขึ้นไป เราจะเห็นเหมือนว่าภาพดังกล่าวเคลื่อนไหวได้ต่อเนื่องกัน ทั้งนี้เนื่องจากการเห็นภาพติดตา

ประเภทของการ์ตูน
   ลักษณะของการ์ตูน มี 2 ลักษณะ ก็จะได้แก่

     1. การ์ตูนภาพนิ่ง จะเป็นลักษณะที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอิริยาบถท่าทางต่างๆ เป็นการบอกเล่า เรื่อง และไม่มีการดำเนินเรื่อง
     2. การ์ตูนภาพเคลื่อนไหว จะเป็นลักษณะที่มีความเปลี่ยนแปลงลีลาอิริยาบถต่างๆ ของตัวการ์ตูน จากภาพหนึ่งไปยังอีกภาพหนึ่ง
   ประเภทของการ์ตูนในประเทศไทย แบ่งได้ 5 ประเภท
    1. การ์ตูนการเมือง จะ เป็นการ์ตูนที่มุ่งเน้นการล้อเลียน เสียดสี ประชดประชันบุคคล หรือเหตุการณ์ที่สำคัญ ในไทยนิยมล้อเหตุการณ์ทางการเมือง เพื่อกระตุ้นให้ผู้อ่านอ่านเกิดความสนใจมีความคิดเห็นใหม่ๆลักษณะการ์ตูนชนิดนี้อาจมีบรรยายหรือไม่มีก็ได้
    2. การ์ตูนขำขัน จะเป็นการ์ตูนภาพเคลื่อนไหว ที่มุ่งเน้นความขบขันเป็นหลัก การ์ตูนชนิดนี้จะนิยมนำเหตุการณ์ใกล้ตัวมาเขียน เป็นการ์ตูนที่ได้รับความนิยมมากในสังคมไทย
    3. การ์ตูนเรื่องยาว จะเป็นการนำเสนอการ์ตูนที่เป็นเรื่องราวต่อเนื่องกันจนจบ การ์ตูนชนิดนี้ปรากฏอยู่ในนิตยสาร และหนังสือพิมพ์ แต่ก็มักจะพบที่นำมาพิมพ์รวมเล่มเหมือนกับ การ์ตูนเล่มของญี่ปุ่น และฝรั่ง ส่วนของการ์ตูนไทยนั้นนิยมนำเรื่องจากวรรณคดี นิทานพื้นบ้าน จักร ๆ วงศ์ๆ
    4. การ์ตูนประกอบเรื่อง จะเป็นการ์ตูนที่ใช้ประกอบกับข้อเขียนอื่นๆ ประกอบโฆษณาเพื่อขยายความ หรือการ์ตูนประกอบการศึกษา
    5. การ์ตูนมีชีวิต จะหรือการ์ตูนภาพยนตร์เป็นการ์ตูนที่มีการเคลื่อนไหวมีการลำดับภาพ และเรื่องราว ที่ต่อเนื่องกันคล้ายภาพยนตร์

                แนวเรื่องและเนื้อหาของการ์ตูน
     1.ตลกเฮฮาเน้นความสนุกสนาน อาจจะโดยทั้งเรื่อง หรือแทรกมาในบางช่วงตามเทคนิคของนักเขียน เป็นลักษณะทั่วไปของการ์ตูนส่วนใหญ่ เพื่อหวังนำเสนอกลุ่มนักอ่านส่วนใหญ่ที่เป็นเยาวชน
      2.จริงจัง ซีเรียส มักเป็นการ์ตูนประเภทกึ่งวิชาการ เนื้อหาจริงจัง เพื่อให้ดูน่าเชื่อถือ
      3.การ์ตูนวิชาการ มักจะเป็นเรื่องสั้นๆ สร้างเพื่อแนะนำบุคคล อุปกรณ์ องค์กร สถานที่ต่างๆ
   4.ลามก หยาบโลน เนื้อหารุนแรง ส่อเสียดสังคม หนังสือการ์ตูนไม่ดีประเภทนี้มักปะปนมาแอบแฝงกับหนังสืออื่นๆ ผู้ปกครองควรพิจารณาและให้ความรู้ คำแนะนำแก่เยาวชน


พบการ์ตูนในสื่อไหนบ้าง

1. สื่อสิ่งพิมพ์
   ปัจจุบันเราสามารถพบเห็นการ์ตูนในรูปแบบสื่อสิ่งพิมพ์ได้ทั่วไปโดยไม่ว่าจะเป็นในหนังสือพิมพ์ หนังสือการ์ตูน หรือหนังสือประเภทอื่นๆที่นำเสนอในรูปของการ์ตูนเรื่องต่างๆ
2. ภาพยนตร์
   ภาพยนตร์เป็นเทคโนโลยีที่นำเสนอความบันเทิงในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งเนื้อเรื่อง เพลง การแสดง ความตลกขบขัน และเทคนิคต่าง ๆ ที่จะทำให้เป็นที่นิยมของคนดูภาพยนตร์เป็นสิ่งหนึ่งที่ตอบสนองต่อการใช้เวลาว่างของคนทั้งครอบครัว การนำเสนอการ์ตูนในรูปแบบภาพยนตร์จึงเป็นจุดสำคัญในการขายการ์ตูนเรื่องนั้นๆ     
3. สื่อการเผยแพร่ภาพ
   สื่อการเผยแพร่ภาพ เป็นอีกสื่อหนึ่งที่เราสามารถพบเห็นการ์ตูนได้ทั่วไป ซึ่งอาจเป็นภาพการ์ตูนการโฆษณาสินค้า  หรือภาพการ์ตูนการรณรงค์ในเรื่องต่างๆ
4. สื่ออิเล็กทรอนิกส์
   การนำเสนอการ์ตูนในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เราสามารถพบได้ทั่วไปมากที่สุด เพราะปัจจุบันมีการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กันอย่างแพร่หลาย ไม่ว่าจะเป็นโทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ และอินเตอร์เน็ท ซึ่งเราสามารถรับชมการ์ตูนได้อย่างหลากหลาย และเกือบทุกประเภทในสื่ออิเล็กทรอนิกส์นี้
                นอกจากนี้ยังมีสื่อบางประเภท ซึ่งใช้เป็นช่องทางในการนำเสนอการ์ตูนให้เยาวชนได้รับชม โดยการ์ตูนเหล่านั้นมีเนื้อหา ภาพ หรือเสียงที่ไม่เหมาะสมกับเด็กในแต่ละช่วงอายุ  ซึ่งสื่อบางสื่อก็ได้มีการเตือนล่วงหน้าก่อนที่จะให้รับชม  แต่เราก็ไม่ได้พบการเตือนในทุกสื่อ ยังมีบางสื่อที่ไม่ได้เตือนว่าการ์ตูนเรื่องนี้เหมาะกับเด็กในช่วงอายุเท่าไร หากเด็กที่อายุต่ำกว่าที่กำหนดรับชมควรปฏิบัติอย่างไร เรามักพบได้ในสื่ออินเตอร์เน็ทบางเว็ปไซด์  เมื่อเด็กเข้าไปรับชมก็จะมักไม่มีพ่อแม่ ที่คอยแนะนำตักเตือนว่าสิ่งที่เด็กเหล่านั้นรับชมอันไหนถู อันไหนผิด


ทำไมการ์ตูนถึงอาจเป็นภัยได้

ความทันสมัย และยุคโลกาภิวัฒน์ ความคิดของคนเขียนการ์ตูน เปลี่ยนแปลงไป การเขียนการ์ตูนทำเพื่อในเชิงธุรกิจ เนื้อหาและรูปแบบการ์ตูนจึงปลูกฝังทางลบกับผู้อ่าน เช่นการ์ตูนที่มีภาพลักษณะลามก ผิดศีลธรรม และใช้วาจาหรือคำอธิบายไม่สุภาพ เป็นต้น ทำให้เกิดผลเสีย สร้างพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ให้กับผู้อ่าน เช่น
   - การ์ตูนลามก ที่ผิดศีลธรรม เป็นเรื่องธรรมดาในการ์ตูนไปแล้ว แม้จะได้ชื่อว่าเป็นสื่อสำหรับเด็ก แต่การ์ตูนก็มีเรื่องเพศแฝงอยู่เช่นกัน โดยถูกเสนอผ่านการแต่งตัวที่วาบหวิว เน้นสัดส่วนของผู้หญิง ทั้งยังมีลักษณะการพากย์ที่ส่อในทางเพศ ลามก สิ่งเหล่านี้กระผมคิดว่าอาจทำให้ทำให้เกิดการฆาตกรรม และพฤติกรรมอื่นๆ ที่ไม่เหมาะสมได้
   - ภาษาที่ใช้ไม่เหมาะสม จะทำให้เด็กนำมาใช้ในชีวิตประจำวันของเด็กได้
   - การใช้เวลาว่างหรือเวลาสำหรับกระทำสิ่งอื่นหมดไปกับการเสพการ์ตูนมากเกินสมควร  การใช้เวลาของเด็ก ๆ ที่หมดไปกับสื่อเหล่านี้ โดยเฉพาะในประเด็นที่ว่า มันได้ดึงเวลาที่ควรจะใช้ด้วยกันในครอบครัวของเด็กให้หมดไปอย่างสูญเปล่า
   - การวางโครงเรื่องหลวม การ์ตูนบางเรื่องมักมีเนื้อหาไม่สอดคล้องกับแก่นเรื่อง เช่น การ์ตูนประเภทจบในตอน จะมีการนำเสนอเนื้อหาแต่ละตอนไม่สัมพันธ์เชื่อมโยงกัน ซึ่งอาจทำให้เด็กที่รับชมเกิดการสับสน และไม่สามารถเรียบเรียงเนื้อเรื่องของการ์ตูนได้ อาจทำให้เด็กเข้าใจเนื้อหาที่การ์ตูนพยายามสื่อออกมาในทางที่ผิดไปได้ กระผมจึงคิดว่างการว่างโครงเรื่องเป็นอีกสิ่งที่ไม่ควรมองข้ามไปโดยเด็ดขาด
   - การเลียนแบบของเด็ก ในความคิดของตัวกระผม เด็กมักจะมีการเลียนแบบฮีโร่ของพวกเขาในการ์ตูน ซึ่งอาจทำให้เด็กเลียนแบบพฤติกรรมที่ไม่ดีมาใช้ในชีวิตประจำวันได้ หรือการเลียนแบบลักษณะของตัวการ์ตูนที่ไม่สามารถเป็นไปได้ในชีวิตจริง เช่น การตกจากที่สูงแล้วไม่ตาย  การโดยยิงแล้วไม่บาดเจ็บ หรือการที่ดำน้ำได้เป็นเวลานาน  สิ่งเหล่านี้หากเด็กนำไปเลียนแบบในชีวิตจริงของเด็ก ก็จะก่อให้เกิดอันตรายแก่เด็กได้








ผลการวิจัยการ์ตูน

ด้านการเลียนแบบของเด็ก
   ผลการวิจัยเรื่องนี้ ในจำนวนเด็กชาย 184 คน อายุประมาณ 2-5 ปีที่ดูโทรทัศน์รายการที่มีความรุนแรงวันละ 1 ชั่วโมง จะมีโอกาสการเป็นคนก้าวร้าวเพิ่มขึ้น 3 เท่า มากกว่าเด็กกลุ่มที่ไม่ดูรายการที่มีความรุนแรง แต่พฤติกรรมเหล่านี้ไม่ปรากฏกับเพศหญิง เราจะเห็นได้ว่าผู้ปกครองส่วนใหญ่ละเลยการดูเนื้อหารายการโทรทัศน์ว่ามีความเหมาะสมกับกลุ่มอายุของเด็กหรือไม่ กระผมคิดว่าเด็กในช่วงนั้นจำเป็นต้องมีคนอธิบายให้ฟัง  ซึ่งในควาดคิดของเด็กความรุนแรงในการ์ตูนสอนเด็กว่า ความรุนแรงที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องสนุก โดยไม่ได้คิดถึงผลที่ตามมา ซึ่งต่างจากความเป็นจริงที่มีความเจ็บปวดเกิดขึ้นหลังจากโดนกระทำอย่างรุนแรง
ด้านโครงเรื่อง
   ผลจากการศึกษาในการ์ตูนทางฟรีทีวีไทย 35 เรื่อง พบว่ามีการวางโครงเรื่อง จำแนกเป็น 8 ประเภท คือ การผจญภัย , เรื่องราวในโรงเรียน ชุมชน และสังคม , เรื่องราวในครอบครัว , เรื่องเกี่ยวกับการสืบสวนฆาตกรรม , นิยายปรัมปราและนิทานพื้นบ้านไทย , ต่อสู้ , มุ่งเน้นให้ความรู้เฉพาะเรื่อง และประเภทสุดท้ายเรื่องราวชีวิตประจำวันของเด็ก มีการตั้งข้อสังเกตว่าในการ์ตูนไทยนั้นจะให้ความสำคัญในการวางโครงเรื่องน้อยมาก เห็นได้จากการ์ตูนบางเรื่องมักมีเนื้อหาไม่สอดคล้องกับแก่นเรื่อง มีการนำเสนอเนื้อหาแต่ละตอนไม่สัมพันธ์เชื่อมโยงกัน หรืออาจจะแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ถึงแม้จะใช้ตัวละครหลักในชุดเดียวกันก็ตาม 
   นอกจากนี้ในการ์ตูนเรื่องยาวบางเรื่องยังให้ความสำคัญกับประเด็นปลีกย่อยมากกว่าการดำเนินเนื้อหาตามแก่นเรื่องที่วางไว้ เช่น การ์ตูนที่เกี่ยวกับวรรณคดีไทย จะให้ความสำคัญกับเรื่องความรัก เพศ มุขตลก มากกว่าเรื่องคุณงามความดีหรือความสามารถของตัวละครใน หากมองตามหลักการ์ตูนที่ดี ด้านเนื้อหาการ์ตูนควรมีลักษณะใฝ่สัมฤทธิ์ จะพบว่าเป็นจุดเด่นของการ์ตูนญี่ปุ่น และการ์ตูนตะวันตกที่ตัวละครหลักมีความตั้งใจจะประสบความสำเร็จอย่างใดอย่างหนึ่งให้ได้ แต่ในการ์ตูนไทยกลับไม่พบเลยตลอด 1 เดือนของการศึกษา


ทำอย่างไรให้เด็กปลอดภัยจากสื่อการ์ตูนที่ไม่เหมาะสม

เนื่องจาก เรามักจะพบว่าการ์ตูนเป็นสื่อที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายเฉพาะซึ่งได้แก่ เด็กและเยาวชน ดังนั้น การใช้ภาษาหรือกิริยาท่าทางต่างๆในสื่อการ์ตูนจะต้องมีการกลั่นกรองและใช้วิจารณญาณในการนำเสนออย่างยิ่ง โดยสามารถสรุปหลักสำคัญของการนำเสนอสื่อการ์ตูน ได้ดังต่อไปนี้
   1. ไม่ควรนำเสนอภาษาที่สื่อถึงเรื่องลามกอนาจาร หยาบคาย รุนแรงที่จะนำไปสู่พฤติกรรมการเลียนแบบ
   2. ไม่ควรนำเสนอภาษาที่จะชี้นำให้เกิดค่านิยม พฤติกรรมที่ผิด เช่น การใช้คำพูด การต่อสู้
   3. ในการนำเสนอภาษาทางสื่อการ์ตูนที่ไม่เหมาะสมกับเด็กและเยาวชน ควรมีการระบุไว้อย่าง
ชัดเจนที่ปกหรือหน้าจอ
   4. การเชื่อมโยงสื่อการ์ตูนกับการค้า ที่เป็นการมอมเมาเยาวชน เป็นสื่อที่ฟุ่มเฟือย ผู้ผลิตควร
มีจริยธรรมในการนำเสนอ ไม่ใช่มุ่งกำหนดเรตติ้ง เพื่อผลประโยชน์ทางการตลาดเท่านั้น
   5. ผู้ที่มีส่วนร่วมในการรับผิดชอบ ตรวจสอบ ควบคุมดูแล ควรมีมาตรการขั้นเด็ดขาด หรือหาวิธีการป้องกันการเผยแพร่ของสื่อการ์ตูนลามกอนาจาร ไปสู่กลุ่มผู้อ่านซึ่งเป็นเด็กและเยาวชน ผู้ผลิตการ์ตูนควรคำนึงถึงการรับรู้ของเด็กในแต่ละวัย เพราะจะทำให้แก่นเรื่องมีความชัดเจน อีกทั้งการสร้างความรู้ต้องสอดคล้องตรงกับประสบการณ์การเรียนรู้และวัยของเด็ก เพราะความสนุกของเด็ก 3 ขวบ กับเด็ก 10 ขวบนั้นแตกต่างกัน
   กระผมคิดว่า การ์ตูนที่จะนำมาออกอากาศ ควรมีการศึกษาข้อมูลและสำรวจก่อนเพื่อให้ตอบสนองความต้องการของผู้ชมได้อย่างเหมาะสม คำนึงถึงพัฒนาการด้านการเรียนรู้ของเด็ก ไม่ยัดเยียดเนื้อหาจนเกินไป นอกจากนี้ ไม่ควรมีโฆษณาสินค้าที่เป็นอันตรายหรือจะต้องใช้วิจารณญาณในการเลือกซื้อปรากฏในรายการการ์ตูนเด็ก เช่น โฆษณาถุงยางอนามัย โฆษณาเรื่องไสยศาสตร์ เรื่องลี้ลับเหนือธรรมชาติ ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ รายการการ์ตูนจะต้องมีการกำหนดเรตติ้งที่ถูกต้องตรงกับเนื้อหาที่ออกอากาศอย่างแท้จริง
   การ์ตูนกับเด็กนั้นแทบแยกจากกันไม่ได้ ที่สุดแล้วการผลิตการ์ตูนเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กย่อมเป็นสิ่งสำคัญ แต่ปัจจัยที่เหนือกว่านั้นคือการทำให้ผู้ปกครองอยู่เคียงข้าง เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการอย่างถูกทาง ท่ามกลางพื้นที่สื่อเสรี ที่อาจแฝงพื้นที่เสี่ยงเช่นปัจจุบัน


การ์ตูนก็มีข้อดีเหมือนกัน

เราลองมามองการ์ตูนในเชิงบวก จะเห็นด้านดีของการ์ตูนนั้นมีอยู่ ใช่ว่าจะเห็นเฉพาะด้านลบเท่านั้น ผลการศึกษายังสะท้อนด้านดีทั้งการ์ตูนไทย และการ์ตูนต่างประเทศ โดยเฉพาะการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ประเพณีของการ์ตูนไทยนั้นถือว่ามีความโดดเด่นมาก ซึ่งหากมองในภาพรวม จะพบด้านดีของการ์ตูนอยู่หลายด้าน เช่น การช่วยเหลือผู้อื่น, การเป็นคนมีมนุษยสัมพันธ์ดี มีมิตรภาพ, รักการเรียนรู้, มีน้ำใจ รู้จักแบ่งปัน, ขยันหมั่นเพียร, รักสิ่งแวดล้อม, มีความสามัคคี, มีความกล้าหาญ, รู้จักสำนึกผิด และยึดมั่นในความดี และอีกหลายอย่าง
นายอรุณฉัตร คุรุวาณิชย์ ประธานสภาเด็กและเยาวชนกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า ไม่อยากให้มองว่าการ์ตูนมีด้านร้ายและความรุนแรงเสมอไป เพราะการ์ตูนดีๆ นั้นมีอยู่ และพฤติกรรมการเลียนแบบการ์ตูนที่เข้ามาในชีวิตของเด็กแต่ละคนนั้น สักวันหนึ่งจะหายไปตามวัยและวุฒิภาวะที่มากขึ้น และเชื่อว่าไม่มีใครที่จะเลียนแบบการ์ตูนเสมอไป
"ความรุนแรงในการ์ตูนที่เป็นแบบธรรมะชนะอธรรมนั้นก็มีด้านดี และแน่นอนคือทำให้เด็กเป็นคนดีมากกว่าคนไม่ดี เพราะใครๆ ก็อยากเป็นพระเอก"

                การ์ตูนนั้นสามารถเป็นภัยต่อเด็กได้ โดยพ่อแม่อาจจะไม่ได้คาดคิดในเรื่องนี้  ดังนั้น พ่อแม่ควรที่จะหันมาดูแลเอาใจใส่เรื่องนี้ให้มากขึ้น แม้ว่าจะเป็นเพียงจุดเล็กๆน้อยๆ สิ่งนั้นอาจทำให้เด็กเดินไปในทางที่ไม่เหมาะสมได้  และถ้ามองในเชิงบวก การ์ตูนนั้นสามารถเป็นสิ่งที่ทำให้เด็กรู้จักคิดได้ หากมีบุคคลที่คอยให้คำปรึกษา คำแนะนำในจุดที่ไม่เหมาะสมกับเด็กอยู่เสมอ

เขียนโพสต์
นายอดิเทพ    ละม้าย เลขที่ 9 ม.5/1


อ้างอิง:
 - ประเสริฐ  ผลิตผลการพิมพ์.  (2544).  การ์ตูนสุดที่รัก.  กรุงเทพมหานคร: มติชน
 - สุพัดรา  แช่ลิ่ม.  (2554).  สอนเด็กอย่างไร ให้ ดี เก่ง และมีความสุข.  กรุงเทพมหานคร: โป๊ยเซียน

 - ประเสริฐ  ผลิตผลการพิมพ์.  (2544).  การ์ตูนติดเรท ศตวรรษที่21.  กรุงเทพมหานคร: มติชน


1 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า... 28 ธันวาคม 2559 เวลา 07:41  

คือจริงๆแล้วการ์ตูนบางเรื่องมันก็ไม่ได้ทำมาให้เด็กดูนะครับ

แสดงความคิดเห็น

About this blog

Research & Knowledge Formation

Blog Archive