มะเร็งเกิดได้ก็หายได้
มะเร็ง คือ
กลุ่มของโรคที่เกิดเนื่องจากเซลล์ของร่างกายมีความผิดปกติ ที่ DNA หรือสารพันธุกรรม ส่งผลให้เซลล์มีการเจริญเติบโต
มีการแบ่งตัวเพื่อเพิ่มจำนวนเซลล์ รวดเร็ว และมากกว่าปกติ ดังนั้น
จึงอาจทำให้เกิดก้อนเนื้อผิดปกติ และในที่สุดก็จะ ทำให้เกิดการตายของเซลล์ในก้อนเนื้อนั้น
เนื่องจากขาดเลือดไปเลี้ยง เพราะการ เจริญเติบโตของหลอดเลือด
ถ้าเซลล์พวกนี้เกิดอยู่ในอวัยวะใดก็จะ เรียกชื่อ มะเร็ง ตามอวัยวะนั้นเช่น
มะเร็งปอด มะเร็งสมอง มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็ง เม็ดเลือดขาว
มะเร็งต่อมน้ำเหลือง และมะเร็งผิวหนัง เป็นต้น
มะเร็งในประเทศไทย
ในปี พ.ศ. 2549 ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็ง
66,000 ราย โดยในผู้ชายพบมะเร็งปอดมากที่สุด 5,535 ราย รองลงมาคือโรคมะเร็งตับ ส่วนผู้หญิงพบมะเร็งปากมดลูกมากที่สุด 1,484 ราย รองลงมาคือ มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม
ตารางที่ 1 สถิติมะเร็งที่พบมากที่สุด 10 อันดับแรกในประเทศไทย พ.ศ. 2553
อันดับ
|
โรคมะเร็งที่พบบ่อยในเพชาย
|
จำนวน (%)
|
โรคมะเร็งที่พบบ่อยในเพหญิง
|
จำนวน (%)
|
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
|
หลอดลม, ปอด
ลำไส้ใหญ่
ตับ, ท่อน้ำดี
หลอดอาหาร
คอหอยส่วนจมูก
มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
ลิ้น
ปาก
กล่องเสียง
กระเพาะอาหาร
|
23.6
21.5
17.3
8.2
6.6
6.4
4.8
4.5
3.7
3.6
|
เต้านม
คอมดลูก
ลำไส้ใหญ่
หลอดลม, ปอด
มดลูก
รังไข่
ตับ
ไทรอยด์
มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
กระเพาะอาหาร
|
47.8
16.2
10.4
7.1
4.0
4.0
3.5
2.6
2.4
2.0
|
อาการของโรคมะเร็ง
อาการของโรคมะเร็งเต้านม
1. มีอาการเจ็บปวดเต้านมข้างหนึ่งในระดับเบาหรือบริเวณไหล่
2. สามารถสัมผัสได้ว่าเต้านมมีก้อนขนาดเท่าถั่วปากอ้าอยู่และไม่เจ็บ
3. ผิวหนังบริเวณที่มีก้อนเนื้อจะนูนขึ้น
ผิวหนังบริเวณหน้าอกบุ๋มลงไปหรือหย่อน และผิวหนังของเต้านมหนาขึ้น
และรุขุมขนใหญ่ขึ้น
4. หัวนมเน่าและไม่สม่ำเสมอ
5. หัวนมมีของเหลวไหลออกมาซึ่งออกมาจะเป็นเลือดหรือของเหลวปนเลือด
อาการของโรคมะเร็งปอด
1. มีการไอ
เนื่องด้วยขนาดและตำแหน่งของก้อนเนื้อไม่เหมือนกันก็จะส่งผลให้อาการไอไม่เหมือนกันทั้งไอแห้ง
ไอหอบและไอเสียงดัง
2. ไอเป็นเลือดหรือเสมหะเป็นเลือด
ประมาณ 15 เปอร์เซ็นของผู้ป่วยที่ไอมีเสมหะ เสมหะจะมีสีขาว
แต่ถ้ามีเนื้องอก เสมหะจะเป็นเลือด
3. มีไข้ต่ำ เพราะเนื้องอกที่ปอดจะอุดตันหลอดลมใหญ่
จากนั้นจะเกิดปอดอักเสบอุดตันบ่อยๆ วัดระดับออมาไม่ปกติ ผู้ป่วยบางคนมีไข้ต่ำ
บางคนมีไข้สูง
4. ในระยะเริ่มแรกปอดบริเวณหน้าอกจะยังไม่แสดงอาการไม่ชัดเจน
อาการหลักๆ ที่แสดงออกมาคือ ปวดแบบจุกๆ ปอดอยู่ภายใน
ตำแหน่งไม่แน่นอนและไม่ชัดเจนว่าเกี่ยวข้องกับการหายใจ หากมีอาการปวดบวมเรื่อย ๆ
แสดงว่ามะเร็งอาจจะไปถึงเยื่อหุ้มปอด
อาการของโรคมะเร็งปากมดลูก
1. ประจำเดือนมาผิดปกติหรือเมื่อหมดประจำเดือนแล้วยังมีเลือดออกทางช่อคลอด
2. น้ำคัดหลั่งจากช่องคลอดเพิ่มมากขึ้น
น้ำคัดหลั่งจะเป็นสีขาวหรือปนเลือด อีกทั้งมีกลิ่นเหม็นคาวตามมาด้วย
3. ซูบผอมลิตจาง
เป็นไข้และเกิดภาวะอ่อนเพลียทางร่างกาย
อาการของมะเร็งต่อลุกหมาก
1. เกิดความลำบากในการปัสสาวะ
ปัสสาวะขัด เกิดความเจ็บปวด ปัสสาวะเป็นเลือดหรืออั้นปัสสาวะไม่อยู่
2. บริเวณช่องระหว่ากระเพาะปัสสาวะกับลำไส้จะถูกแทรกซึม
ซึ้งบริเวณนี้ครอบคลุมไปถึงต่อมลูกหมาก ถุงน้ำอสุจิ ท่อน้ำอสุจิ
ส่วนปลายล่างของท่อปัสสาวะ เป็นต้น
ถ้าเนื้องอกลุกล้ำและกดทับไปยังท่อน้ำอสุจิก็จะทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการปวดเอวและมีอาการเจ็บปวดบริเวณด้านล่างของต่อมลูกหมาก
อาการของโรคมะเร็งตับ
1. ความอยากอาหารบดบงอย่างเห็นได้ชัด
เนื่องจากรู้สึกว่าท้องแน่นอืด การย่อยอาหารไม่ดี เกิดอาการอาเจียน
2. ปวดท้องด้านขวาบน
ปวดอย่างต่อเนื่องหรือเป็นบางครั้งบางคราว
บางครั้งถ้าเนื้องอกมีอาการลุกลามอาการก็จะรุนแรงขึ้น
3. มักมีเลือดไหลทางจมูก
เลือดออกทางผิวหนัง อ่อนเพลีย ผอม ไข้และบวมน้ำโดยไม่ทรายสาเหตุ ตัวเหลือง ท้องบวม คันจามผิวหนัง
ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็ง
จากอัตราการมีผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งในประเทศไทย ทำให้ทราบว่าโรคมะเร็งนั้นเกิดมาจากปัจจัยหลายๆอย่าง รวมไปถึงการใช้ชีวิตประจำวันในแต่ละวันด้วย จึงทำให้ทุกคนล้วนเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งมะเร็งกันทั้งสิ้น ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งมีดังนี้
1. ผู้ที่สูบบุหรี่ จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งของระบบหายใจได้แก่ ปอด และกล่องเสียง
2. ผู้ที่ดื่มสุราเป็นประจำ จะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง
ตับ ถ้าทั้งดื่มสุราและสูบบุหรี่จัด จะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง
ช่องปากและในลำคอด้วย
3. ผู้ที่เป็นพาหะของเชื้อ ไวรัสตับอักเสบชนิดบี หรือผู้ที่ชอบรับประทานอาหารที่มีสารพิษ
ชื่อ
อัลฟาทอกซิล ที่พบจากเชื้อราที่ปนเปื้อนในอาหาร เช่น
ถั่วลิสงป่น เป็นต้น หากรับประทานประจำจะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งตับ
และหากได้รับทั้ง 2 อย่าง โอกาส จะเป็นมะเร็งตับมากขึ้น
4. ผู้ที่รับประทานอาหารที่มีไขมันสูงเป็นประจำ
จะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง เต้านม ลำไส้ใหญ่ เยื่อบุมดลูก และต่อมลูกหมาก
5. ผู้ที่ติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ
และรับประทานอาหารที่ใส่ดิน ประสิวเป็นประจำ
จะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งท่อน้ำดีในตับ
6. ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องอันเกิดจากความผิดปกติจากพันธุกรรมหรือติดเชื้อไวรัสเอดส์
จะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งปากมดลูก มะเร็งของหลอดเลือด เป็นต้น
7. ผู้ที่รับประทานอาหารเค็ม จัด
อาหารที่มีส่วนผสมดินประสิวและส่วนไหม้เกรียม ของอาหารเป็นประจำจะเสี่ยง
ต่อการเป็นมะเร็งกระเพาะ อาหารและลำไส้ใหญ่
8. ผู้ที่มีประวัติโรคมะเร็งในครอบครัว อาทิ
มะเร็งของจอตา มะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ และมะเร็งลำไส้ใหญ่ชนิดที่ เป็นติ่งเนื้อ
เป็นต้น
9. ผู้ที่ตากแดดจัดเป็นประจำจะ ได้รับอันตรายจากแสงแดดที่
มีปริมาณของแสงอุลตรา ไวโอเลต จำนวนมาก มีผลทำให้เป็นมะเร็งผิวหนังได้
จากสาเหตุปัจจัยข้างต้น ทำให้เราเห็นว่าผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งนั้นล้วนเกิดมาจากการใช้ชีวิตประจำวันของตนเองทั้งสิ้น
เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงของการเป็นโรคมะเร็งสามารถทำได้โดยการหลีกเลี่ยงจากเหตุปัจจัยที่กล่าวมาข้างต้น
การป้องกันและลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็ง
โรคมะเร็งนอกจากจะเกิดกับผู้ที่มีประวัติเป็นมะเร็งจากครอบครัว แล้วจะเกิดกับบุคคลที่ไม่ดูแลตัวเองอีกด้วย
จึงทำให้อัตราการเป็นโรคมะเร็งเพิ่มขึ้นทุกปี
ดังนั้นการที่เราดูแลจะช่วยลดอัตราเสี่ยงเป็นมะเร็งได้อย่างมาก
การดูแลตนเองและการป้องกันการเป็นโรคมะเร็งมีดังนี้
1. พยายามรักษาสุขภาพให้แข็งแรง
โดยการออกกำลังกายเป็นประจำ พักผ่อนให้เพียงพอ
หาทางผ่อนคลายความเครียดด้วยวิธีต่างๆ อย่าอยู่ในอากาศไม่บริสุทธิ์ งดสิ่งเสพติด เช่น เหล้า บุหรี่ หมาก พลู ยาฉุน
และรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
2. อย่ากินอาหารหรือเครื่องดื่มที่ร้อนๆมากเกินไป
3. รับประทานอาหารที่มีเบต้า-แคโรทีน และวิตามินเอสูง เช่น ผักสด ผลไม้สีเขียว-เหลือง
เพื่อป้องกันมะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งกล่องเสียงและมะเร็งปอด
4. พยายามหลีกเลี่ยงอาหารโปรตีนหมัก เช่น
ปลาร้า ปลาส้ม
หรือเนื้อสัตว์ที่หมักด้วยการผสมดินประสิว
ถ้าจะกินควรทำให้สุกเพื่อทำลายสารไนโตรซามีนเสียก่อน
5. พยายามอย่าอาหารหรือขนมที่ใส่สีย้อมผ้าหรืออาหารที่มียาฆ่าแมลงเจือปนโดยเฉพาะดีดีทีหรือยาที่เข้าสารหนู
6. ลดอาหารที่มีไขมันสูงและจำกัดการกินน้ำตาลและของหวาน
ส่วนเนื้อสัตว์ควรไม่กินเกิน วันละ 80 กรัม
ควรเลือกกินปลาหรือเนื้อสัตว์เล็กแทนสัตว์ใหญ่
ทางที่ดีควรกินโปรตีนจากถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองแทนเนื้อสัตว์
7. กินผัก ผลไม้
เมล็ดธัญพืช หัวพืชต่างๆ โดยเฉพาะกล้วยควรกินให้มาก ๆทุกวัน อาหารเหล่านี้จะช่วยป้องกันมะเร็งได้เป็นอย่างดี
8. ลดการกินอาหารรมควัน
ย่าง หรือของทอดจนเกรียม เพราะอาหารพวกนี้จะเป็นตัวก่อสารมะเร็งในร่างกาย
9. จำกัดการกินเกลือและอาหารเค็ม
ผู้ใหญ่กินเกลือวันละไม่เกิน 6 กรัม
ส่วนเด็กควรกินไม่เกินวันละ 3 กรัมต่อกิโลแคลอรี
10. รับประทานอาหารที่มีวิตามันซีสูง
เช่น ผักสด ผลไม้ต่างๆ
การรักษาผู้ป่วยมะเร็ง
สำหรับผู้ป่วยมะเร็งแล้วนั้นก็ยังมีทางรักษาให้หายได้ โดยการักษาในวิธีต่างๆ แต่มันก็จะขึ้นอยู่กับร่างกายของผู้ป่วยด้วยว่าจะมีกำลังกายและกำลังใจสู้กับโรคมะเร็งต่อไปได้หรือไม่
การรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งสามารถรักษาด้วยวิธีการต่อไปนี้
1. การผ่าตัด
เป็นวิธีการที่ได้ทั้งการมุ่งหวังให้โรคหายขาดในกรณีที่โรคยังไม่รุนแรงและเพื่อเป็นการบรรเทาอาการชั่วคราวในกรณีที่โรคมีอาการหนักมากแล้ว
มีรายงานทางการแพทย์ที่กล่าวถึงประวัติของการรักษาโรคมะเร็ง
จะต้องชำนาญและฝึกฝนมาทางด้านนี้โดยเฉพาะวิธรการการผ่าตัดนั้นจะผ่าตัดโดยการใช้มีดธรรม
ตัดเฉพาะก้อนมะเร็งออกเท่านั้น หรือเลาะเอาต่อน้ำเหลืองและเนื้อเยื่อที่ดีบริเวณใกล้เคียงออกไปด้วยปัจจุบันมีการใช้มีดไฟฟ้าโดยใช้ความเย็นจี้ผิวหนังไหม้แล้วเอาก้อนมะเร็งออก
และยังมีการใช้เลเซอร์แทนการใช้มีดผ่าตัดอีกด้วย
2. รังสีรักษา
เป็นวิธีการรักษาที่ใช่ได้ทั้งการมุ่งหวังให้โรคหายขาดและเพื่อบรรเทาอาการชั่วคราว
ผู้ป่วยชาวไทยส่วนใหญ่ปราณร้อยละ 60 ถึงร้อยละ 80 ของผู้ป่วยมะเร็งทั้งหมดมักจะได้รับการรักษาด้วยรังสีเพราะอยู่ในระยะที่เป็นมากแล้วและการรักษาด้วยรังสีเพื่อบรรเทาอาการจะสะดวกสบายกว่า
รังสีที่ใช้ในการรักษามีอยู่ 2 รังสีคือ รังสีโปรตอน
และรังสีอนุภาค
3. การใช้สารเคมีบำบัด
เป็นการรักษาในรูปของการใช้ยารักษามะเร็ง
ส่วนใหญ่จะใช้กับผู้ที่มีอาการหนักมากแล้ว เป็นการรักษาเพื่อบรรเทาอาการเท่านั้น
การใช้ยารักษามะเร็งอาจแบ่งได้ตามวิธีการใช้ คือ การใช้ยาเฉพาะที่ เช่น
ในรูปของการทา การฉีดเข้าเส้นไขสันหลัง และการใช้ยาให้ซึมซาบทั่วร่างกาย เช่น
ในรูปแบบของการใช้รับประทาน การรักษาโดยวิธีนี้ยังอยู่ในวงการจำกัด
เพราะยาพวกนี้ส่วนใหญ่มีราคาแพงและมีพิษรุนแรง
โรคมะเร็งเป็นโรคที่เกิดขึ้นมาจากการใช้ชีวิตของเราในแต่ละวัน
มันสามารถเกิดขึ้นได้โดยที่เราไม่รู้ตัวด้วยซ้ำ แต่ถ้าหากรู้สาเหตุของการเกิดโรค ก็จะทำให้เราสามารถป้องกันการเป็นโรคมะเร็ง
ได้รู้ถึงการลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งได้
และหากว่าป่วยเป็นโรคมะเร็งแล้วนั้นก็จะได้ทราบถึงวิธีการรักษา
การใช้ชีวิตในรูปแบบของคนป่วยให้มีความสุข
ดังนั้นไม่ว่าเราจะป่วยเป็นโรคอะไร จะร้ายแรงหรือไม่นั้นไม่สำคัญเท่ากับการใช้ชีวิตให้ได้อย่างมีความสุข
และกล้าเผชิญหน้ากับโรคนั้นๆให้ถึงที่สุด
และถ้าให้ดียิ่งไปกว่านั้นเราก็ควรป้องกันให้ร่างกายไม่ให้เกิดโรคสมดังสุภาษิตที่ว่า
การไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ
นางสาวอินทุอร หนูชู เลขที่ 44 ม.5/1
อ้างอิง
นรินทร์ วรวุฒิ.
2550. หมอมะเร็งแฉเรื่องเต้า. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ใกล้หมอ
แพ็ดทริค ควิลลิน.
2540.
วิธีเสริมการรักษามะเร็งด้วยอาหารและอาหารเสริม. กรุงเทฯ : สำนักพิมพ์สาระ
วนิดา คุ้มอนุวงศ์.
2551. การดื่มต้านมะเร็ง. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์อมรินทร์
CUISINE
วิโรจน์ ไววานิชกิจ.
2540. 40มะเร็งร้ายที่ต้องรู้จัก. กรุงเทพฯ : Feel good
Publishing
สาทิส อินทรกำแหง.
2541. มะเร็งแห่งชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ 15. กรุงเทพฯ : คลินิกบ้านและสวน
ไทยโพสต์. ดูแลตัวเองให้ห่างไกลจากมะเร็ง. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http:www.hralth.kapook.com (วันที่ค้นข้อมูล 15 พฤศจิกายน 2556
)
ไพรัส เทพมงคล.
วิธีการรักษาโรคมะเร็ง. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :
http:www.guru.sanook.com (วันที่ค้นข้อมูล
15 พฤศจิกายน 2556 )
ศูนย์มะเร็งโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า.มะเร็งคืออะไร. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http:www.nocenter.pmk
(วันที่ค้นข้อมูล 15 พฤศจิกายน 2556)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น