FRUIT
ICE CREAM
ไอศกรีมคือของหวานที่แช่เย็นจนแข็ง มีรสหวาน
กลิ่นหอม มีสีสันและรูปแบบหลากหลาย
เมื่อพูดถึงไอศกรีมใครๆก็ต้องรู้จักเพราะจัดว่าเป็นของหวานยอดฮิต เป็นของหวานของคนครึ่งโลกและยังเป็นของหวานที่เหมาะสำหรับคนทุกเพศทุกวัย
โดยเฉพาะในเมืองไทยที่มีอากาศร้อนเกือบตลอดปีก็ทำให้ชวนนึกถึงไอศกรีมเรียกว่าเห็นไอศกรีมเป็นต้องคว้ามากินแทบทันที
ไอศกรีมมีหลายรส หลายแบบแล้วแต่ผู้รับประทานจะชอบไอศกรีมแบบไหน แต่ที่เรานิยมเห็นก็คงจะเป็นไอศกรีมผลไม้ซึ่งหารับประทานได้ง่าย
เนื่องจากเมืองไทยเรามีผลไม้หลากหลายชนิดแถมยังมีผลไม้นำเข้ามาให้เลือกกินเลือกอร่อยกันเต็มที่
ดังนั้นไอศกรีมผลไม้ก็จะสามารถทำให้ทุกคนเพลิดเพลินไปกับเนื้อของผลไม้ที่แสนอร่อยเมื่อกินทีไรก็รู้สึกได้ถึงความสดชื่น
เย็นฉ่ำจากรสสัมผัสที่เนียนนุ่ม หวานหอมของเนื้อไอศกรีม
ไอศกรีมหรือที่หลายคนมักเรียกสั้นๆติดปากว่า “ไอติม” ของกินเล่นคลายร้อน
เป็นของหวานและเย็นที่ชื่นชอบกันทุกเพศทุกวัย ทุกชาติ ทุกภาษา ที่สำคัญสามารถปรับประยุกต์ให้เข้ากับความนิยมของแต่ละชาติได้อย่างน่าอัศจรรย์
จนกล่าวได้ว่าไอศกรีมเป็นอาหารหลักของคนทั่วโลก
การได้กินไอศกรีมถือเป็นความสุขอย่างหนึ่ง “ไอศกรีม”
ทับศัพท์จากภาษาอังกฤษ ICE CREAM จนคนทั่วไปคิดว่ามีถิ่นกำเนิดมาจากตะวันตกแต่จริงๆแล้วนั้นกำเนิดในประเทศจีน
เกิดจากการนำหิมะบนยอดเขามาผสมกับน้ำผลไม้ จนปลายศตวรรษที่ 13
มาร์โคโปโลเดินทางไปจีนและชื่นชอบจึงนำสูตรกลับไปอิตาลี
ขณะที่เดินทางมีการเติมนมลงไปกลายเป็นสูตรของเขาโดยเฉพาะและแพร่หลายไปในอิตาลี
ฝรั่งเศสและข้ามไปอังกฤษ คนอิตาลีถือว่าตนเองเป็นต้นตำหรับไอศกรีมแบบที่นำมาปั่นให้เย็นจนแข็ง
เรียกว่า เจลาติน
ในเมืองไทยไอศกรีมเข้ามาในสมัย ร.5
ในสมัยนั้นใช้รับประทานในวังเป็นส่วนใหญ่เนื่องจากไอศกรีมเป็นอาหารที่ทันสมัย
ซึ่งมีการผลิตน้ำแข็งกินเอง
ไอศกรีมตอนนั้นทำจากน้ำหวานหรือน้ำผลไม้นำไปปั่นเย็นจนแข็ง ไม่มีนมหรือครีมผสมด้วย
เรียกว่า ไอติม
ประเภทของไอศกรีม
1.
ไอศกรีมนม ได้แก่ ไอศกรีมที่ทำขึ้นโดยใช้นมหรือผลิตภัณฑ์ที่ได้จากนม
ซึ่งเราสามารถที่จะนำมาผลิตได้ทั้งแบบเนื้อนุ่มและแบบเนื้อแข็ง
2. ไอศกรีมดัดแปลง
ได้แก่ ไอศกรีมนมที่ทำขึ้นโดยใช้ไขมันชนิดอื่นแทนมันเนยทั้งหมดหรือแต่บางส่วนหรือไอศกรีมที่ทำขึ้นโดยใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีไขมันแต่ผลิตภัณฑ์นั้นไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากนม
3. ไอศกรีมผสม ได้แก่ ไอศกรีมนมหรือไอศกรีมดัดแปลงแล้วแต่กรณี
ซึ่งมีผลไม้หรือวัตถุอื่นที่เป็นอาหารเป็นส่วนผสมอยู่ด้วย
4. ไอศกรีมนม
ไอศกรีมดัดแปลง ไอศกรีมผสมชนิดเหลวหรือแห้งหรือผง
5. ไอศกรีมหวานเย็น
ได้แก่ ไอศกรีมที่ทำขึ้นโดยใช้น้ำและน้ำตาลหรืออาจมีวัตถุอื่นที่เป็นอาหารเป็นส่วนผสมอยู่ด้วย
ไอศกรีมดังกล่าวอาจะใส่วัตถุแต่งกลิ่น
รสและสีด้วยก็ได้ ส่วนเซอร์เบ็ต(Sherbet) และซอร์เบต์ (Sorbet) ที่หลายคนเข้าใจว่าเป็นชนิดเดียวกันนั้นจัดอยู่ในประเภทของไอศกรีมหวานเย็นและทั้งสองชนิดนี้มีความแตกต่างกัน
เซอร์เบ็ต คือ ไอศกรีมที่มีส่วนผสมของเนื้อผลไม้ น้ำผลไม้ น้ำเชื่อมผลไม้รวมทั้งไขมันจากนมหรือผลิตภัณฑ์นม
ส่วนซอร์เบต์ คือ ไอศกรีมที่มีส่วนผสมของเนื้อผลไม้หรือน้ำผลไม้กับน้ำเชื่อมเท่านั้น
ไม่มีไขมันจากนมหรือผลิตภัณฑ์นม
ชาวตะวันตกจะนิยมเสิร์ฟเซอร์เบ็ตหรือซอร์เบต์ก่อนรับประทานอาหารจานหลัก
เพื่อให้ได้พักท้องและพุดคุยสนทนาระหว่างรออาหารจานต่อไป
ไอศกรีมผลไม้
เมืองไทยเรามีผลไม้หลากหลายชนิด
แถมยังมีผลไม้มาให้เลือกกินเลือกอร่อยกันเต็มที่
ไอศกรีมผลไม้จัดเป็นไอศกรีมที่มีส่วนผสมเหมือนไอศกรีมทั่วไปมีทั้งแบบที่ผสมนม
เป็นไอศกรีมดัดแปลง ไอศกรีมผสม เซอร์เบ็ตและซอร์เบต์
เพียงแต่เติมแต่งด้วยผลไม้เพื่อเพิ่มเนื้อสัมผัส กลิ่น รสชาติให้อร่อยยิ่งขึ้น
ผลไม้ที่นำมาใช้ได้แก่ ผลไม้สด น้ำผลไม้ ผลไม้แห้ง ผลไม้แช่แข็ง ผลไม้กระป๋อง
รวมไปถึงผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผลไม้ด้วย เช่น แยมและซอสผลไม้ต่างๆ
กระบวนการทำไอศกรีมผลไม้ก็เหมือนกับไอศกรีมทั่วไปเพียงแต่เติมผลไม้เข้าไป
สามารถใส่ได้ใน 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนแรกใส่ลงปั่นรวมกันกับส่วนผสมทั้งหมดหรือขั้นตอนที่สองใส่หลังจากปั่นส่วนผสมทั้งหมดแล้ว
หากเป็นเนื้อผลไม้ชิ้นใหญ่จะใส่ในขั้นตอนที่สามก่อนไอศกรีมแข็งตัว
หากเป็นแยมหรือซอสผลไม้ที่มีลักษณะเป็นของเหลวก็ใส่ในวิธีที่สองได้เลย เหตุที่ไม่ใส่ผลไม้ในขั้นตอนแรกเพราะในขั้นตอนแรกนี้ต้องผ่านความร้อน
โดยเฉพาะการทำไอศกรีมที่มีส่วนผสมของไข่และนมซึ่งอาจทำให้ผลไม้เปลี่ยนสี กลิ่น
และรสชาติได้
ข้อดีและข้อเสียของไอศกรีม
ข้อดีของไอศกรีมนั่นก็คือไอศกรีมซึ่งประโยชน์ของไอศกรีมที่ประกอบไปด้วยส่วนผสมที่ให้พลังงานและคุณค่าทางโภชนาการ
เช่น
โปรตีนและประโยชน์ของไอศกรีมที่มีผลต่ออารมณ์ที่ช่วยสร้างความสุขเมื่อรับประทานโภชนาการ
ซึ่งส่วนผสมหลักในไอศกรีมคือ นม ที่อุดมด้วยโปรตีนซึ่งเป็นสารที่จำเป็นต่อร่างกายโดยอย่างยิ่งที่มีนมเป็นส่วนผสม
ไอศกรีมแคลเซียมสูงได้ออกรูปแบบใหม่เพื่อเป็นทางเลือกในการบริโภคแคลเซียมของเด็กไทย
ปริมาณแคลเซียมในไอศกรีมเทียบได้กับปริมาณแคลเซียมในนม 1 แก้ว
ซึ่งดิฉันคิดว่าเป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจสำหรับพ่อและแม่ที่จะหาแรงจูงใจให้ลูกน้อยหันมากินนม
ซึ่งเป็นพร้อมไปกับไอศกรีมที่มีรสชาติอร่อยถูกใจเด็กๆ
อันตรายในไอศกรีมซึ่งผู้บริโภคบางคนอาจจะไม่รู้ว่าไอศกรีมไม่ใช่แค่อร่อยแต่มันก็มีโทษ
ไอศกรีมอาหารว่างเย็นๆที่เป็นของโปรดของเด็กๆหรือแม้กระทั่งผู้ใหญ่หลายคนก็ต่างชื่นชอบในรสชาติและแต่งแต้มสีสันในไอศกรีม
บางยี่ห้อเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคไปเสียแล้วและเลวร้ายกว่านั้นผู้ผลิตหัวใสบางรายยังได้นำไขมันที่เหลือจากโรงฆ่าสัตว์มาใช้เป็นส่วนผสมในไอศกรีม
ซึ่งไขมันจากสัตว์นั้นมีจำนวนของไขมันอิ่มตัวสูงมาก
หากบริโภคไปมากจะเกิดโรคอ้วนและไขมันในเส้นเลือด
แหล่งค้นหาข้อมูล: www.icyzone.awardspac
www.student.chula.ac.th
www.student.chula.ac.th
ผู้จัดทำ: นางสาววรรทิชา
เพชรจุ้ย ม.5/1 เลขที่ 28
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น